Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อและโครงกระดูก - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อและโครงกระดูก
การอักเสบและการเสื่อมของข้อ
โรคข้อเสื่อมสภาพ (osteoarthritis: OA)
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระดูก อ่อนผิวข้อเป็นสีเหลืองขุ่นมีรอยแตก
แรงกระทำกับข้อผ่านไปสู่กระดูกแตกออก
กระดูกอ่อนหลุดเข้าไปในน้ำไขข้อเยื่อบุข้ออักเสบ
อาการและอาการแสดง
อาการปวด มีลักษณะปวดตื้อ ๆข้อฝืด (stiffness) พบได้บ่อย จะมีการฝืดของข้อในช่วงเช้า และหลังจากพักข้อนาน ๆบวม และผิดรูป (swelling and deformity)
สาเหตุ
-Primary osteoarthritis ไม่มีสาเหตุนำมาก่อน
-Secondary osteoarthritis การเสื่อมสภาพของข้อที่เกิดจากมีความผิดปกติของข้อนำมาก่อน การได้รับการบาดเจ็บหรืออักเสบข้อนำมาก่อน
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)
สาเหตุ
ปัจจัยทางพันธุกรรม
โรคออโตอิมมูนหรือโรคภูมิแพ้เนื้อเยื่อตัวเอง เกิดแอนติบอดีเรียกว่า“ รูมาตอยด์แฟคเตอร์
การติดเชื้อโรคบางชนิด: ไวรัส
พยาธิสรีรวิทยา
การเปลี่ยนแปลงเริ่มที่เยื่อบุข้อ กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ
อักเสบของเยื่อบุข้อ เรียกว่า synovitis ข้อจะมีลักษณะบวมและร้อน
โรคเกาต์ (Gouty arthritis)
สาเหตุ
ร่างกายสร้างกรดยูริกมากเกินไป
ขับกรดยูริกออกได้ไม่ดี จากโรคไตพิการ หรือการใช้ยาบางประเภท เช่น ยาขับ ปัสสาวะ ยารักษาวัณโรคบางชนิด เป็นต้น
พยาธิสรีรภาพ
ข้อจะเกิดเนื้อเยื่อ pannus แผ่ปกคลุมกระดูกอ่อนผิวข้อท้าให้เกิดข้อติดแข็ง
ระยะเรื้อรังจะพบผลึกของเกลือโมโนโซเดียมไปก่อตัวตามส่วนต่าง ๆ ทำให้ข้อผิดรูป และเสียหน้าที่ในการทำงาน และเกิดก้อนที่เรียกว่า Tophi
เกิดการตกผลึกของกรดยูริกไปเกาะที่เยื่อหุ้มข้อ เอ็น และผิวข้อ
กระดูกอักเสบ (Osteomyelitis)
สาเหตุ
ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย
เกิดการแยกตัวของเยื่อหุ้มกระดูก
กระดูกอักเสบจะเกิดบริเวณ metaphysis
ชั้นในของเยื่อหุ้มกระดูกจะมี osteoblast เกิดการสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมา และแยกออก จากผิวกระดูก
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
สาเหตุ
การขาดเอสโตรเจนเมื่อหมดประจำเดือน
วัยสูงอายุบริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอ
ไม่สมดุลระหว่างการสร้างและการทำลายกระดูก
พยาธิสรีรภาพ
วัยหมดประจำเดือนจะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้มีการสลายกระดูก สร้างและการสลายกระดูกไม่สมดุล มวลกระดูกลดลง กระดูกบางไม่สามารถรับน้ำหนัก หรือแรงได้ตามปกติ
มะเร็งกระดูก (Malignant Bone Tumor)
สาเหตุ
การได้รับบาดเจ็บในอดีตที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเนื้องอก
มะเร็งของกระดูกแพร่กระจายมาจากที่อื่น metabolic bone tumors)
การได้รับสารก่อมะเร็ง
ข้ออักเสบติดเชื้อ (Septic arthritis, Pyogenic arthritis)
