Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 หลักการพยาบาลในการให้ยาแก่ผู้ป่วย - Coggle Diagram
บทที่ 8 หลักการพยาบาลในการให้ยาแก่ผู้ป่วย
หลักของการให้ยาเพื่อความปลอดภัย
การประเมินผู้ป่วยก่อนได้รับยา
การตรวจร่างกาย พยาบาลจะต้องประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วยเกี่ยวกับ การมองเห็น การได้ยิน การกลืน ระดับความรู้สึกตัว สภาพของผิวหนัง หลอดเลือดดำกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของแขนขาน้ำหนักตัว ส่วนสูง และตรวจวัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ ความดันเลือด
การซักประวัติ
ประวัติเกี่ยวกับโรคและยาที่ได้รับ โดยการสอบถามจากผู้ป่วยหรือญาติเกี่ยวกับประวัติการได้รับยา หรือตรวจสอบจากบันทึกการได้รับยาในแฟ้มประวัติของผู้ป่วย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการมียาหลายตัวที่ก่อนให้ยา ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินก่อนให้ยา
การวางแผนการให้ยา
คำสั่งการรักษาของยา โดยทั่วไปแล้วแผนการรักษาในเรื่องยาจะกระทำโดยแพทย์ แพทย์จะเขียนคำสั่งยาไว้ในใบสั่งการรักษาหรือใบสั่งยา
ชนิดของคำสั่งในการรักษา 2.1 คำสั่งครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป (Standing Order) เป็นคำสั่งการให้ยาอย่างต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะมีคำสั่งงดยา หรือกำหนดระยะเวลาไว้พอครบกำหนด
2.2 คำสั่งใช้ยาครั้งเดียว (Single dose) เป็นคำสั่งให้ยาเพียงครั้งเดียว ตามเวลา
ที่กำหนดให้ เช่น Diazepam 10 mg
2.3 คำสั่งที่ต้องให้ทันที (Stat order) เป็นคำสั่งที่ให้ยาครั้งเดียวและต้องให้ในทันทีมักใช้ในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน
2.4 คำสั่งให้ยาเมื่อจำเป็น (PRN order) เป็นคำสั่งการให้ยาที่พยาบาลเป็นผู้ตัดสินใจในการให้
การปฏิบัติการให้ยา
ถูกต้องตรงกับผู้ป่วย(Right patient) ตรวจสอบชื่อ และนามสกุลของผู้ป่วยที่ได้รับในใบMAR และต้องถามชื่อ และนามสกุลของผู้ป่วยและดูป้ายข้อมือทุกครั้งให้ตรงกับใบMAR ก่อนให้ยา
ถูกต้องตามชนิดของยา (Right drug) ตรวจสอบชื่อยาในใบ MAR กับซองยาหรือขวดยาให้ถูกต้องตรงกันอย่างน้อย 3 ครั้ง
ถูกต้องตามขนาด (Right dose) อ่านและตรวจสอบขนาดยาอย่างละเอียดรอบคอบใน
ใบ MAR
ถูกต้องตามวิถีทาง (Right route หรือ method) ต้องทราบตัวย่อของวิถีทางต่างๆ ที่ให้ยาอย่างแม่นยำ
ทางปาก (Oral medication)
การให้ยาทางปากเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดที่สุด ให้ได้กับผู้ป่วยทุกคนที่สามารถกลืนได้สำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ
หรือผู้ที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ดแข็ง อาจจะเป็นต้องดัดแปลงวิธีการ
เช่น บดให้เป็นผงแล้วละลายน้ำ
ข้อควรปฏิบัติการให้ยาทางปาก
ในกรณีที่เตรียมยาเม็ด ให้ใช้ช้อนตักหรือเทจากภาชนะบรรจุลงในถ้วยยา ห้ามใช้มือหยิบในกรณีที่เตรียมยาน้ำจับขวดยาให้หันด้านที่มีฉลากออกให้ผู้จัดยาเห็นได้ชัด ขณะรินยาทุกครั้ง ยา
น้ำชนิดแขวนตะกอนให้เขย่าขวดทุกครั้งก่อนรินยา เปิดฝาขวดยาวางหงาย มืออีกข้างถือแก้วยกให้สูง
อยู่ในระดับสายตา ใช้นิ้วหัวแม่มือวางตรงระดับที่ต้องการ รินยาขนาดที่ต้องการ โดยไม่ให้ปากขวดสัมผัสกับแก้วยา การตวงยาที่มีส่วนผสมของน้ำมัน ให้อ่านระดับยาที่โค้งล่างของแก้วยา
การให้ยาเฉพาะที่
( Topic medication)
เพื่อบรรเทาอาการคัน
เพื่อทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นและป้องกันการทำลายเซลล์ของผิวหนัง
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อรักษาโรคผิวหนัง
การฉีดยา
ยาที่ให้โดยการฉีดจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเร็วกว่าการให้ยาโดยวิธีอื่น ย่อม
มีอันตรายมากกว่าดังนั้นหลักในการพิจารณาการให้ยาฉีดคือต้องการให้ยาออกฤทธิ์เร็ว
ผู้ป่วยไม่
สามารถรับประทานยาทางปากได้หรือไม่ปลอดภัยที่จะให้ทางปาก เช่น ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว กลืนลำบากผู้ป่วยที่ต้องงดอาหารและน้ำก่อนการผ่าตัด
หลักปฏิบัติของการฉีดยา
ขณะเตรียมยาต้องทำด้วยความระมัดระวังละเอียดรอบคอบ
ผู้เตรียมยาและผู้ฉีดยาต้องเป็นคนเดียวกัน
ไม่เตรียมยาฉีดต่างชนิดกันใส่ในกระบอกฉีดยาอันเดียวกัน เพราะอาจเกิดปฏิกิริยาต่อ
กันได้
ควรนำยาไปฉีดทันทีภายหลังจากการเตรียมเสร็จเพราะยาบางชนิดมีความคงทน
(Stability) ต่ำ
ขณะปฏิบัติต้องยึดหลักเทคนิคปราศจากเชื้ออย่างเคร่งครัด ไม่ให้เกิดการปนเปื้อเชื้อโรค
ก่อนฉีดยาทุกครั้งจะต้องทำความสะอาดบริเวณที่จะฉีดยาด้วยน้ำยา Antiseptic เช่น
แอลกอฮอล์ 70% ก่อนเสมอ