Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะการหายใจล้มเหลว (Respiratory failure), image, image, image, image,…
ภาวะการหายใจล้มเหลว (Respiratory failure)
ความหมายของภาวะการหายใจล้มเหลว
ภาวะการหายใจล้มเหลว หมายถึง การที่ระบบหายใจไม่สามารถทำหน้าที่ระบายอากาศและแลกเปลี่ยนก๊าซได้เพียงพอกับความต้องการของร่างการจะมีระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) ต่ำกว่าปกติ
คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด (Pa CO2) สูงกว่าปกติและร่างกายมีความเป็นกรดมากขึ้น
ภาวะการหายใจล้มเหลว เมื่อแบ่งตามระยะเวลาของการเริ่มต้นเกิด
Acute respiratory failure การหายใจล้มเหลวอย่างเฉียบ
ภาวะที่มีความบกพร่องของออกซิเจนในเลือดแดง (hypoxia) PaO2 ต่ำกว่า 50 มม.ปรอท
คาร์บอนไดออกไซด์คั่ง (hypercapnia) PaCO2 สูงกว่า 50 มม.ปรอท เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
Chronic respiratory failure การหายใจล้มเหลวอย่างเรื้อรัง
ภาวะที่มีการพร่องของออกซิเจนในเลือดแดงและคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นไตชดเชยภาวะเป็นกรดด่างของร่างกายโดยการเก็บไบคาร์บอเนตไว้เพิ่มขึ้น
หลักการรักษาและพยาบาล
หลักการในการดูแลรักษาผู้ที่มีความผิดปกติในระบบหายใจจะขึ้นกับพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในแต่ละโรค
การแก้ไขหรือลดการอุดกั้นทางเดินหายใจ เช่นระบายเสมหะ ระบายน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ให้ยาขยายหลอดลมยาลดอาการบวมของทางเดินหายใจ การสอนการไอที่มีประสิทธิภาพ
การลดการใช้ออกซิเจนของร่างกาย โดยให้พักผ่อนให้มากที่สุด จัดสภาพแวดล้อมให้สงบเนื่องจากในเลือดมีแรงดันออกซิเจนต่ำ ถ้าร่างกายต้องการใช้ออกซิเจนมากก็จะยิ่งขาดออกซิเจนมากขึ้นดังนั้นจึงต้องให้ผู้ป่วยลดความต้องการออกซิเจนลง
การให้ออกซิเจนเพื่อป้องกันหรือสดภาวะ Hypoxia การให้ออกซิเจนเป็นการเพิ่มแรงดันออกซิเจนในอากาศที่หายใจเข้าไป
การช่วยเพิ่มความสามารถของปอดในการหายใจ เช่นการจัดท่านอนศีรษะสูง การนอนตะแคงเพื่อให้ปอด
การรักษาอื่น ๆ เช่นให้สารละลายที่เป็นต่างทางหลอดเลือดดำเพื่อลดความเป็นกรดของเลือดการให้สาร Surfactant เพื่อลดแรงตึงผิวของถุงลม การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อทำลายเชื้อโรค การใส่ต่อ (Chest drain) เพื่อระบายน้ำหรือเลือดออกจากช่องเยื่อหุ้มปอด
การใช้เครื่องช่วยหายใจโนกรณีที่ไม่สามารถหายใจเองได้ หรือหายใจได้ไม่เพียงพอ
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
อาการและอาการแสดงของภาวะการหายใจล้มเหลว
Respiratory system
หายใจเร็ว (Tachypnea) หายใจลำบาก ระยะท้ายจะมีอาการหายใจเบาตื้น ช้าลง จนกระทั่งหยุดหายใจ และมีอาการเขียว
Cardiovascular system
ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง อาจจะมีการเต้นของหัวใจผิดปกติ(Arrhythmia) และระยะท้ายมี hypotension
