บทที่10 การส่งเสริมครูในเรื่องของประเด็นและทักษะพื้นฐานในการให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน
ทักษะที่จำเป็นในการให้คำปรึกษา
ทักษะในการมีส่วนร่วม
ทักษะในการเป็นผู้ฟังที่ดี
ศิลปะในการเอาใจใส่
ศิลปะในการสืบสวนเรื่องราว
การช่วยเหลือผู้เรียนให้รู้จักท้าทายตนเอง
ประเด็นและหลักจริยศาสตร์ที่สำคัญในการให้คำปรึกษา
หลักจริยศาสตร์หมายถึง ระบบของหลักการในการปฏิบัติที่นำไปสู่การสร้างพฤติกรรมของแต่ละบุคคล
หลักจริยศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับครู
การเคารพในตัวผู้เรียนและไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้เรียน
ครูจะต้องเคารพในตัวผู้เรียนและปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยความเป็นธรรม
ไม่เลือกที่รักมักที่ชังไม่ว่า เพศ สถานภาพทางสังคม วัฒนธรรม ชาติพันธ์ุและศาสนาของผู้เรียนจะเป็นอย่างไร
ครูต้องเคารพความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนด้วยความจริงใจ
ความไว้ใจได้
หมายถึง การไม่เปิดเผยสิ่งที่ครูได้รับรู้มาจากการเป็นผู้ให้คำปรึกษา
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการสร้างความไว้วางใจระหว่างครูและผู้เรียน
ครูควรให้คำปรึกษาในห้องพักแทนที่จะเป็นในสาธารณะ
ข้อยกเว้น ครูต้องเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของผู้เรียนในสถานการณ์ที่อันตรายต่อตัวผู้เรียน
การดูแลเอาใจใส่
ครูมือใหม่ควรระลึกไว้เสมอว่าครูยังขาดประสบการณ์ที่เพียงพอในการรับมือกับทุกสถานการณ์ได้
การเตรียมการให้คำปรึกษาในโรงเรียน
เมื่อผู้เรียนประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นทางการศึกษาหรือทางอารมณ์ นักเรียนจะเข้ามาปรึกษาครูเป็นคนแรกในฐานะครูประจำชั้นหรือครูประจำวิชา
ทักษะในการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วม คือ การที่ครูร่วมมือกับผู้เรียนทั้งทางกานภาพและทางจิตวิทยา
เป็นสัญญาณที่บ่งบอกให้ผู้เรียนรู้ว่าครูเข้าใจพวกเขาและจะรับฟังปัญหาของพวกเขาอย่างตั้งใจ
การเผชิญหน้ากับผู้เรียน
ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้อยู่ที่คุณภาพของการปฏิสัมพันธ์
การใช้ท่าทางที่เปิดเผย
การนั่งไขว้แขนและไขว้ขาทำให้การมีส่วนร่วมกับผู้เรียนของครูลดลง
การโน้มตัวเข้าหาผู้เรียน
เป็นการสื่อให้ผู้เรียนรู้ว่า "ครูสนใจเธอนะ" แต่ถ้าเอนตัวไปข้างหลังเป็นการสื่อว่า "ครูเบื่อ" หรือ "ครูไม่อยากฟังเธอแล้ว"
การสื่อสารทางสายตา
การสื่อสารทางสายตากับผู้เรียนเป็นวิธีหนึ่งที่จะบอกว่า "ครูเข้าใจเธอและอยากฟังครูพูดนะ"
สงบ ผ่อนคลายและเป็นธรรมชาติ
การผ่อนคลายคือ การอยู่เฉยๆไม่เบี่ยงเบนความสนใจทั้งทางสีหน้าและการกระทำ
ทักษะในการเป็นผู้ฟังที่ดี
สังเกตและทำความเข้าใจกับพฤติกรรมที่ไม่แดงออกด้วยวาจาของผู้เรียน
ครูสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับผู้เรียนได้มากเพียงแค่สังเกตเท่านั้น
พฤติกรรมที่ไม่แดงออกด้วยวาจา เช่น ท่าทาง การแสดงออกทางสีหน้า โทนเสียง การตอบสนองทางร่างกายสังเกตเห็นได้
การฟังและการทำความเข้าใจกับข้อความที่ผู้เรียนต้องการสื่อ
ครูต้องฟังสิ่งที่นักเรียนอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรม ประสบการณ์และความรู้สึกของพวกเขา โดยต้องให้ความกระจ่างแก่ผู้เรียน
การฟังและทำความเข้าใจกับตัวผู้เรียนจากสังคมแวดล้อม
การฟังที่ดี หมายถึง การรับฟังที่ผู้เรียนพูดและทำความเข้าใจพวกเขาเป็นใคร มาจากไหน
การท้าทายความคิดเห็นที่บิดเบียน
ครูจะต้องเรียนรู้ที่จะสังเกตช่องว่างและการบิดเบียนในเวลาที่เหมาะสม
ศิลปะในการเอาใจใส่
คือ ความสามารถในการสื่อให้ผู้เรียนรับรู้ถึงความเข้าใจที่ครูมีต่อพวกเขาซึ่งรวมถึงการแปลงความเข้าใจในพฤติกรรม ประสบการณ์และความรู้สึกของพวกเขาให้เป็นการตอบสนองที่ครูให้กับผู้เรียนได้
ครูอาจตรวจสอบความถูกต้องของสิ่งที่ครูรู้ได้โดยการกล่าวว่า "เธอรู้สึก....เพราะว่า...."
