Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 หลักการพยาบาลในการให้ยาแก่ผู้ป่วย - Coggle Diagram
บทที่ 8 หลักการพยาบาลในการให้ยาแก่ผู้ป่วย
หลักการในการให้ยา
หลักในการให้ยาต้องใช้หลักความถูกต้องในการให้ยาพื้นฐาน 5 ประการ (5 rights) คือ ถูกชนิด
ยา (right drug) ถูกขนาดยา (right dose)ถูกทางที่ให้ยา (right route) ถูกเวลาที่ให้ (right time) และถูก
ผู้ป่วย (right patient)
นอกจากนั้นอาจมีหลักการอื่นๆเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อให้เกิดความถูกต้องตลอด
กระบวนการของการให้แต่ ตั้งแต่การเตรียม การให้และการบันทึกหลังการให้ยา หลัการที่เพิ่มเข้ามา ได้แก่
ถูกเทคนิค (right technique) ถูกการบันทึก (right document) ถูกเหตุผล (right reason)โดยปฏิบัติตาม
หลักการในการให้ยา
ตรวจสอบบัตรให้ยา (medication card) กับค าสั่งการรักษาของแพทย์ทุกครั้งที่จะให้ยาแก่ผู้ป่วย การตรวจสอบต้องดูชื่อ นามสกุล เตียงหรือห้องผู้ป่วย ชื่อยา ขนาดยาที่ให้ ทางที่ให้ และเวลาที่ให้
ขณะจัดยาต้องอ่านชื่อยาอย่างน้อย 3 ครั้ง คือ ตอนหยิบยาออกมา เมื่อเตรียมยา และก่อน
ทิ้งขวดยาหรือ เก็บซองยา
ขณะเตรียมยา ต้องใช้เทคนิกที่ถูกต้อง ตั้งแต่การล้างมือก่อนเตรียมยา ยากินต้องเตรียมอย่าง
สะอาด ยาฉีดต้องใช้หลักปราศจากเชื้อ และเตรียมยาให้เหมาะกับทางที่จะให้ยา
เมื่อจะให้ยาผู้ป่วยต้องถามชื่อและนามสกุลผู้ป่วยทุกครั้ง ด้วยคำถาม “ชื่ออะไร” จากผู้ป่วย
ถ้าผู้ป่วยหมดสติ หรืออยู่ในภาวะที่ตอบไม่ได้ ต้องถามผู้เกี่ยวข้องให้แน่ใจก่อน หรือดูจากป้ายข้อมือผู้ป่วย
ก่อนให้ยาทุกครั้งต้องบอกชื่อยา เหตุผลที่ให้ยา/ฤทธิ์ของยา และอาการข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น ให้ผู้ป่วยทราบ
การประเมินผู้ป่วยก่อนได้รับยา
การซักประวัติ ประวัติเกี่ยวกับโรคและยาที่ได้รับ โดยการสอบถามจากผู้ป่วยหรือญาติเกี่ยวกับประวัติการ
ได้รับยา หรือตรวจสอบจากบันทึกการได้รับยาในแฟ้มประวัติของผู้ป่วย
การตรวจร่างกายพยาบาลจะต้องประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วยเกี่ยวกับ การมองเห็น การได้ยิน การ
กลืน ระดับความรู้สึกตัว สภาพของผิวหนัง หลอดเลือดดำกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของแขนขา
น้ำหนักตัว ส่วนสูง และตรวจวัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ ความดันเลือด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ มียาหลายตัวที่ก่อนให้ยา ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็น
ข้อมูลในการประเมินก่อนให้ยา
ชนิดของคำสั่งในการรักษา
2.1 ค าสั่งครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป (Standing Order) เป็นคำสั่งการให้ยาอย่างต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะมีคำสั่งงดยา
2.2 คำสั่งใช้ยาครั้งเดียว (Single dose) เป็นคำสั่งให้ยาเพียงครั้งเดียว ตามเวลา
ที่กำหนดให้
2.3 คำสั่งที่ต้องให้ทันที (Stat order) เป็นคำสั่งที่ให้ยาครั้งเดียวและต้องให้
ในทันทีมักใช้ในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน
2.4 คำสั่งให้ยาเมื่อจำเป็น (PRN order) เป็นคำสั่งการให้ยาที่พยาบาลเป็นผู้ตัดสินใจในการให้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย
การวางแผนการให้ยา
คำสั่งการรักษาของยา โดยทั่วไปแล้วแผนการรักษาในเรื่องยาจะกระทำโดยแพทย์ แพทย์จะเขียนคำสั่งยาไว้ใน
ใบสั่งการรักษาหรือใบสั่งยา
1.1 ชื่อและนามสกุลผู้ป่วย เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการให้ยาที่ผู้ป่วยชื่อซ้ำ
กันได้
1.2 วัน เดือน ปี และเวลาที่สั่งยา
1.3 ชื่อยาควรเป็น Generic name หรือ Trade name ที่เขียนชัดเจนและ
ถูกต้อง ซึ่งถ้าพยาบาลมีข้อสงสัยต้องเปิดคู่มือการใช้ยา หรือสอบถามแพทย
1.4. ขนาดของยา อาจเป็นมิลลิกรัม กรัม หรือเกรน โดยทั่วไปใช้ระบบเมตริก
1.5 วิถีทางที่ให้ยาและวิธีการให้ที่เฉพาะ (Route of administration) โดยมากช้าตัวย่อ
การปฏิบัติการให้ยา
ถูกต้องตรงกับผู้ป่วย(Right patient) ตรวจสอบชื่อ และนามสกุลของผู้ป่วยที่ได้รับในใบMAR และต้องถามชื่อ และนามสกุลของผู้ป่วยและดูป้ายข้อมือทุกครั้งให้ตรงกับใบMAR ก่อนให้ยา
ถูกต้องตามชนิดของยา (Right drug) ตรวจสอบชื่อยาในใบ MAR กับซองยาหรือขวดยาให้ถูกต้องตรงกันอย่างน้อย 3 ครั้งคือ ก่อนหยิบยา ก่อนรินยาและก่อนเก็บเข้าตู้ยา
3.ยาให้ถูกต้องตรงกันอย่างน้อย 3 ครั้งคือ ก่อนหยิบยา ก่อนรินยาและก่อนเก็บเข้าตู้ยา
ถูกต้องตามเวลา (Right time) ต้องทราบตัวย่อเวลาให้แม่นย า เช่น t.i.d., p.c. , q.i.d.
ต้องทราบเวลาในการให้ยาในแต่ละแห่และให้ยาใกล้เวลามากที่สุด
ถูกต้องตามวิถีทาง (Right route หรือ method) ต้องทราบตัวย่อของวิถีทางต่างๆ ที่ให้ยาอย่างแม่นยำ
บันทึกถูกต้อง (Right documentation)ภายหลังการให้ยา พยาบาลจะต้องลงบันทึกใน
แผ่นใบบันทึกการให้ยา(MAR)ชื่อยา ขนาดของยา วิถีทางที่ให้ยา และเวลาที่ให้ยา ในกรณีที่เป็นยาที่
ให้เมื่อจ าเป็นหรือที่ให้โดยทันทีทันใด