Central nervous system
ระดับความรู้สึกตัวที่เปลี่ยนไป สับสน ไม่มีสมาธิ เอะอะ กระสับกระส่าย ถ้าภาวะ hypoxemia รุนแรงมากขึ้น
. Hematologic effects
เม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น (Polycytemia) เพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือด ซึ่งต่อมาเลือดจะหนืดมากขึ้น
Acid-base balance
เมื่อภาวะ hypoxemia รุนแรงมากขึ้น เลือดมีภาวะเป็นกรดมากขึ้น กระตุ้นการหายใจเร็วขึ้น เป็นการชดเชย (compensate) ลดความเป็นกรด
การวินิจฉัย
Arterial blood gas
Chest X-ray
อาการและอาการแสดงของภาวะการหายใจล้มเหลว
ภาวะการหายใจล้มเหลวการหายใจล้มเหลว (Respiratory failure) ตามลักษณะความตรวจพบ
Hypoxemic respiratory failure (Diffusion failure)
พบความผิดปกติเช่นนี้เนื่องจากตามปกติการแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะเร็วกว่าออกซิเจนประมาณ 20 เท่า ดังนั้นถ้ามีความผิดปกติของการแลกเปลี่ยนแก๊ส จะมีผลต่อการแลกเปลี่ยนแก๊สของออกซิเจนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์
Hypercapnic respiratory failure (Ventilation failure)
เป็นภาวะการหายใจล้มเหลวที่พบทั้งภาวะขาดออกซิเจน
คาร์บอนไตออกไซด์คั่ง หรือมี PaCO2สูง (Hypercapnia) และ PaCO2ต่ำ (Hypoxemia) ภาวะการหายล้มเหลวแบบนี้จะมีความรุนแรงมากกว่าแบบแรก
สาเหตุ
มีความผิดปกติของการระบายอากาศ (Ventilation) ทำให้การแลกเปลี่ยนแกสทั้งออกซิเจนและ คาร์บอนไตออกไซด์ผิดปกติ เช่น เกิดภาวะหายใจช้า (Hypoventilation) จากการกดศูนย์หายใจ, มีความผิดปกติของปอต
ภาวะการหายใจล้มเหลวที่มีลักษณะเฉพาะ
Infant respiratory distress syndrome (RDS)
เป็นภาวะการหายใจล้มเหลวที่เป็นสาเหตุการตายมากที่สุดในเด็กคลอดก่อนกำหนด หรือเรียกว่า Hyaline membrane disease
สาเหตุ
จากการเจริญของปอดยังไม่ดีพอที่จะหายใจเองหลังจากคลอดออกมา และมีสาร Surfactant ไม่เพียงพอจึงทำให้ถุงลมแฟบ และเกิด Hypoxemia และ Hypoxia ตามมา
Acute respiratory distress syndrome (ARDS)
เป็นภาวะการหายใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลัน
สาเหตุ
การจมน้ำ (Near drowning) การสำลักอาหาร สูดดมควันไฟ ไฟไหม้ ได้รับเฮโรอีน การบาดเจ็บทรวงอกอย่างรุนแรง เกิดFat embolism และการติดเชื้อบางชนิดในเลือด (Septicemia)
ภาวะการหายใจล้มเหลวจากการเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจ
การระบายอากาศกับการไหลเวียนของเลือดไม่สมดุล (Vº A / Qº mismatch )
ความไม่สมดุลของสัดส่วนการกระจายของอากาศในถุงลม (VA) กับหลอดเลือดที่ผ่านถุงลม
ความผิดปกติเนื่องจากมีพยาธิสภาพของปอดเช่น รูหลอดลมตีบแคบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทำให้อากาศที่หายใจเข้าสู่ถุงลมลดลง
ในขณะที่มีเลือดผ่านถุงลมตามปกติ ทำให้ PaO2 ต่ำ และ Pa CO2 สูง แต่ถุงลมส่วนที่หลอดลมไม่ถูกอุดกั้นจะมีอากาศที่หายใจเข้าสู่ถุงลมส่วนนี้มากกว่าปกติ (Overventilation)
