Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มงคลสูตรคำฉันท์ - Coggle Diagram
มงคลสูตรคำฉันท์
แปลบท
จิรสฺสํ จินฺตยนฺตาปี เนว ชานิสุ มงฺคลํจกฺกวาฬสหสฺเสสุ ทสสุ เยน ตตฺตกํ กาลํ โกลาหลํ ชาตํ ยาว พฺรหฺมนิเวสนา
-
แล้วยังบ่รู้มง - คละสมมโนมาลย์ ด้วยกาละล่วงนาน บ่มิได้ประสงค์สม ได้เกิดซึ่งโกลา - หละยิ่งมโหดมก้องถึง ณ ชั้นพรหม ธสถิตสะเทือนไป
คุณค่า
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
เนื้อความในมงคลสูตรคําฉันท์แม้จะมีที่มาจากคาถาภาษาบาลีและคำศัพท์ในทางพระพุทธศาสนาอยู่เป็นอันมาก แต่ก็เป้นคําที่เข้าใจความหมายได้ไม่ยากเช่น โสตถิ ภควันต์ อภิบูชนีย์ชนนอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัวยังทรงสา มารถถ่ายทอดและเรียบเรียงเนื้อความเป็นภาษาไทยได้อย่างเรียบง่า ยและทรงเลือกสรรถ้อยคําได้สอดคล้องกับลีลาจังหวะของบทประพัน ธ์คุณค่าด้านสังคมมงคลสูตรคําฉันท์ เป็นวรรณคดีที่มีที่มาจากมงคลสูตร ซึ่งเป็นคําสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ทุกคน โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนมงคลสูตร ๓๘ ประการทุกคนได้ยึดถือเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตอย่างเหมาะสม ย่อมส่งผลให้สังคมเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย
คุณค่าด้านสังคม
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่มีมาจาก “มงคลสูตร” ซึ่งเป็นคำสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ทุกคนโดยเฉพาะพุทธศาสนิกชน เมื่อได้นำไปปฏิบัติ ย่อมจะทำให้ชีวิตประสบกับ “มงคล” หรือความสุขอย่างแท้จริง แนวทางต่างๆเน้นที่การนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมด้วยตนเองเป็นสำคัญ นอกจากนี้หากทุกคนได้ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม ย่อมส่งผลให้สังคมเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย
ใจความสำคัญ
คาถาบทที่ ๑ ไม่ควรคบคนชั่วเพราะจะพาให้เราประพฤติชั่วไปด้วย ควรคบคนดีมีความรู้เพราะจะนำเราไปสู่ความสำเร็จ และควรบูชาคนดี
คาถาบทที่ ๒ ควรปฏิบัติตนและอยู่ในที่ที่เหมาะที่ควรแห่งตน ทำบุญไว้แต่ปางก่อน
คาถาบทที่ ๓ รู้จักฟัง รู้จักพูด มีวินัย ใฝ่ศึกษาหาความรู้
คาถาบทที่ ๔ ดูแลบิดามารดา บุตร ภรรยาเป็นอย่างดี ทำงานด้วยความตั้งใจ
คาถาบทที่ ๕ รู้จักให้ทาน ช่วยเหลือญาติพี่น้อง ทำแต่ความดี มีสัมมาอาชีพ
คาถาบทที่ ๖ ไม่ประพฤติชั่ว ไม่ละเลยในการประพฤติ เว้นการดื่มน้ำเมา
คาถาบทที่ ๗ ให้ความเคารพผู้ควรเคารพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี มีความกตัญญูรู้คุณ และ รู้จักฟัง ธรรมในโอกาสอันควร
คาถาบทที่ ๘ มีความอดทน ว่านอนสอนง่าย หาโอกาสพบผู้ดำรงคุณธรรมเพื่อสนทนาธรรม
คาถาบทที่ ๙ พยายามกำจัดกิเลส ประพฤติพรหมจรรย์ เข้าใจในความเป็นจริงของชีวิตเพื่อจิตสงบถึงซึ่งนิพพาน
คาถาบทที่ ๑๐ มีจิตอันสงบ รู้จักปล่อยวางไม่หวั่นไหวกับสิ่งที่มากระทบ
คาถาบทที่ ๑๑ เทวดาและมนุษย์ปฏิบัติสิ่งที่เป็นมงคลเหล่านี้แล้วจะไม่พ่ายแพ้ให้แก่ข้าศึกทั้งปวง
-
ความเป็นมา
เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ ๒ ชนิดคือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
ถอดความ
เทวดาและมนุษย์ได้คิดเป)นเวลานาน แต่ก็ยังไม่รู้ว่ามงคลคืออะไรกันแน่ จนเวลาผ่านไปนานก็ได้เกิดโกลาหลขึ5นสะเทือนไปถึงชั้นพรหมขยายความ มนุษย์และเทวดาจากหลายภพหลายประเทศได้คิดกันมาเป)นเวลานาน แต่ก็ยังไม่รู้ว่ามงคลคืออะไรสมใจสักที ด้วยเวลาที่ผ่านไปนานก็ยังไม่ได้รู้ตามที่ต้องการ ทําให้เกิดความโกลาหลวุ่นวายอย่างมาก ถกเถียงกันสนั่นไปถึงสวรรค์ชั้นพรหม
จุดมุ่งหมาย
เพื่อให้ตระหนักวสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมา จากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทําใ ห้เกิดสิริมงคลแก่เราได้ นอกจากตัวเราเอง
ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหา กษัตริย์รัชกาลที่ ๖ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ เและ เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๕พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม ๑๕ ปี
เรื่องย่อ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการไว้ในมงคลสูตร ซึ่งเป็นพระสุตรสําคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฎในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายหมวดขุททกปาฐะ พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี มงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยอํานาจคําถาม คือพระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์เรื่องมงคล เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์ ที่มีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี ท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล ๓๘ ประการ ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้งหนึ่ง