Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม - Coggle Diagram
การป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
สาเหตุของวิกฤตการณ์พลังงาน
1.1 ประชากรของโลกเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งแหล่งพลังงานมีไม่เพียงพอ พลังงานจึงมีราคาแพงขึ้น นอกจากนี้
ปริมาณการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้นจากประชากรโลกทําให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
1.2 ขาดการวางแผนและจัดการ ทําให้การใช้พลังงานไร้ประสิทธิภาพ ไม่คุ้มค่า และขาดแผนแก้ไขผลกระทบทาง
สิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน
1.3 การใช้เทคโนโลยีมากและไม่เหมาะสม ทําให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ไม่คํานึงถึงการอนุรักษ์
พลังงาน
1.4 ขาดการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ทําให้ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทั้งหลายร่วมกัน
แนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์พลังงาน
2.1 มาตรการทางเศรษฐกิจ เช่น ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการผลิตและการบริโภคต้อง
รับผิดชอบต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
2.2 มาตรการทางกฎหมาย เช่น มีกฎหมายส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กฎหมายด้านภาษีอากร เพื่อจูงใจให้เกิด
การอนุรักษ์พลังงาน ฯลฯ
2.3 มาตรการการศึกษา เช่น มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม นํามาตรฐาน ISO
14000 มาใช้กับโรงเรียน มีกิจกรรมออกค่ายอนุรักษ์พลังงาน กิจกรรมการปลูกป่า ฯลฯ
2.4 มาตรการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เช่น มีการเผยแพร่ความรู้/ข้อมูลทางสื่อมวลชนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเชิญ
ชวนให้ประชาชนร่วมมือกันประหยัดน้ํา ไฟฟ้า การใช้รถยนต์ร่วม ฯลฯ
2.5 มาตรการทางเทคโนโลยีเช่น ส่งเสริมการคิดค้นพลังงานทดแทน แหล่งพลังงานรูปแบบใหม่ และอุปกรณ์
ประหยัดพลังงานต่าง ๆ
แนวคิดในการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย
3.1 แผนการอนุรักษ์พลังงานในช่วงปี พ.ศ. 2551-2554
3.1.1 การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
3.1.1.1 ภาคอุตสาหกรรมและการจัดการด้านการใช้พลังงาน
(1) การดําเนินการปรับปรุงการใช้พลังงานในกิจการ (โดยครอบคลุมอาคารสํานักงาน ธุรกิจและการ
บริการ สถานที่ราชการ และบ้านอยู่อาศัย) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) การจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา
(3) การจัดตั้งกองทุนเพื่อร่วมลงทุน และส่งเสริมการลงทุนให้โครงการอนุรักษ์พลังงานและพลังงาน
ทดแทน (ESCO Venture Capital)
(4) การประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก
3.1.1.2 ภาคขนส่ง มีมาตรการดังนี้
(1) การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการจราจรและการขนส่ง ทั้งการขนส่งคนและสินค้า
(2) การส่งเสริมการลงทุนในโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน โดยสนับสนุนให้การขนส่งสาธารณะเป็น
ระบบขนส่งหลักของประเทศ
(3) การสนับสนุนการดําเนินการที่ทําให้เกิดการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบโลจิสติกส์
3.1.2 การใช้พลังงานทดแทน
3.1.2.1 การพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนทุกประเภท ได้แก่ พลังงาน
แสงอาทิตย์ ลม ก๊าซชีวภาพ ชีวมวล พลังน้ํา น้ํามันจากพืช
3.1.2.2 การส่งเสริมการนําพลังงานหมุนเวียนมาใช้ให้เต็มศักยภาพ เช่น การจัดการรวบรวมเศษวัสดุเหลือใช้
ทางการเกษตรมาใช้เป็นพลังงาน การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของพืชพลังงานหรือพืชน้ํามัน
3.1.3 การพัฒนาบุคลากร
3.1.3.1 การจัดฝึกอบรมด้านพลังงานและการจัดการพลังงานให้แก่อาจารย์และนักศึกษาที่มีพื้นฐานทาง
วิศวกรรม เพื่อจัดตั้งทีมเทคนิคเพื่อเข้าไปตรวจสอบการใช้พลังงานและให้คําปรึกษาแนะนําแก่โรงงานหรือสถานประกอบการ
ให้เกิดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียน
3.1.3.2 การส่งเสริมการเรียนการสอนและห้องปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานหมุนเวียนใน
ระดับอุดมศึกษา
3.1.4 การประชาสัมพันธ์
3.1.4.1 การดําเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงความสําคัญและผลกระทบของการใช้
พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
3.1.4.2 การเผยแพร่วิธีการประหยัดพลังงานที่ทําได้ง่ายในชีวิตประจําวัน และมีการลงทุนต่ําหรือไม่มีเลย แต่
มีผลอย่างมากต่อการลดค่าใช้จ่ายด้านน้ํามันและไฟฟ้าของประชาชน
3.1.4.3 การให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ํามันแก๊สโซฮอลล์
น้ํามันไบโอดีเซล ถ่านหิน นิวเคลียร์ ฯลฯเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเห็นถึงความสําคัญของการกระจายแหล่งเชื้อเพลิง การพัฒนา
พลังงานทดแทนน้ํามัน และการเลือกใช้พลังงานใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับประเทศ
3.2 แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี(พ.ศ. 2554-2573)
3.2.1 มาตรการภายใต้แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี(พ.ศ. 2554-2573)
3.2.2 ประมาณการผลประหยัดจากการดําเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี(พ.ศ. 2554-2573)
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ปัญหาด้านพลังงาน