Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน…
บทที่ 7 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน ตามแนวทางโรงเรียนพหุวัฒนธรรม
1.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระดับ
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้น การเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน ทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพ มีทักษะ มีทักษะในการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัด และความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน มีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา
ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะ พื้นฐานด้านการอ่านการเขียน การคิดคำนวณ การคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์
2. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1. กิจกรรมแนะแนว
เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพสามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม
แนวการจัดกิจกรรมแนะแนว
กำหนดสัดส่วนสาระของกิจกรรมในแต่ละด้าน
กำหนดแผนการปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว
การจัดทำรายละเอียดของแต่ละกิจกรรม
สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ ความสนใจและธรรมชาติของผู้เรียน
ปฏิบัติตามแผน วัดและประเมินผล และสรุปรายงาน
ศึกษาวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียนที่ได้จากการสำรวจ
2. กิจกรรมนักเรียน
กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด
กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี เป็นกิจกรรมที่มุ่งปลูกฝังระเบียบวินัยและกฎเกณฑ์เพื่อการอยู่ร่วมกันให้รู้จักการเสียสละและบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม
3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติในลักษณะอาสาสมัครเพื่อช่วย ขัดเกลาจิตใจของผู้เรียนให้มีความเมตตากรุณา มีความเสียสละ
3. การจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม
เกิดจากสภาพห้องเรียนและโรงเรียนที่ประกอบด้วยนักเรียนต่างเชื้อชาติ วัฒนธรรมเรียนร่วมกันมีมากขึ้น ส่งผลทาให้เกิดความยากลาบากในการจัดการเรียนการสอนของครู ว่าจะจัดเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไรจึงจะสามารถพัฒนาผู้เรียน
รูปแบบการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม
การสร้างความรู้ใหม่ (The Knowledge Construction Process)ครูจะเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้บอกความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนจดจาเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้นักเรียนได้ใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ
การลดอคติ (Prejudice Reduction)
1) ให้การเสริมแรงทางบวกแก่นักเรียนทุกกลุ่มชาติพันธุ์
3) ปรับเปลี่ยนเนื้อหาหลักสูตรให้เอื้อต่อการส่งเสริมการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรม
2) ให้นักเรียนได้รับรู้ เข้าใจถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและในสังคม
4) ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน และเปิดโอกาสให้นักเรียนจากกลุ่ม
ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ได้ติดต่อสัมพันธ์กัน
บูรณาการเนื้อหาวัฒนธรรมของนักเรียน เข้าไปในวิชาต่างๆ (Content Integration)บูรณาการในเนื้อหาเดิมที่กาลังสอนอยู่ โดยครูอาจนาเรื่องราวเกี่ยวกับชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต งานศิลปะ หรือสถาปัตยกรรมของนักเรียนกลุ่มต่างๆที่อยู่ในห้องเรียน ในโรงเรียน หรือในชุมชน มายกตัวอย่าง
4. แนวทางการจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมในโรงเรียน
พระมหานภดล ปุญฺญสุวฑฺฒโก (2561)
ได้ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม คือกระบวนการให้การศึกษาระดับขั้นพื้นฐานช่วยให้เด็กและเยาวชน ประชาชนเข้าใจ และยอมรับซึ่งความแตกต่างในเรื่องของความเป็นชนกลุ่มน้อย ด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ลัทธิความเชื่อ
หลักการที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม คือการอยู่ร่วมกันของชุมชนชาวพุทธ คือการให้ทาน พูดจาที่ไพเราะ ทำตนให้เป็นประโยชน์
การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม คือ การอยู่ร่วมกันของคนในที่หลากหลายวัฒนธรรม ได้แก่ ชุมชนชาวพุทธ มุ่งส่งเสริมการศึกษาแก่เยาวชนและประชาชน การสงเคราะห์แก่อุบาสกและอุบาสิกาในชุมชนรอบวัด