Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาการรับประทานอาหารและน้ำ การขับถ่ายอุจจาระ…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาการรับประทานอาหารและน้ำ การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการรับประทานอาหารและน้ำการป้อนอาหาร
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ได้รับอาหารเหมาะสมกับโรค
ช่วยเหลือและให้กําลังใจผู้ป่วยขณะรับประทานอาหาร
4.เพื่อสอนให้ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตังเองไม่ได้และผู้ป่วยตาบอดรับประทานอาหารเองได้
การใส่สายจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร Nasogastric tube / NG tube
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นทางให้อาหาร น้ำหรือยา
เป็นการลดแรงดันจากกระเพาะอาหารและลําไส้
เป็นทางเพิ่มแรงดันเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร เพื่อยับยั้งการมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลําไส้ส่วนต้น
เพื่อล้างในกระเพาะอาหาร
เพื่อดูดเอาสิ่งที่ค้างในกระเพาะอาหารไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ
อุปกรณ์ การให้อาหารทางสายยาง
ถาดสี่เหลี่ยม 1 ใบ สําหรับใส่ของใช้
สาย Nasogastric tube disposable
กระบอกฉีดยาหัวโต
K-Y Jelly หรือ Xylocaine Jelly
ชามรูปไต 1 ใบ
ผ้ากอซ 1-2 ผืน
ผ้ากันเปื้อน 1 ผืน
ไม้พันสําลี ชุบ N.S.S. 0.9%
หูฟัง (Stetchtoscope)
น้ําดื่ม 1 แก้ว พร้อมหลอดดูด
ถุงมือสะอาด 1 คู่
การให้อาหารทางสายยาง (feeding)
หมายถึง การให้อาหารเหลวผ่านทางสายกระเพาะอาหารโดยใส่เข้าทางจมูกหรือปาก ลงสู่กระเพาะอาหารโดยตรง
วัตถุประสงค์การให้อาหาร
เพื่อให้อาหารและนน้ำแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการให้อาหารทางปากแต่การทํางานของระบบทางเดินอาหารปกติ
เพื่อป้องกันและบําบัดภาวะขาดสารอาหาร
อุปกรณ์
ถาดสําหรับใส่ของใช้ 1 ใบ
หูฟัง
ชามรูปไต
แก้วใส่น้ําสะอาด 50-100 ซี.ซี.
อาหารเหลวตามตามแผนการรักษา
กระบอกฉีดยา
ผ้ารองกันเปื้อน 1 ผืน
สําลีชุบ N.S.S 0.9 %
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
การขจัดของเสียออกจากร่างกายมีหลายทาง ระบบทางเดินอาหารทําหน้าที่ขจัดของเสียโดยการขับถ่ายอุจจาระการย่อยอาหารเริ่มเล็กน้อยตั้งแต่ในปากกระเพาะอาหาร อาหารส่วนใหญ่ถูกย่อยที่ลําไส้เล็ก
จนเสร็จสมบูรณ์
การสวนอุจจาระ (Enemas)
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยขับถ่ายอุจจาระออกจากลําไส้
เพื่อล้างลําไส้ใหญ่ให้สะอาดก่อนการสวนเก็บ
เพื่อล้างลําไส้ใหญ่ให้สะอาดในรายที่เตรียมผ่าตัด
หลักทั่วไปและข้อคํานึงในการสวนอุจจาระ
การสวนอุจจาระชนิดปล่อย (Cleansing Enemas หรือ Non – Retention Enemas)
1 อย่าสวนอุจจาระบ่อยเกินไป เพราะจะทําให้ติดนิสัย
2 ต้องให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายเสมอ
3 ผู้ที่คลอด ผู้ที่เป็นริดสีดวงทวาร เด็กเล็ก ๆ หรือผู้ที่มีการเย็บบริเวณฝีเย็บ ต้องใช้สายสวนในการระบายก๊าซ ห้าม ใช้หัวสวน
ขณะสวนอุจจาระ ผู้ป่วยป่วยมีอาการปวดมาก มีเลือดออกมากหรือมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลียคล้ายจะเป็นลม ต้องหยุดทํา รายงานหัวหน้าทีม
การสวนผู้ที่เป็นริดสีดวงทวาร เมื่อถ่ายเสร็จแล้วให้นั่งแช่กัน (Hot sitz bath) ด้วย
ในรายที่ไม่สามารถเก็บน้ําไว้ได้ ให้นอนบนหม้อนอนในขณะที่สวน
การสวนปัสสาวะ (Catheterization)
การสวนปัสสาวะแบบเป็นระยะ ๆ หรือเป็นครั้งคราว (Intermittent catheter)
การสวนปัสสาวะแบบเป็นระยะ ๆ หรือเป็นครั้งคราว เป็นการสอดใส่สายสวนที่ปราศจากเชื้อผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายปัสสาวะให้ไหลออกสู่ภายนอกและถอดสายสวนออกเมื่อปัสสาวะไหลออกหมด
ข้อบ่งชี้
ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะเองไม่ได้เนื่องจากบริเวณไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะเองไม่ได้ภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากปัสสาวะครั้งสุดท้ายเนื่องจากท่อ
ปัสสาวะได้รับการบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือน
ต้องการให้กระเพาะปัสสาวะว่างในกรณีที่ต้องทําการผ่าตัดหรือเตรียมตรวจ
วัดปริมาณของปัสสาวะค้าง (Residual urine)
การสวนปัสสาวะค้างไว้ (Retention of urethral catheter)
การสวนปัสสาวะค้างไว้ เป็นการสอดใส่สายสวนที่ปราศจากเชื้อผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายปัสสาวะให้ไหลออกสู่ภายนอกและคาสายส่วนไว้เพื่อให้ปัสสาวะไหลออกได้
ข้อบ่งชี้
ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะเองไม่ได้เนื่องจากมีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
ผู้ป่วยอาการหนักที่ต้องได้รับการประเมินจํานวนปัสสาวะต่อชั่วโมงเพื่อประเมินการทํา
หน้าที่ของไต
ผู้ป่วยที่มีปัสสาวะค้างจํานวนมากกว่า 50 มิลลิลิตรและได้รับการสวนปัสสาวะทิ้งมากกว่า2 ครั้งแล้วไม่ดีขึ้นและไม่สามารถแก้ไขโดยวิธีการอื่น ๆ