ลักษณะทางคลินิก
ข้ออักเสบบวมแดงชัดเจนคลำดูอุ่นและเจ็บข้อสะโพกอักเสบติดเชื้อมองไม่เห็นข้อบวมแดงเดินกระเผลกหรือเดินไม่ได้
ไข้สูงร่วมกับ acute monoarthritis ขยับข้อไม่ได้เคยได้รับบาดเจ็บมาก่อน
พยาธิสรีรภาพ
กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลาย เกิดเนื้อเยื่อพังผืด หนาตัวขึ้น
กรณีที่มีหนองจำนวนมาก ความกดดันในข้อสูงมาก และทำให้ข้อเคลื่อนหรือข้อหลุด
เกิดภาวการณ์อักเสบขึ้นที่บริเวณเยื่อหุ้มข้ออักเสบรุนแรงจะมีหนองเกิดขึ้นในข้อมาก
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ
โรคกล้ามเนื้อลีบ
ชนิดของโรคกล้ามเนื้อ
Facioscapulohumeral muscular dystrophy
Limb girdle muscular dystrophy
Becker muscular dystrophy
Duchenne’s Muscular Dystrophy
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis)
อาการและอาการแสดง
การทำงานกล้ามเนื้อใบหน้าลำคอ ปาก พูดไม่ชัด เคี้ยวหรือกลืนลำบาก
กล้ามเนื้อช่วยหายใจไม่มีแรงหายใจไอลำบากรุนแรงหายใจล้มเหลวได้
เป็น ๆ หาย ๆ โดยเฉพาะตาเช่น ตาตก (ptosis) และตาพร่ามัว (diplopia)
เนื้อเยื่ออ่อนได้รับอันตรายหรือบาดเจ็บ
Contusion or bruise
เกิดจากการแตกของเส้นเลือดฝอยมีจ้ำเลือดเกิดขึ้นบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
มีอาการปวดบวม ต่อมารอยจ้ำเลือดนี้จะค่อย ๆ หายไปและปรากฏเป็นสีน้ำตาลแทน เปลี่ยนเป็นสีเหลืองก่อนที่จะกลับคืนสู่สภาพปกติ
บาดเจ็บรุนแรงและมีเลือดออกที่เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมากอาจเป็นก้อนเลือดคั่ง (hematoma)
การฟกช้ำเกิดร่วมกับการเกิด sprains หรือ fractures
Sprain
พยาธิสรีรภาพ
แรงที่ทำให้เอ็นยึดข้อและเยื่อหุ้มข้อได้รับบาดเจ็บเป็นแรงดึงที่ทำให้โครงสร้างดังกล่าวฉีกขาดเพียงบางส่วน หรือข้อเคลื่อนทั้งหมดได้ และมีภาวะอักเสบเกิดขึ้น
สาเหตุ
เกิดจากการใช้งานมากเกินไป การไม่ได้ใช้ หรือมีการบิดของข้อมากเกินไปในขณะที่เคลื่อนที่ อาจเกิดที่ข้อใดก็ได้ แต่เกิดบ่อย คือ ที่ข้อเท้า และข้อเข่า
อาการและอาการแสดง
ปวดบวมและมีรอยฟกช้ำเกิดจากมีการฉีกขาดของหลอดเลือดฝอยเล็ก ๆเคลื่อนไหวข้อไม่ได้ตามปกติ
การรักษา
ให้ข้อที่ได้รับบาดเจ็บได้พักนิ่งเพื่อทุเลาปวด เช่น การใส่เฝือก หรือใช้ผ้ายืดพันบริเวณข้อนั้นยกส่วนนั้นให้สูงขึ้น เพื่อข้อยุบบวมลง และอาจประคบด้วยความเย็น
กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)
สาเหตุ
ความล้มเหลวเกี่ยวกับการสร้างกระดูก โดยทำให้ส่วนของกระดูกสันหลังหายไป และปล่องกระดูกสันหลังไม่มีช่องห่างระหว่างกระดูกสันหลังตามปกติ
เป็นแต่กำเนิด หรือจากประสาทกล้ามเนื้อ (neuromuscular)
อาการ
กระดูกสันหลังคดมาก ๆ เห็นได้ชัดเจน โดยมักเห็นจากด้านหลังว่ากระดูกสะบักสูง ต่ำ หรือใหญ่ลึกไม่เท่ากัน
อาการตัวเอียงเนื่องจากกระดูกสันหลังที่คดจะไปดันกระดูกซี่โครงให้บิดตัวผิดรูป
การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ และข้อต่อ
