Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคฉี่หนู "Leptospirosis", นางสาวพลอยไพลิน ล้อดงบัง เลขที่…
โรคฉี่หนู "Leptospirosis"
พยาธิสภาพของโรค
พยาธิสภาพแรกเกิดจากการมี disruption ของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดผนังเล็กๆทั่วทั้งร่างกายทำให้มีหลอดเลือดฝอยแตกและมีเลือดออกในอวัยวะต่างๆได้ หลังจากนั้นจึงจะทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆเสียไปจากการอักเสบและเนื้อตายตามอวัยวะนั้นๆ
ในอวัยวะบางแห่งจะมีเชื้อหลบอยู่ได้ เช่น ที่ไต ซึ่งเชื้อจะเพิ่มจำนวนและถูกขับออกมาทางปัสสาวะได้เป็นเวลานานหลายสัปดาห์หลังการติดโรคจนกว่าจะเข้าสู่ระยะฟื้นตัว อวัยวะอื่น ๆ ที่เชื้ออยู่ได้นานเช่นเดียวกันได้แก่ ใน anterior chamber หรือใน aques humor ของตา ซึ่งมีเชื้ออยู่ได้นานเป็นเดือนและทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง (chronic recurrent uveitis) ได้
(สุรเกียรติ อาชานุภาพ, 2553)
อาการ
ผู้ป่วยมีอาการไข้สุง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อคล้ายไข้หวัดใหญ่ แต่แตกต่างตรงที่จะรู้สึกปวดมากตรงบริเวณน่อง หลัง และหน้าท้อง บางรายอาจมีไข้ติดต่อกันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด
บางรายอาจมีอาการตาแดง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เจ้บคอ ไอ เจ็บหน้าอก บางรายมีอาการปวดตรงชายโครงขวา (สุรเกียรติ อาชานุภาพ, 2553)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Leptospira) พบในไตสัตว์ ที่พบบ่อยคือ หนูท่อ หนูนา หนูพุก นอกจากนี้ยังพบในสุนัข สุกร แมว โค กระบือ แพะ แกะ
สัตว์เหล่านี้จะปล่อยเชื้อออกมาทางปัสสาวะ เชื้อจะสามารถมีชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะได้นานหลายเดือน
คนจะรับเชื้อเข้าทางร่างกายโดยผ่านทางบาดแผลถลอกหรือขีดข่วนตามผิวหนัง หรือเข้าทางเยื่อบุตาจมูกหรือช่องปากที่ปกติ และการแช่อยู่ในน้ำตามห้วยหนองคลองบึง เป็นเวลานานเกิน 2 ชั่วโมงขึ้นไป นอกจากนี้ยังสามารถติดเชื้อโดยการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากปัสสาวะสัตว์ที่ติดเชื้อ (สุรเกียรติ อาชานุภาพ, 2553)
ภาวะแทรกซ้อนของโรค
ไตวาย ภาวะเลือดออกจากการอักเสบของผนังหลอดเลือด โดยเฉพาะเลือดออกในทางเดินอาหารและในปอด และอาจมีดีซ่านร่วมด้วย นอกจากนี้อาจพบภาวะตับวาย ปอดอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น (Frederick s, Southwick, M.D., 2014)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 1
ไม่สุขสบายเนื่องจากภาวะไข้สูงจากการติดเชื้อ Leptospira
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอุณหภูมิร่างกายทุก 1 ชั่วโมง
2.ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง หากพบความผิดปกติให้รายงานแพทย์
3.ดูแลเช็ดตัวลดไข้ให้ผู้ป่วยเพื่อทำให้อุณหภูมิร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ
4.จัดสิ่งแวดล้อมและที่พักให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
5.ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ
6.ดูแลให้ยาลดไข้ตามแผนการรักษาของแพทย์
(พรศิริ พันธสี, 2562)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 2
เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่ายหยุดยากเนื่องจากติดเชื้อ Leptospira
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกง่าย ซึ่งพบในผู้ป่วยที่มีค่าเกร็ดเลือด < 50,000
cell/mm3
2.อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ ระหว่างให้ยาผู้ป่วยอาจเกิดภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ทำให้เลือดออกง่ายและหยุดยาก
3.ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวลเบามือ ระมัดระวังการพยาบาลที่อาจเกิดอันตรายและเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก
4.จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดภยันตรายต่างๆหรืออุบัติเหตุต่างๆ ได้แก่ การตกเตียง การกระทบกระแทก การถูกของมีคมซึ่งจะทำให้เกิดบาดแผลได้
5.แนะนำการดูแลตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การทำความสะอาด การแปรงฟันควรใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนิ่มๆ
6.ติดตามประเมินอาการแสดงถึงอันตรายจากภาวะเลือดออกง่าย ด้วยการวัดสัญญาณชีพและสังเกตอาการแสดง รวมทั้งการบันทึก ถ้าพบอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะอันตรายจากเลือดออกผิดปกติให้ประสานแพทย์ร่วมดูแล (พรศิริ พันธสี, 2562)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 3
เสี่ยงต่อภาวะไตวายเฉียบพลันเนื่องจากเสียเลือดจากติดเชื้อ Leptospira
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินระดับความรู้สึกและสัญญาณชีพและระดับความรู้สึกตัวทุก 1 ชั่วโมง
2.ประเมินการไหลเวียนของเลือดโดยการตรวจมือและเท้าผู้ป่วยว่ามีความเย็นหรืออุ่นเพียงใด ตรวจ Capillary filling บริเวณเล็บมือ เพื่อประเมินภาวะช็อกในระยะแรก
3.ดูแลผู้ป่วยได้รับเลือดหรือสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามอัตราที่กำหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันความดันเลือดต่ำ
4.ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาของแพทย์
5.ประเมินความสมดุลของน้ำและบันทึกปริมาณน้ำเข้าออกจากร่างกาย
6.ดูแลผู้ป่วยให้รับยาขับปัสสาวะและยาเพิ่มความดันนโลหิตตามแผนการรักษาของแพทย์ (พรศิริ พันธสี, 2562)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 4
ผู้ป่วยปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองไม่ถูกต้องเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค leptospirosis
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้ป่วย
2.แนะนำให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรค Leptospirosis และการดูแลตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
3.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง
4.แนะนำญาติให้รู้แนวทางการดูแลผุ้ป่วยและป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ(พรศิริ พันธสี, 2562)
แนวทางป้องกันการติดเชื้อ
1.ควรเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซิสในผู้ที่ต้องทำงานสัมผัสหรือแช่น้ำในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานานโดยเฉพาะชาวนาที่ไม่สวมใส่รองเท้าบู๊ทขณะปฏิบัติงานซึ่ง
เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง
2.บุคลากรสาธารณสุขให้คำแนะนำความรู้เกี่ยวกับการแพร่กระจายเชื้อ และการป้องกัน การได้รับเชื้อก่อโรคเลปโตสไปโรซิสแก่ชาวนาโดยเฉพาะกลุ่มที่มีบาดแผล และกลุ่มที่ไม่สวมใส่รองเท้าบูทขณะปฏิบัติงานโดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินโคลนหรือน้ำเป็นเวลานาน
(สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 2560)
นางสาวพลอยไพลิน ล้อดงบัง เลขที่ 50 รหัสนักศึกษา 621801053