การตอบแบบพื้นฐาน
ข้อความว่า "เธอรู้สึก.."แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกของผู้เรียนในอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป
ข้อความว่า"เพราะว่า...."แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์และพฤติกรรมของผู้เรียน
สิ่งสำคัญครูต้องระลึกว่าสิ่งที่ผู้เรียนรู้สึกอาจไม่ตรงกับสิ่งที่ผู้เรียนแสดงออกมาในขณะพูดเสมอไป
ตั้งใจฟังผู้เรียนตลอด
ครูควรทำความเข้าใจต่อสิ่งที่ผู้เรียนพยายามจะบอกเล่าให้ฟัง
สิ่งที่ไม่ควรทำ
ตัวอย่างของการตอบที่แย่ คือ การใช้สำนวนซำ้ซากจำเจหรือการตีความสิ่งที่ผู้เรียนต้องการบอกเล่าอย่างไม่เหมาะสม
ศิลปะในการสืบสวนเรื่องราว
การใช้ข้อความ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอธิบายให้กระจ่างถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องได้
การใช้ข้อความสั้นๆ
ครูไม่จำเป็นต้องใช้คำถามหรือข้อความยาวๆก็ได้ แต่ครูอาจใช้วลีสั้นๆที่ช่วยการให้คำปรึกษาดำเนินไปอย่างราบรื่นได้
การตั้งคำถาม
อย่าพยายามใช้คำถามมากเกินไป จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าเหมือนกำลังถูกสอบสวนซึ่งจะไม่เป็นผลดีกับการให้คำปรึกษา
ครูควรตั้งคำถามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และมีประโยชน์ต่อการให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน
การช่วยเหลือผู้เรียนให้รู้จักท้าทายตนเอง
ครูต้องช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่นสังคมแวดล้อมได้
ผู้เรียนต้องรู้จักเปลี่ยนแปลงตนเอง
การท้าทายเป็นการสำรวจความคิดและพฤติกรรมที่ไม่เป็นผลดีต่อตนเองหรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่น
หากท้าทายนี้ประสบความสำเร็จ ผู้เรียนสามารถเติมเต็มข้อบกพร่องของตนเองได้ด้วยมุมมองใหม่ๆซึ่งจะแปลเปลี่ยนเป็นการกระทำที่สร้างสรรค์ได้
การท้าทายให้ผู้เรียนรู้ว่าปัญหาของพวกเขานั้นสามารถแก้ไขได้
ครูจึงจำเป็นต้องช่วยชี้ทางสว่างให้ผู้เรียนรู้สึกว่าปัญหาของพวกเขานั้นสามารถแก้ไขได้
การท้าทายความแตกต่างและความบิดเบือน
การท้าทายความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ผู้เรียนคิดและรู้สึก สิ่งที่พูดและทำ สิ่งที่ผู้เรียนเป็นและหวังว่าจะเป็น
ความคิดเห็นต่อตนเองและความคิดเห็นต่อผู้อื่นมีให้ตลอดจนแสดงออกมากับพฤติกรรมของพวกเขานั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์
ผู้เรียนบางคนอาจบิดเบือนความเป็นจริงในหลายรูปแบบด้วยกัน
ดังนั้นครูในฐานะผู้ให้คำปรึกษาควรบอกให้ผู้เรียนปล่อยอดีตและหันมาสนใจกับปุจจุบันและอนาคต
นางสาวฮานาน ดอเลาะ เลขที่28 รหัส 6220160472 กลุ่ม6