Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัดพรหมโลก, ทฤษฎีแรงจูงใจ
💛, Screen Shot 2563-10-02 at 21.15.04, :check:…
วัดพรหมโลก
-
ทฤษฎีโครงสร้างการหน้าที่
เชื่อมโยงทฤษฎีกับวัดพรหมโลก
คือระบบการบริหารตลาดสร้างสุข แม้ว่าจะดูว่าทุกคนเท่าเทียมกัน แต่ก็มีโครงสร้างอำนาจหน้าที่ในตัวของมันเอง นั่นก็คือตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบ ยกตัวอย่างเช่น เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส พระ กรรมการวัด กลุ่มญาติธรรม เครือข่ายสาธารณสุข เครือข่ายโฮมสเตย์ ชาวบ้านในชุมชน ทุกคนจะมีหน้าที่รับผิดชอบของตนเอง และทำงานเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และหากมีปัญหาหรืออะไรที่ผิดพลาด เข้าใจไม่ตรงกัน ก็จะมีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือกัน แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งเพื่อให้กลับมาสู่สมดุลที่สงบสุขดังเดิม
ออกุสท์คอมท์ (August Comte) เสนอว่าสังคมประกอบด้วยโครงสร้างต่าง ๆ หลายส่วน เช่นเดียวกับร่างกายของมนุษย์ที่ประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ โครงสร้างแต่ละส่วนเหล่านี้จะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไปอย่างชัดเจน แต่ต่างประสานสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบสังคมจึงจะดำรงอยู่ได้อย่างสงบสุขหรือมีดุลยภาพ (Equilibrium)
เฮอร์เบิร์ทสเปนเซอร์ (Herbert Spencer) มีความคิดเห็นเช่นเดียวกับออกุสท์ คอมท์ และขยายความเพิ่มเติมว่า โครงสร้างของสังคมจะเพิ่มความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความหลากหลายและแตกต่างไปจากโครงสร้างเดิมเสมอ แต่จะยังคงเชื่อมโยงประสานไม่ได้แยกออกจากกัน แต่จะรวมกันในลักษณะของการบูรณาการ (Integration) เมื่อสมาชิกของสังคมเพิ่มจำนวนขึ้นก็ยิ่งทำให้เกิดความแตกต่างทางสังคมมากยิ่งขึ้น ทำให้สังคมขาดดุลยภาพ สมาชิกจึงต้องปรับตัวในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแบ่งงานกันทำ การจัดระเบียบทางสังคม เป็นต้น ทำให้สังคมยิ่งเพิ่มความซับซ้อน และเกิดความแตกต่างกันเป็นความพิเศษเฉพาะอย่าง (Specialization) แต่สังคมจะมีดุลยภาพ เพราะโครงสร้างต่าง ๆ ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนและประสานสัมพันธ์กับโครงสร้างอื่น ๆ ด้วย
ทฤษฎีฝนหล่นจากฟ้า 🌧
ทฤษฎีฝนหล่นจากฟ้าเชื่อว่า คนในสังคมมีความแตกต่างกันแบ่งออกเป็นหลายระดับชั้น แต่ละระดับชั้นมีความสามารถในการรับการพัฒนาแตกต่างกัน ในขณะที่ทรัพยากรสำหรับใช้ในการพัฒนามีอยู่อย่างจำกัด หากนำมาจัดสรรให้เกิดผลประโยชน์ต่อทุกคนในปริมาณที่เท่ากันแล้วประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็จะไม่มากนัก เพราะการเร่งรัดพัฒนามีข้อจำกัดหลายประการ เช่น งบประมาณ ทรัพยากร เทคโนโลยี และคุณภาพของประชากร เป็นต้น ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมจึงต้องมุ่งไปที่กลุ่มคนซึ่งมีความพร้อม หรือได้เปรียบในสังคมก่อนจึงจะประสบความสำเร็จ (สนธยาพลศรี, 2547: 172-173)
เชื่อมโยงทฤษฎีกับวัดพรหมโลก คือการกระจายงบประมาณของภาครัฐที่จะกระจายให้กับวัดหรือชุมชนที่มีความพร้อมมากกว่าก่อน เพราะให้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้ใช้ประโยชน์อย่างมากที่สุด
SWOT
S: Strength จุดแข็ง
คือจุดแข็งหรือข้อได้เปรียบขององค์กรที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในองค์กร ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่คู่แข่งในตลาดสามารถเลียนแบบได้ยากและส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร
W: Weakness จุดอ่อน
คือจุดอ่อน ข้อเสียเปรียบ หรือปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดมาจากสภาพแวดล้อมภายในองค์กร ที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรจะต้องหาวิธีแนวทางการแก้ไขปัญหา ข้อบกพร่องเหล่านั้นออกไป
O: Opportunity โอกาส
คือโอกาสความเป็นไปได้ทางธุรกิจขององค์กร ซึ่งก็คือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรที่เอื้อประโยชน์เป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร
T: Threats อุปสรรค
คือความเสี่ยง ภัยคุกคาม ข้อจำกัด หรืออุปสรรคต่างๆ ขององค์กร ซึ่งก็คือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรที่ส่งผลผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร
-
ทฤษฎีแรงจูงใจ
💛
แรงจูงใจ คือ พลังผลักดันให้คนมีพฤติกรรมและยังกำหนดทิศทาง และเป้าหมายของพฤติกรรมนั้นด้วย คนที่มีแรงจูงใจสูงจะใช้ความพยายามในการกระทำไปสู่เป้าหมาย โดยไม่ลดละ แต่คนมีมีแรงจูงใจต่ำจะไม่แสดงพฤติกรรมหรือไม่ก็ล้มเลิกการกระทำก่อนบรรลุเป้าหมาย
ชาญศิลปวาสบุญมา (2546, หน้า 26) กล่าวว่าแรงจูงใจในการทำงานหมายถึงพลังทั้งจากภายในและภายนอกซึ่งช่วยกระตุ้นพฤติกรรมให้บุคคลทำในสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จตามเป้าหมายด้วยความเต็มใจและเป็นตามกระบวนการจูงใจของแต่ละบุคคล
-
เชื่อมโยงกับวัดพรหมโลก
คือการที่ตลาดสุขภาพของวัดพรหมโลกได้มีการให้รางวัลแก่แม่ค้าพ่อค้าที่มาขายของในวัดพรหมโลก โดยมีกติกาว่าหากร้านค้าใดใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติทั้งหมด จะมีการให้รางวัลเป็นข้าวสาร 1 กระสอบ หนัก 5 กิโลกรัมเป็นรางวัล ทำให้ชาวบ้านมีแรงจูงใจเล็กๆน้อยๆที่จะทำตามกติกาที่ตั้งเอาไว้
-
-