Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การสร้างข้อคำถามวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย - Coggle Diagram
บทที่ 5
การสร้างข้อคำถามวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
การสร้างข้อคำถามวัดความรู้ความจำ
เน้นการถามในสิ่งที่ผู้เรียนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มาแล้ว
1. ความรู้ความจำเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในเรื่องราว หรือเหตุการณ์ต่างๆ ในเนื้อหาที่กำลังศึกษา
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ ความรู้เกี่ยวกับศัพท์ และความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง
2. ความรู้ความจำเกี่ยวกับวิธีดำเนินการ
เป็นคำถามความรู้ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอน
วิธีดำเนินการ แนวทาง หรือวิธีปฏิบัติในการกระทำสิ่งต่างๆ
สามารถสร้างคำถามได้ 5 แบบ คือ ระเบียบแบบแผน ลำดับขั้นและแนวโน้ม การจัดประเภท เกณฑ์ และวิธีการ
3. ความรู้ความจำเกี่ยวกับความคิดรวบยอดของเนื้อเรื่อง
เป็นคำถามความสามารถในการจดจำข้อสรุป
สามารถถามได้ 2 แบบ คือ หลักวิชาและการขยายหลักวิชา และทฤษฎีและโครงสร้าง
การสร้างข้อคำถามวัดความเข้าใจ
ความสามารถในการนำความรู้ความจำไปดัดแปลงปรับปรุง และขยายให้ออกไปจากเดิมได้อย่างสมเหตุสมผล
1. การแปลความ
การแปลจากเรื่องราวเดิมเป็นภาษาใหม่ ลักษณะใหม่หรือเป็นสำนวนของตนเอง แต่ยังคงรักษาความหมายไว้เหมือนเดิม
สามารถถามได้ 3 แบบ คือ ถามให้แปลความหมายของคำและข้อความ ถามให้แปลภาพและสัญลักษณ์ และ ถามให้แปลถอดความ
2. การตีความ
ความสามารถในการย่นย่อจับใจความสำคัญหรือหาข้อสรุปของเรื่องราวต่างๆออกมาเป็นสิ่งใหม่
เช่น ให้ตีความจากข้อมูลหรือสถิติต่างๆ? การทดลองนี้สรุปผลได้ว่าอย่างไร?
3. การขยายความ
ความสามารถในการคาดคะเนเรื่องราวต่างๆ ให้กว้างและไกลไปจากข้อมูลเดิมอย่างสมเหตุสมผล
เช่น ข้อความตอนต่อไปน่าจะกล่าวถึงอะไร? เหตุการณ์นี้น่าจะเกิดในสถานที่เช่นไร ?
การสร้างข้อคำถามวัดการนำไปใช้
การนำเอาความรู้ ความเข้าใจ ไปใช้ในการแก้ปัญหาใหม่ที่มีลักษณะเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันได้
1. ถามให้แก้ปัญหา
เป็นการถามให้นำความรู้จากที่เคยเรียนแล้วไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ที่ต่างจากเดิม
เช่น อาหารชนิดใดมีคุณค่าแทนเนื้อสัตว์ได้? เราสามารถดัดแปลงสิ่งใดมาใช้แทนแจกันได้?
2. ถามความสอดคล้องระหว่างหลักวิชากับการปฏิบัติ
เป็นการถามให้ผู้ตอบวินิจฉัยว่าการกระทำใดที่ถูกต้องเหมาะสม
เช่น อาหารชนิดใดเหมาะสำหรับคนอ้วน?
3. ถามให้อธิบายเหตุผลตามหลักวิชาหรือเหตุผลของการปฏิบัติ
เป็นการถามเพื่อให้ทราบถึงเหตุที่เป็นเช่นนั้น
เช่น เหตุใดจึงใช้ทองแดงทำสายไฟฟ้า?
การสร้างข้อคำถามวัดการวิเคราะห์
ความสามารถในการแยกแยะสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อค้นหาความจริงที่ซ่อนเร้นอยู่ในเรื่องราวนั้นๆ ว่ามีอะไรสำคัญมากหรือน้อยในด้านใด มีความเกี่ยวพันกันอย่างไร และยึดหลักการใด
1. การวิเคราะห์ความสำคัญ
เป็นคำถามที่ต้องการให้ค้นหาคุณลักษณะที่เด่นชัดของเรื่องราว
เช่น อะไรคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้อ้วน?
2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
เป็นคำถามเกี่ยวกับการค้นหาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ 2 สิ่งขึ้นไป
เช่น สัตว์และโรคคู่ใดเกี่ยวข้องกันมากที่สุด?
3. การวิเคราะห์หลักการ
เป็นการวัดความสามารถในการค้นหาหลักการร่วม
เช่น หนังสือเรื่องนี้ได้รับการยกย่องมาก เพราะอะไร?
การสร้างข้อคำถามวัดการสังเคราะห์
ความสามารถในการรวบรวมผสมผสานสิ่งต่างๆเพื่อผลิตมาเป็นสิ่งใหม่
1. การสังเคราะห์ข้อความ
เป็นความสามารถในการผสมผสานข้อความออกมาในรูปของการพูด
การเขียนหรือการแสดงออก
เช่น จะใช้ข้อความใดอธิบายความสัมพันธ์ของคนเรา ?
2. การสังเคราะห์แผนงาน
เป็นความสามารถในการกำหนดแนวทางและขั้นตอนในการท างานล่วงหน้า เพื่อให้การทำงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งมักจะถามเกี่ยวกับการเสนอแผนการ
เช่น การไปจ่ายตลาดเพื่อให้ได้ผักที่สุดและงาม ควรทำอย่างไร ?
3. การสังเคราะห์ความสัมพันธ์
เป็นความสามารถในการผสมผสานหลักการ และส่วนประกอบย่อยต่างๆ เข้าด้วยกันแล้วสรุปเป็นเรื่องใหม่
เช่น ข้อสรุปดังกล่าวควรทดลองด้วยวิธีใด?
การสร้างข้อคำถามวัดการประเมินค่า
ความสามารถในการการวินิจฉัย ตัดสิน และลงข้อสรุปอย่างมีหลักเกณฑ์
1. การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายใน
เป็นความสามารถในการตัดสินหรือตีค่าโดยใช้ข้อเท็จจริงจากเรื่องราวนั้นๆ เป็นเกณฑ์
เช่น จากเรื่องรามเกียรติ์พิเภกเป็นคนดีหรือไม่?
2. การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก
เป็นความสามารถในการตัดสินหรือตีค่าโดยอาศัยเกณฑ์ใดๆ แต่สัมพันธ์กับเรื่องนั้น
เช่น ในสายตาของนักปกครอง พิเภกจัดเป็นคนประเภทใด?