Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงท…
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
วิเคราะห์ข้อมูล
- วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย
เลขคณิตค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนที่
ได้จากการทำแบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยง
ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
- วิเคราะห์ค่าร้อยละของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถ
ในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
ตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไปของคะแนนเต็ม
- ทดสอบสมมติฐานของการวิจัย คือนักเรียน มีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้มากกว่าร้อยละ 60 ของนักเรียน ทั้งหมด โดยการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับสัดส่วน ของประชากรใช้สถิติทดสอบ Z-Test for Population Proportion
- ประเมินความตระหนักในคุณค่าของคณิตศาสตร์
ของนักเรียนหลังจากเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้
เพื่อส่งเสริมความสามารถใน การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
สรุปผลการวิจัย
- ความตระหนักในคุณค่าของคณิตศาสตร์ ของนักเรียน
ต่อข้อคำถามส่วนใหญ่ทั้งในทางบวก และทางลบอยู่ใน
ระดับค่อนข้างมาก และเมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยของ
แบบวัดความตระหนักในคุณค่าของคณิตศาสตร์ทั้ง
ฉบับมีค่าเท่ากับ 2.12 จากคะแนนเต็ม 3 แสดงว่า
นักเรียนมีความตระหนักในคุณค่าของคณิตศาสตร์
อยู่ระดับค่อนข้างมาก
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ที่มีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ผ่าน เกณฑ์มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 60 ของนักเรียนทั้งหมดที่ระดับนัยสำคัญ .01 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถ ในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เมื่อเรียนด้วย กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
- นักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไปของคะแนนเต็ม มีจำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 90.63 ของจำนวน นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
- คะแนนจากการทำแบบวัดการเชื่อมโยง ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 32 คน ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สถานการณ์ในชีวิตจริง เพื่อส่งเสริมการ เชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยเลขคณิต เป็น 14.77 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 73.85 ของคะแนนเต็ม และมีส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนเป็น 2.94
วิธีการแก้ปัญหา
ครูจำเป็นต้องจัดกิจกรรมโดยบูรณาการเนื้อหา
ต่างๆ ในวิชาคณิตศาสตร์เชื่อมโยงคณิตศาสตร์
กับศาสตร์อื่นๆ รวมทั้งนำคณิตศาสตร์ไปเชื่อม
โยงกับสถานการณ์ต่างๆในโลกแห่งเป็นความจริง
-
สมมติฐานการวิจัย
นักเรียนมีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้มากกว่าร้อยละ 60 ของนักเรียนทั้งหมด
-
การเก็บรวบรวมข้อมูล
- ผู้วิจัยจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยง
ทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ตาม
ตารางเรียนปกติสัปดาห์ละ 2 คาบ จำนวน 5 สัปดาห์
รวมเป็น 10 คาบ
- เมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้ ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
ทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยง
ทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ซึ่งเป็นแบบทดสอบอัตนัยจำนวน 4 ข้อ ใช้เวลาทดสอบ 80 นาที
- เมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้ ให้นักเรียนทำแบบวัดความ
ตระหนักในคุณค่าของคณิตศาสตร์โดยใช้เวลา 10 นาที
-