Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 บทบาทของพยาบาลในการดูแลช่วยเหลือบุคคลที่มีบาดแผล - Coggle Diagram
บทที่ 6 บทบาทของพยาบาลในการดูแลช่วยเหลือบุคคลที่มีบาดแผล
บาดแผล
หมายถึง เนื้อเยื่อของร่างกายได้รับบาดเจ็บ อาจมีสาเหตุจากถูกของมีคม ถูกกระแทก ถูกความร้อนจัดหรือเย็นจัด ถูกสารเคมี รังสี ซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุ หรือเป็นบาดแผลจากการผ่าตัดก็ได้ มีผลทำให้เนื้อเยื่อฉีกขาด หรือถูกทำอันตรายได้
การดูแลผู้ป่วยที่มีบาดแผลและการอักเสบ
การพักผ่อนร่างกายและอวัยวะที่มีบาดแผลให้มากที่สุดเพราะการพักผ่อนจะลดกระบวนการเผาผลาญภายในเซลล์ที่ไม่จำเป็น
การทำความสะอาดบาดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อและส่งเสริมกระบวนการหายของแผล
การส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตมายังบาดแผลโดย
4.การยกบริเวณที่มีบาดแผลไว้สูง เพื่อให้เลือดดำและน้ำเหลืองไหลกลับสะดวกลดอาการบวม
การลดความเจ็บปวดจากแผล โดยการให้ยาบรรเทาปวด
หลักการทำแผล
1 ต้องล้างแผลให้สะอาดโดยใช้เครื่องมือ และสารที่ปราศจากเชื้อปฏิบัติโดยยึดหลักปราศจากเชื้อในการทำแผล เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคบนบาดแผล
1.2 กรณีที่มีแผลหลายแห่ง ให้ทำแผลที่สะอาดกว่าก่อนจึงจะทำแผลส่วนที่สะอาด
น้อยกว่า
1.3 กำจัดเนื้อตายหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
1.4 แผลที่มีของเหลวตกค้าง เช่น เลือด หนอง เป็นต้น ต้องเช็ดออกให้มากที่สุด
1.5 ในขณะทำแผลให้ระมัดระวังอย่าให้แผลกระทบกระเทือนจนเกินไป ต้องปฏิบัติด้วยความนุ่มนวล
1.6 ก่อนปิดแผลถ้ามีเลือดออกต้องห้ามเลือดก่อน มิฉะนั้นเลือดจะแห้งกรังจะทำให้การเปิดแผลครั้งต่อไปยาก
วัตถุประสงค์ของการทำแผล
ส่งเสริมให้สภาวะที่ดีเหมาะแก่การงอกของเนื้อเยื่อ
ดูดซึมสิ่งขับหลั่ง เช่น เลือด น้ำเหลือง หนอง เป็นต้น
จ ากัดการเคลื่อนไหวของแผลให้อยูุ่นิ่ง
ให้ความชุ่มชื้นกับพื้นผิวของแผลอยู่เสมอ
ป้องกันแผลหรือเนื้อเยื่อที่เกิดใหม่จากสิ่งกระทบกระเทือน
ป้องกันแผลปนเปื้อนเชื้อโรคจากอุจจาระ
ชนิดของการทำแผล
การทำแผลชนิดแห้ง (Dry dressing) หมายถึง การทำแผลที่ไม่ต้องใช้ความชุ่มชื้นช่วยในการหายของแผล ใช้ในการทำแผลที่สะอาด ปากแผลปิด เช่น แผลผ่าตัดซึ่งเป็นแผลที่สะอาดและเย็บไว้
การท าแผลชนิดเปียก (Wet dressing) หมายถึง การทำแผลที่ต้องใช้ความชุ่มชื้นช่วยในการหายของแผล ใช้ในทำแผลเปิด การทำแผลชนิดนี้จะใช้เมื่อแผลมีการสูญเสียเนื้อเยื่อ หรือมีการหายแบบทุติยภูมิเพื่อช่วยในการขจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว เช่น แผลกดทับแผลมีหนอง
การทำแผลที่มีท่อระบาย ท่อระบาย (Drain) ที่ใช้อาจเป็นชนิด Penrose drainหรือ tube drain ท่อระบายนี้อาจใส่ไว้ในชั้นเนื้อเยื่อ หรือใส่ลึกเข้าไปในช่องต่าง ๆ ของร่างกาย จุดประสงค์หลักในการใส่
ท่อระบายก็เพื่อเป็นช่องทางให้ของเหลวเช่น เลือด หนอง น้ำย่อยน้ำดี เป็นต้น ออกจากร่างกาย ทำให้แผลหายเร็ว
ชนิดของการทำแผล
การทำแผลที่ต้องใช้แรงกด (Pressure dressing) การทำแผลด้วยวิธีนี้จะใช้สาหรับแผลที่มีช่องว่างใต้แผลมาก เช่น แผลจากการทำskin flap หรือแผลที่มีเลือดซึมออกมาเรื่อย ๆหลังจากทำแผล
การชะล้างแผล (Wound irrigation) การชะล้างแผลจะทำกับแผลเปิดที่มีความลึกมีหนองไหลออกจากแผล และมีเศษเนื้อตายติดอยู่กับแผล
การตัดไหม การตัดไหม (Stitch off) หมายถึง การตัดวัสดุที่เย็บแผลไว้เพื่อดึงรั้งเนื้อเยื่อให้มาติดกันการตัดไหมนี้เพื่อป้องกันการอักเสบของแผลจากวัสดุที่เย็บในวันที่ 7-10 หลังผ่าตัด ทั้งนี้ต้องพิจารณาต าแหน่งที่เย็บแผลด้วย เช่น แผลผ่าตัดบริเวณหน้าและลำคอจะตัดไหมประมาณวันที่ 5-6
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแผล
ชุดทำแผลปราศจากเชื้อ (sterile dressing set) ประกอบด้วย ปากคีบปราศจากเชื้อชนิดไม่มีเขี้ยว ปากคีบปราศจากเชื้อมีเขี้ยว ถ้วยใส่สารละลาย สำลี และผ้าก็อซน้ำยาที่ใช้ทำแผลพลาสเตอร์
แอลกอฮอล์ 70% (70% Alcohol) ใช้สำหรับเช็ดผิวหนังรอบ ๆ
น้ำเกลือ 0.9% (0.9% Normal Saline/ Sodium chloride/ NaCl/ 0.9% normal saline) นิยมใช้ล้างแผลเพราะมีความเข้มข้นใกล้เคียงกับระดับออสโมลาริตี(osmolarity)
การทำแผลในอุดมคติ
ทำให้ง่าย
เหมาะกับอวัยวะที่บาดเจ็บ
มั่นคงแต่ยืดหยุ่นได้
เหมาะสมกับราคา
สามารถซึมซับสิ่งคัดหลั่งได้ดี
ไม่ท าอันตรายต่อเนื้อเยื่อที่งอกขึ้นใหม่
ไม่ดูน่าเกลียดก่อให้เกิดความมั่นใจเมื่อต้องปรากฏต่อสายตาผู้อื่น