Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 พลวัตรของภาษาและวัฒนธรรมในสังคมไทย - Coggle Diagram
บทที่ 8
พลวัตรของภาษาและวัฒนธรรมในสังคมไทย
1.การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
โดยข้อสมมติของการเปลี่ยนแปลง นิสเบท (Nisbet, 1969 : 166-168)
การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ นักการศาสนามักจะอธิบายการเปลี่ยนแปลงของชีวิตของมนุษย์ว่า คนเรามีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาและเป็นเรื่องของธรรมชาติ
การเปลี่ยนแปลงเป็นอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ความหมายถึงว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลานี้ ได้เกิดมาจากปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีลักษณะของการกระทาหนึ่ง ๆ เป็นสาเหตุผลักดันไปสู่การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด ๆ จะเกิดจากปัจจัยที่ผลักดันทาให้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น คนเรามีการเจริญเติบโตเนื่องจากการรับประทานอาหาร
การเปลี่ยนแปลงเป็นการต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงที่ได้กล่าวถึง ที่ผ่านมานั้นมีขั้นตอนต่าง ๆ มองเป็นเรื่องของการต่อเนื่องเป็นสาเหตุสืบต่อกันมา เช่น สังคมมีการเปลี่ยนแปลงผ่านขั้นตอนต่าง ๆ จากอดีตจนถึง ยุคปัจจุบัน
1.2 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
นักวิชาการผู้ทรงความรู้ได้กล่าวไว้ (โกวิทย์ พวงงาม, 2553, วรวุฒิ โรมรัตน์พันธ์, 2554, ดารงศักดิ์ แก้วเพ็ง, 2556)
ปัจจัยทางประชากร (Population) การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรและองค์ประกอบของประชากรนับว่ามีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือชุมชนที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมากนั้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนหรือแม้กระทั่งอัตราการเกิด การตาย การย้ายถิ่นฐานและปริมาณของเพศ
ปัจจัยทางกายภาพ (Physical) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
ปัจจัยทางชีววิทยา (Biological) หมายถึง องค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวกาหนดสมาชิกตัวประกอบ การเลือก คุณภาพทางด้านพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ จึงมีความแตกต่างกันไปในด้านคุณภาพและด้านศักยภาพของมนุษย์ในแต่ละสังคม
ปัจจัยทางวัฒนธรรม (Cultural) จากการที่บุคคลติดต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อมส่งผลให้การขยายตัวของวัฒนธรรม การเลียนแบบและการหยิบยืมวัฒนธรรม รวมทั้งการผสมผสานทางวัฒนธรรม
1.3 ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
ปรัชญา เวสารัชช์ (2555 : 296-297) ได้สรุปถึงมิติของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในชุมชนสังคมไทย
ปัญหาการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ความพยายามในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันแสดงออกในรูปของนโยบายสาคัญต่าง ๆ
ปัญหาค่าใช้จ่ายที่ต้องมีในการสร้างความเปลี่ยนแปลง การดำเนินการให้เกิดการพัฒนานั้น จำเป็นต้องมีการลงทุนหรือต้องการใช้จ่ายทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรเงิน วัสดุอุปกรณ์ เวลา แรงงาน ทุน เป็นต้นซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ จากการแสวงหา
2. การเปลี่ยนแปลงทางภาษา
2.1 ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของภาษา
การเปลี่ยนแปลงทางภาษาด้วยช่วงเวลาได้เป็น 2 ลักษณะ
การเปลี่ยนแปลงของภาษาในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน และมุ่งศึกษาวิวัฒนาการของภาษาเดียวกันที่มีความต่อเนื่องจากสมัยหนึ่งมายังสมัยหนึ่งมากกว่าการศึกษาความแตกต่างของภาษาเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงของภาษาเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกัน อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2545) กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของภาษาในลักษณะนี้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่กาลังดำเนินอยู่ หรือจะเรียกว่าการแปรของภาษา
2.2 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษา
ย่อมต้องอาศัยปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ปัจจัยหลัก
1. ปัจจัยภายใน
ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษาการเปลี่ยนแปลงภายในตัวภาษานั้นขึ้นกับคุณสมบัติของภาษา 2 ประการ
ความสมมาตร (Symmetry)
ในภาษาซึ่งเห็นได้ในระบบเสียง
ความประหยัด
หมายถึงการที่ภาษาจะไม่อนุญาตให้คำที่มีรูปเหมือนกัน 2 รูป มีความหมายเหมือนกันทุกประการ เมื่อมีการยืมคำเข้ามาในภาษาและคำนั้นมีความหมายเหมือนกับคำที่มีอยู่ในภาษาเดิม จะต้องมีคำใดคำหนึ่งเปลี่ยนแปลงความหมายเพื่อให้คงอยู่ในภาษาได้ทั้งคู่
2. ปัจจัยภายนอก
ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษาปัจจัยภายนอกที่สาคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา คือปัจจัยทางสังคมปัจจัยทางสังคมเป็นปัจจัยภายนอกภาษาที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การอพยพย้ายถิ่น
ระบบการสื่อสารและเทคโนโลยีการพิมพ์
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ
การปฏิรูปการศึกษา สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ
3. พลวัตรการเปลี่ยนแปลงของภาษาและวัฒนธรรมไทย
การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยมักถือความถูกต้องเป็นหลัก และมุ่งหวังให้ทุกคนใช้ภาษาไทยที่งดงาม สละสลวยตามแบบแผนที่บรรพบุรุษได้วางไว้เป็นตัวอย่าง
ในสังคมไทยควรยอมรับความหลากหลายในการใช้ภาษา วิธภาษาบางประเภทของไทย อาจธำรงอยู่ได้โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลง เช่น วิธภาษาที่เป็นวัจนลีลาตายตัว เช่น ราชาศัพท์ ภาษามาตรฐาน ภาษากฎหมาย