ข้อเคลื่อน และข้อหลุด
(Subluxation and Dislocation)
สาเหตุ
แรงที่กระทำที่ข้อแล้วทำให้ผิวของข้อเคลื่อนจากตำแหน่งเดิม
ตำแหน่งที่ข้อเคลื่อนและข้อหลุดได้บ่อยคือ ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อไหล่
พยาธิสรีรภาพ
การเคลื่อนไหวของข้อทำได้จำกัด
ทำให้เส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียงได้รับบาดเจ็บและมีปัญหาเการเคลื่อนไหว
เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือด
การรักษา
เมื่อมีข้อเคลื่อนเกิดขึ้นต้องรีบนำเข้าที่โดยเร็วที่สุด ควรใช้การเข้าเฝือกปูนหรือยึดไว้ เพื่อให้บริเวณ ข้อนั้นได้พักอยู่นิ่งๆ จนกระทั่งเนื้อเยื่อบริเวณนั้นเริ่มหาย ใช้เวลา 3 - 4 อาทิตย์เพื่อไม่ให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้น ได้รับอันตราย
ป้องกันการตายของเนื้อเยื่อ และป้องกันไม่ให้เส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณนั้นถูกทำลาย
อาการ
ปวดบวมและเคลื่อนไหวข้อไม่ได้ตามปกติ
การผิดรูปของกระดูกส่วนที่มีข้อเคลื่อน
ประเมินได้โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการถ่ายภาพรังสี
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อน เช่น ข้ออักเสบติดเชื้อ ข้อเคลื่อนซ้ำ ข้อติดยึด ข้อหลวม และข้อเสื่อมสภาพ
กระดูกหัก
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้อหดเกร็ง อาการชา สูญเสียการรับความรู้สึกจากการที่เส้นประสาทถูกกด การเคลื่อนไหวลดลง
มีเสียงแปลก ๆ จากการกระทบของกระดูก (crepitus) กระดูกผิดรูป
ปวดบวมบริเวณแผลที่ได้รับบาดเจ็บ
พยาธิสรีรวิทยา
ตำแหน่งเดิม เกิดกระดูกเกยกันที่ปลายกระดูก อาจมีเลือดออก เกิดการตาย หรือมีกระบวนการอักเสบ และหลอดเลือด
ขยายตัว การหาย (healing) ของกระดูกที่หักจะขึ้นอยู่กับการมีเลือดมาเลี้ยงเพียงพอ และการพักนิ่งของกระดูกที่หัก
กระดูกหักเกิดขึ้นจะทำให้กล้ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูกฉีกขาด หดเกร็ง และดึงรั้งกระดูกชิ้นที่หักให้เคลื่อนจาก
การวินิจฉัยและการรักษา
การจัดกระดูกให้เข้าที่ ให้หยุดนิ่ง
ลดอาการปวดป้องกันความพิการที่เกิดจากปลายกระดูกหักไปทำลายหลอดเลือดหรือเส้นประสาท
แรงที่ทำให้กระดูกหัก
(Direct force) เกิดการแตกหักของกระดูกจากจุดรับแรงนั้น ๆ
(Indirect force) เป็นแรงที่กระท้าต่อกระดูก แต่เป็นคนละตำแหน่งกับการ แตกหักของกระดูก
ภาวะแทรกซ้อนของกระดูกหัก
Volkmann’s contracture เป็นอาการต่อจาก compartment syndrome ทำให้เกิดการตายของกล้ามเนื้อ และถูกแทนที่ด้วยพังผืด แขนขาบริเวณที่หักผิดรูป
compartment syndrome กล้ามเนื้อบริเวณกระดูกที่หักมีความดันสูง หลอดเลือดถูกกด ทำให้เนื้อเยื่อ ขาดเลือด และออกซิเจนไปเลี้ยง
ชนิดของกระดูกหัก
Complete fracture กระดูกหักอย่าง สมบูรณ์หรือหักเป็น 2 ท่อน รอยต่อที่หักจะเคลื่อนออกจากกัน
lncomplete fracture กระดูกหักแต่ยังอยู่เป็นลักษณะชิ้นเดียว รอยต่อที่หักจะไม่เคลื่อนออกจากกัน