Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 หลักการพยาบาลในการให้ยาแก่ผู้ป่วย, image, image, image - Coggle…
บทที่ 8 หลักการพยาบาลในการให้ยาแก่ผู้ป่วย
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
Rational Drug Use (RDU)
การใช้ยาที่ไม่เหมาะสม
▪ไม่สบายต้องฉีดยาจึงจะหาย
▪ไม่มีแรงต้องให้น้ำเกลือ
▪หยุดยาเองหรือปรับยาเอง
▪กินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ
การใช้ยาสมเหตุผล คืออะไร?
ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพโดยใช้ยาใน
▪ ขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
▪ ระยะเวลาที่เหมาะสม
▪ มี่ค่าใช้จ่ายต่อชุมชนและผู้ป่วยน้อยที่สุด
ความปลอดภัยในการบริหารยาของพยาบาล
จัดยาอย่างมีสติ และสมาธิ
จัดยาอย่างถูกต้อง เช่น 6R ,7R,10R
ถ้าไม่แน่ใจหรืออ่านไม่ออกให้ซักถาม และพูดคุย
ปรับปรุงข้อมูลของยาที่จะให้แก่ผู้ป่วยอยู่เสมอ
ชี้บางสิ่งต่างๆให้ถูกต้องเพื่อสร้างความปลอดภัย
รายงานความเสี่ยง หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เมื่อเกิดขึ้น
เตรียมการแก้ไขให้พร้อมเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในการบริหารยา ตามหลัก 10 R
Right drug/Right Medicine: การให้ยาถูกชนิด
Right Dose: ให้ยาขนาดถูกต้อง
Right time : ให้ตรงตามเวลา
Right route: ให้ถูกทาง
Right patient : ให้ผู้ป่วยถูกคน
Right education : การให้ความรู้ถูกต้อง
Right documentation : บันทึกถูกต้อง
Right to refuse : สิทธิในปฏิเสธยา
Right assessment :
ตรวจสอบประวัติการแพ้ยาและประเมินถูกต้อง
Right drug-drug interaction and evaluation :
การตรวจสอบปฏิกิริยาระหว่างกันของยา และประเมินถูกต้อง
ความรู้พื้นฐาน เรื่องยา
ชื่อทางเคมี (Chemical name) คือชื่อที่บอกถึงส่วนประกอบทางเคมีของยาเช่น N-acetyl-para-aminophenol เป็นชื่อทางเคมีของ Acetaminophen
ชื่อสามัญ (Generic name) เป็นชื่อที่ตั้งสำหรับยาแต่ละชนิดตั้งแต่เริ่มต้นผลิตออกมาก่อนที่ จะเปลี่ยนเป็นชื่อทางการ ส่วนใหญ่จะเป็นชื่อเดียวกับชื่อทางการ เช่นAcetaminophen
ชื่อทางการ (Official name) เป็นชื่อที่ผ่านการเห็นชอบอย่างเป็นทางการและพิมพ์อยู่ในตำรับยา
ชื่อทางการค้า (Trade name or Brand name) เป็นชื่อที่บริษัทผู้ผลิตตั้งขึ้นและจดทะเบียนไว้ สำหรับยาแต่ละชนิด เช่น Paracap® หรือ Tylenol® เป็นต้น
วิธีการให้ยา
1) การให้ยาทางปาก การให้ยาทางสายยาง
• การให้ยาทางปาก
ยารับประทานก่อนอาหาร หมายถึง รับประทานยาก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที ถึง 1 ชม.
