Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเฝ้าระวังโรค กรณีสถานการณ์โควิด, นางสาวกาญจนา ลาวัล เลขที่ 60 ห้อง A -…
การเฝ้าระวังโรค กรณีสถานการณ์โควิด
กรณีที่ 2 การเฝ้าระวังในผู้สงสัยติดเชื้อ/ผู้ป่วย
ผู้สงสัยติดเชื้อที่มีอาการ
หมายถึง ผู้ให้ประวัติว่ามีไข้หรือวัดอุณหภูมิกายได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป และ/หรือมีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างน้อยหนึ่งอาการ ดังต่อไปนี้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ร่วมกับ มีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยหนึ่งข้อ ดังต่อไปนี้ ในช่วงเวลา 14 วันก่อนวันเริ่มป่วย
2) ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว สถานที่แออัด หรือต้องติดต่อกับคนจำนวนมาก
3) ไปในสถานที่ชุมชน หรือ สถานที่ที่มีการรวมกันของกลุ่มคน เช่น ตลาดนัด
ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล หรือ ขนส่งสาธารณะ
1) เดินทางไปยัง หรือ มาจากหรืออยู่อาศัย ในพื้นที่เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
4) สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ
ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจรักษาสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
กรมควบคุมโรค ได้กำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย เพื่อให้ทราบขนาดของปัญหา ตรวจจัดการระบาด และติดตามแนวโน้มของการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มประชากรเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงได้อย่างทันเวลา โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการตรวจทางห้องปฏิบัติการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1.การตรวจสำหรับการเฝ้าระวังในกลุ่มต่างๆ
2.การตรวจสำหรับการสอบสวนระบาดวิทยา กรณีพบผู้ป่วยยืนยัน อย่างน้อย 1 รายขึ้น
3.การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาการติดเชื้อในกลุ่มประชากรเสี่ยงหรือสถานที่เสี่ยง นอกเหนือจากการเฝ้าระวังที่กำหนดไว้ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และข้อตกลงของ
สปสช. ระดับเขต
การตรวจเพื่อวัตถุประสงค์อื่น
กรณีที่ 1 การเฝ้าระวังที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
ผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.3 องศา
เซลเซียสขึ้นไป
ร่วมกับ มีประวัติเดินทางไปยัง หรือ มาจาก
ต่างประเทศ ผ่านช่องทางระหว่างประเทศใด ๆ ก็ตาม
มีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างน้อยหนึ่งอาการ ดังต่อไปนี้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บ
คอ ไม่ได้กลิ่น หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือ หายใจลำบาก
กรณีที่ 4 การป่วยเป็นกลุ่มก้อน เฝ้าระวังผู้มีอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อน
ผู้ที่มีความ
เชื่อมโยงทางระบาดวิทยา (Cluster) ตั้งแต่ 5 รายขึ้นไป ในสถานที่เดียวกัน ในช่วงสัปดาห์เดียวกัน โดยที่
ผลตรวจ rapid test หรือ PCR ต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ให้ผลลบจากทุกรายที่มีการส่งตรวจ
กรณีที่ 3 การเฝ้าระวังในบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ผู้ที่ให้ประวัติว่ามีไข้หรือ วัดอุณหภูมิ
กายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
หรือมีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างน้อยหนึ่งอาการ
ดังต่อไปนี้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก
หรือ มีภาวะปอดอักเสบ ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจรักษาสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วย/ผู้สงสัยว่าป่วยฯ
ระบบการรายงานการระบาด
ขั้นตอนการดำเนินงาน
หน่วยบริการ/โรงพยาบาลทุกสังกัด ลงทะเบียนผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคทุกราย ในระบบรายงานโควิด-19 และออกรหัสผู้ป่วย (SAT code) ซึ่งถือว่า เป็นการแจ้งผู้ป่วยตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 รวมถึงส่งตัวอย่างไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการที่ได้รับรับรองจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และขึ้นทะเบียนกับ สปสช
ห้องปฏิบัติการบันทึกผลการตรวจในระบบรายงานโควิด-19 ทุกราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ
พ.ศ. 2558
3.1 กรณีพบเชื้อ SARS-CoV-2 ให้บันทึกในโปรแกรมทันที(ภายใน 3 ชั่วโมง) และให้แนบผลรายงาน
การตรวจด้วย
3.2 กรณีไม่พบเชื้อ SARS-CoV-2 ให้บันทึกในโปรแกรมว่าไม่พบเชื้อ
หากพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ให้พิจารณาแยกผู้ป่วย* ตามแนวทางของกรมการแพทย์
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ให้ตรวจสอบติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ สอบสวนโรคกรณีที่พบผู้ป่วยยืนยัน และบันทึกผลการสอบสวนโรคในระบบรายงานโควิด-19 ตามแบบสอบสวนผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Novelcorona 2; ภาคผนวก ก.) ภายใน 12 ชั่วโมง และประสานแจ้งสำนักงานป้องกันควบคุมโรค (สคร.)/สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) ด้วย
นางสาวกาญจนา ลาวัล เลขที่ 60 ห้อง A