การลัด ( shunt หรือ intrapulmonary shunt )
การลัดเป็นกลไกการแลกเปลี่ยนก๊าซผิดปกที่พบว่ามี alveolar ventilation ปกติ แต่การไหลเวียนของเลือดที่มาผ่านถุงลมลดลง
จะมีการลัดของหลอดเลือดไม่ผ่านถุงลมเพื่อรับออกซิเจนประมาณ 1/3 ของ cardiac output จึงทำให้มีการผสมของเลือดที่ได้รับออกซิเจนจากถุงลมกับเลือดที่ไม่ได้รับออกซิเจน PaO2 ลดลงเกิด Hypoxemia ค่า P (A-a) O2 กว้างกว่าปกติ
การระบายอากาศน้อยกว่าปกติ (alveolar hypoventilation)
มีความผิดปกติของการแลกเปลี่ยนก๊าซ ไม่สามารถเอาอากาศเข้าไปในถุงลมส่วนที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซได้เพียงพอทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดแดงและคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง
คำนวณได้มากกว่า 15 มม.ปรอท แสดงว่าภาวะ hypoxemia เกิดจากสาเหตุอื่นร่วมด้วย เช่น Vº A / Qº mismatch
การสูญเสียการซึมซ่านของก๊าซ (diffusion impairment)
การซึมซ่านของก๊าซจากถุงลมเข้าไปในหลอดเลือดฝอยจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีที่เนื้อปอดลดลง หลอดเลือดฝอยถูกทำลาย
พยาธิสภาพของภาวะ Hypoxia
ภาวะที่เซลล์ขาดออกซิเจน ในความผิดปกติของระบบหายใจนั้น ภาวะ Hypoxia จะเกิดจากการมีแรงดันของออกซิเจนในเลือดแดงน้อยกว่าปกติ (Hypoxemia) ออกซิเจนมีความสำคัญในขบวนการเมตะบอลิสมแบบใช้ออกซิเจนของเซลล์ (Aerobic metabolism)
ความรุนแรงและระยะเวลาในการขาตออกซิเจน เนื้อเยื่อที่มีเมตะบอลิสมสูงก็จะไวต่อการขาดออกซิเจนมากกว่าซึ่งเรียงตามลำดับจากความไวในการขาดออกชิจนมากไปน้อยดังนี้ ระบบประสาท หัวใจ ไต กล้ามเนื้อลาย ในกรณีภาวะ Hypoxia เกิดขึ้นอย่างรวดร็วเช่นในภาวะที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดทำงาน
อาการ
ระบบประสาท ATP
มีความสำคัญในการส่งกระแสประสาทผ่าน Synapse เมื่อขาต ATP
ส่งกระแสประสาทผิดปกติ จะมีอาการอ่อนเพลีย กระสับกระส่าย สับสน ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ
ระบบไหลเวียนโลหิต ATP
มีความจำเป็นในการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
อาการแสดงของระบบไหลเวียนโลหิต ในระยะแรก คือ หัวใจเต้นเร็วขึ้น ซึ่งเป็นการปรับตัวของหัวใจ แต่ถ้าการขาดออกซิเจนนานมากขึ้นจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง เต้นผิดปกติ ความดันโลหิตลดลง
Cyanosis หรืออาการเขียว
ผิวหนังมีสีคล้ำ สังเกตได้จาก เล็บ เยื่อบุ หนังตา ลิ้น เยื่อบุต่าง ๆ อาการ Cyanosis จะเกิดเมื่อมี Deoxyhemoglobin
ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงมาก (Polycytemia) จะเกิด Cyanosis ได้มากกว่า Cyanosis
Peripheral cyanosis
จะพบอการเขียวคล้ำเฉพาะส่วนปลาย
ปลายมือปลายเท้าเท่านั้น เกิดจากมีการใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อมากขึ้นหรือการใช้ออกซิเจนไม่สมดุลกับปริมาณเลือดหรือปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่นเลือด