ยารับประทานหลังอาหาร หมายถึง รับประทานยาหลังอาหารอย่างน้อย 15 นาที
ยาที่รับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที เป็นยาที่มีฤทธิ์เป็นกรด
ยาระหว่างมื้อเป็นยาที่ต้องรับประทานก่อนหรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง
ยารับประทานก่อนนอน หมายถึง ให้รับประทานก่อนนอนตอนกลางคืน
2) การให้ยาบริเวณผิวหนัง
1) ยาที่เป็นของเหลวที่ตกตะกอน เขย่าให้เข้ากันใช้ผ้ากอซหรือสำลีชุบยาทา
2) ยาพ่น เขย่าตัวยาให้เข้ากันถือขวดยาเหนือบริเวณที่จะพ่นประมาณ 3-6 นิ้ว
3) ยาที่มีส่วนผสมของน้ำมันอุ่นในน้ำร้อนเทยาบนฝ่ามือก่อนทา
4) ยาขี้ผึ่งใช้ไม้ผายหรือผ้ากอซป้ายยาออกจากภาชนะ ทาลูบเป็นทางยาวตามแนวขน
5) ยาผง ให้เทยาลงบนผ้ากอซหรือมือ แล้วขึงหา
3) การเหน็บยาทางช่องคลอด/ทวารหนัก เช่น
การเหน็บยาทางช่องคลอด
1) จัดท่าผู้ป่วยนอนหงายชันเข่าพร้อมทั้งคลุมผ้า
2) ยาประเภทโม้เจล หรือครีม ให้ใช้หลอดใส่ยา บรรจุยาแล้วสอดเข้าไปในช่องคลอดลึก ประมาณ 1.5-2 นิ้วแล้วดันยาให้หมดจึงดึงหลอดใส่ยาออก
3) ยาเม็ด ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับยา วางบริเวณปากช่องคลอด และใช้นิ้วชี้ดันยาเข้าไปในช่องคลอด
4) จัดท่าผู้ป่วยนอนหงาย ประมาณ 5-10 นาที
4) การให้ยาสูดดมทางปาก / จมูก เช่น
•การสูดดมทางปาก
1) แนะนำและฝึกให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆก่อนสูดยา
2) นำกล่องยาคว่ำลงในเครื่องพ่นยาเขย่า4-5 ครั้ง
3) ใช้นิ้วหัวแม่มือรองรับด้านล่างเครื่องพ่นยาบริเวณริมฝีปาก นิ้วชี้และนิ้วกลางอยู่ด้านบนกล่องยา
4) ให้ผู้ป่วยปิดปากให้สนิทแล้วกดลงขณะผู้ป่วยเริ่มหายใจเข้าขณะพ่นยาให้ผู้ป่วยสูดหายใจลึกๆ
5) การหยอดหู/จมูก/ตา/ป้ายตา เช่น
• การหยอดยาทางหู
1) ให้นั่งหรือนอนเอียงศรีษะให้ด้านที่จะหยอดอยู่ด้านบน
2) เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ให้ดึงใบหูลงและไปข้างหลังผู้ใหญ่ให้ดึงใบหู
ขึ้นบนและไปข้างหลัง
3) บีบน้ำยาไปตามผนังช่องหู ประมาณ 2-3 หยด ใช้สำลีกดเบาๆ
บริเวณใกล้รูหูด้านหน้า
4) ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมประมาณ 5-10 นาที
6) การฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง
• แทงเข็มทำมุม 5 -15 องศากับผิวหนัง
• แทงเข็มเข้าไปเพียงปลายตัดเข็มเลยเข้าไปในผิวหนังเล็กน้อย ค่อย ๆ ดันยาเข้าไปจนมีตุ่มนูนขึ้นมาประมาณเมล็ดถั่วเขียว (0.5 ซม.)
7) การฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง
• ตรึงผิวหนังให้ตึงแทงเข็มทำมุม 60-90องศา ขึ้นอยู่กับกล้ามเนื้อที่จะฉีด
• แทงเข็มลึก 1-1.5 นิ้ว ทดสอบว่าปลายเข็มไม่อยู่ในหลอดเลือด
• ถ้าไม่มีเลือดย้อนกลับ ให้เดินยาอย่างช้าๆ สม่ำเสมอ
8) การฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อสะโพก (Gluteal muscle)
กล้ามเนื้อต้นแขน(Deltoid muscle)
กล้ามเนื้อต้นขา (Vastus lateralis muscle)
9) การฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ
• จับรวบเนื้อเยื่อบริเวรที่จะแทงเข็มเข้าหากัน
• แทงเข็มทำมุม 45-90 องศา ลึกตามขนาดของเข็ม และตามความหนาของชั้นไขมัน