Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาการรับประทานอาหารและน้ำ การขับถ่ายอุจจาระปัส…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาการรับประทานอาหารและน้ำ การขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเพียงพอกับ
ความต้องการของร่างกาย
2.ได้รับอาหารเหมาะสมกับโรค
3.ช่วยเหลือและให้กำลังใจผู้ป่วยขณะรับประทานอาหาร
4.เพื่อสอนให้ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตังเองไม่ได้
และผู้ป่วยตาบอดรับประทานอาหารเองได้
การใส่สายจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
Nasogastric tube/ NG tube
เพื่อเป็นทางให้อาหารน้ำหรือยา
เป็นการลดแรงดันจากกระเพาะอาหารและลำไส้
เป็นทางเพิ่มแรงดันเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร
เพื่อยับยั้งการมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ส่วนต้น
เพื่อล้างในกระเพาะอาหาร
เพื่อดูดเอาสิ่ง ที่ค้างในกระเพาะอาหารไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ
อุปกรณ์การให้อาหารทางสายยาง
ถาดสี่เหลี่ยม 1 ใบ สำหรับใส่ของใช้
สาย Nasogastric tube disposable
กระบอกฉีดยาหัวโต
K-Y Jelly หรือ Xylocaine Jelly
ชามรูปไต 1 ใบ
ผ้ากอซ 1-2 ผืน
ผ้ากันเปื้อน 1 ผืน
ไม้พันสำลี ชุบ N.S.S. 0.9%
หูฟัง (Stetchtoscope)
น้ำดื่ม 1 แก้ว พร้อมหลอดดูด
ถุงมือสะอาด 1 คู่
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
การขจัดของเสียออกจากร่างกายมีหลายทางระบบทางเดินอาหารทำหน้าที่ขจัดของเสียโดยการขับถ่ายอุจจาระการย่อยอาหารเริ่ม เล็กน้อยตั้งแต่ในปากกระเพาะอาหารอาหารส่วนใหญ่ถูกย่อยที่ลำไส้เล็กจนเสร็จสมบูรณ์
การสวนอุจจาระ
(Enemas)
เพื่อช่วยขับถ่ายอุจจาระออกจากลำไส้
เพื่อล้างลำไส้ใหญ่ให้สะอาดก่อนการสวนเก็บ
เพื่อล้างลำไส้ใหญ่ให้สะอาดในรายที่เตรียมผ่าตัด
หลักทั่วไปและข้อคำนึงใน
การสวนอุจจาระ
การสวนอุจจาระชนิดปล่อย (Cleansing
Enemas หรือ Non – Retention Enemas)
1 อย่าสวนอุจจาระบ่อยเกินไป
เพราะจะทำให้ติดนิสัย
2 ต้องให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายเสมอ
3 ผู้ที่คลอด ผู้ที่เป็นริดสีดวงทวาร เด็กเล็ก
ๆ หรือผู้ที่มีการเย็บบริเวณฝีเย็บต้องใช้สายสวนในการระบายก๊าซ ห้ามใช้หัวสวน
4 ขณะสวนอุจจาระผู้ป่วยมีอาการปวดมากมีเลือดออกมากหรือมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียคล้ายจะเป็นลม ต้องหยุดทำรายงานหัวหน้าทีม
5 การสวนผู้ที่เป็นริดสีดวงทวารเมื่อถ่ายเสร็จแล้วให้นั่งแช่กั้น (Hot sitzbath) ด้วย
ในรายที่ไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้
ให้นอนบนหม้อนอนในขณะที่สวน
การสวนปัสสาวะ
(Catheterization)
การสวนปัสสาวะแบบเป็นระยะ ๆหรือเป็นครั้งคราว (Intermittent catheter)
ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะเองไม่ได้เนื่องจากบริเวณไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะเองไม่ได้ภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากปัสสาวะครั้ง สุดท้ายเนื่องจากท่อปัสสาวะได้รับการบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือน
ต้องการให้กระเพาะปัสสาวะว่างในกรณีที่ต้องทำการผ่าตัดหรือเตรียมตรวจ
วัดปริมาณของปัสสาวะค้าง (Residual urine)
การสวนปัสสาวะค้างไว้(Retention of urethral catheter)
การสวนปัสสาวะค้างไว้เป็นการสอดใส่สายสวนที่ปราศจากเชื้อผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะ
ปัสสาวะเพื่อระบายปัสสาวะให้ไหลออกสู่ภายนอกและคาสายส่วนไว้เพื่อให้ปัสสาวะไหลออกได้
ผู้ป่วยที่มีปัสสาวะค้างจำนวนมากกว่า 50มิลลิลิตรและได้รับการสวนปัสสาวะทิ้ง มากกว่า2ครั้ง แล้วไม่ดีขึ้นและไม่สามารถแก้ไขโดยวิธีการอื่นๆ