Central cyanosis
จะมีอาการเขียวคล้ำทั่วไป
ที่ริมฝีปาก ลิ้น เยื่อบุหนังตา รวมทั้งส่วนปลายแขน ขา ด้วย เกิดจากภาวะ Hypoxia ทั่วไป
ระบบหายใจ
ภาวะ Hypoxia จะกระตุ้นการหายใจได้ ในระดับหนึ่ง แต่เมื่อมี Hypoxia รุนแรงขึ้น
หายใจ ทำให้หายใจช้า หายใจไม่สม่ำเสมอ และหยุดหายใจได้
ระบบโลหิต
ภาวะ hypoxia จะกระตุ้นการหลั่ง Erythropoietic factor จากไตทำให้เปลี่ยนแปลงสารในเลือดได้เป็น Erythropoietin ซึ่งจะกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
เพื่อเพิ่มปริมาณการขนส่งออกซิเจนให้มากขึ้น ในพวก Chronic hypoxia จะพบภาวะ Polycytemia
ผลต่อไต
เมื่อไตขาดออกซิเจนจะทำให้หน้าที่ของไตในการดูดกลับและขับของเสียผิดปกติไป เกิดภาวะไตล้มเหลว (Acute renal failure) ได้ ไตจึงไม่สามารถสร้างปัสสาวะได้
ทำให้มีของเสียคั่ง
ผลต่อตับ
ตับจะได้รับเลือดจาก Portal vein ซึ่งมี PaO2ต่ำ และส่วนนอกของตับจะได้รับเลือดก่อนส่วนลึกของตับ ดังนั้นเซลล์ในส่วนกลางของตับ (Centrilobular cell)
กล้ามเนื้อลาย
ตามปกติกล้ามเนื้อลาย จะมีการเก็บสะสมพลังงานในรูปของ Creatine phosphate
พยาธิสภาพของภาวะ Hypercapnia
ภาวะที่มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายแสดงด้วยการมีแรงดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเอแดงสูงกว่าปกติ (PaCO2 มากกว่า 49 มม.ปรอท) Hypercapnia
จะทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะกรด (Respiratory acidosis) เพราะคาร์บอนไดออกไซด์รวมกับน้ำ เกิดกรดคาร์บอนิค
อาการ
จะขึ้นกับระยะเวลาในการเกิดเช่นเป็นเฉียบพลัน (Acute) หรือเรื้อรัง (Chronic) เพราะในระยะเฉียบพลัน ไตไม่สามารถปรับตัวต่อภาวะกรด (Acidosis) โดยการ เก็บไบคาร์บอเนต และขับกรดออกทาปัสสาวะให้มากขึ้นได้ จึงจะมีอาการของ Hypercapnia รุนแรง
หัวใจหยุดเต้น ภาวะ Hypercapnia จะมีผลต่อหลอดเลือดในสมองทำให้หลอดเลือดขยายตัว
สาเหตุของภาวะหายใจล้มเหลว
ความผิดปกติที่มีช่องทรวงอกและเยื่อหุ้มปอด
chest injury การได้รับผ่าตัดช่องทรวงอก
ความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด
Shock, left side heart failure
ความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (neuromuscular)
บาดทะยักโปลิโอ การบาดเจ็บของไขสันหลัง Myasthemia Gravis, Guillain Barre’ Syndrome
ความผิดปกติที่ปอด
Obstructive pulmonary function
ผู้ป่วยที่มี Asthma อย่างรุนแรงโรคปอด อุดกั้นเรื้อรัง สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นหลอดลม
Restrictive pulmonary function
ปอดอักเสบ (pneumonia) น้ำท่วมปอด (pulmonary edema)
ความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงปอด
pulmonary embolism
ความผิดปกติที่ระบบประสาทส่วนกลาง
ศูนย์ควบคุมการหายใจถูกกดสมองได้รับการบาดเจ็บ สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ความดันในสมองสูง สมองอักเสบ