Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน ตามแนวทางโรงเรียนพ…
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน
ตามแนวทางโรงเรียนพหุวัฒนธรรม
1.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
การจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระดับ ได้แก่
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3)
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6)
ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6)
2.กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้นจัดให้ผู้เรียนปีละ 120 ชั่วโมง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดให้ผู้เรียนปีละ 360 ชั่วโมงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
กิจกรรมนักเรียน
2.1 กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
กิจกรรมแนะแนว
เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพสามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม
เกณฑ์การตัดสิน
กำหนดเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้ 2 ระดับ คือ ผ่าน และ ไม่ผ่าน
3.การจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม
ความหมายของการศึกษาพหุวัฒนธรรม
กระบวนการจัดการศึกษารูปแบบหนึ่ง ที่พัฒนามาจากปรัชญา ความเชื่อ ค่านิยมแบบประชาธิปไตย และความเชื่อในคุณค่าของความหลากหลายวัฒนธรรม (Multiculturalism) โดยการจัดสภาพแวดล้อมให้กับผู้เรียนจากต่างวัฒนธรรม เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ขนบประเพณี วิถีชีวิต เพศ ชั้นทางสังคม และความต้องการพิเศษอื่น ๆ
รูปแบบการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม
การลดอคติ (Prejudice Reduction)
การสอนที่ยึดหลักความยุติธรรม (Equity Pedagogy)
การสร้างความรู้ใหม่ (The Knowledge Construction Process)
การปรับโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมในโรงเรียน (An Empowering School Culture and Social Structure)
บูรณาการเนื้อหาวัฒนธรรมของนักเรียน เข้าไปในวิชาต่างๆ (Content Integration)
4.แนวทางการจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมในโรงเรียน
ชรินทร์ มั่งคั่ง (2562) ได้ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการรู้พหุวัฒนธรรมศึกษาและการปฏิบัติเชิงวิชาชีพของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรู้พหุวัฒนธรรมศึกษาและการปฏิบัติเชิงวิชาชีพของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มเป้าหมายเป็นครูสังคมศึกษาที่ให้ข้อมูลการรู้พหุวัฒนธรรมศึกษา