Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 พลวัตรของภาษาและวัฒนธรรม ในสังคมไทย, 60206464 นางสาวกัญญาลักษณ์…
บทที่ 8
พลวัตรของภาษาและวัฒนธรรม
ในสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเวลาหรือขึ้นอยู่กับเวลาเสมอ การเปลี่ยนแปลงนั้น
กล่าวถึงระยะเวลาหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปอีกระยะเวลาหนึ่ง เวลาจึงเป็นสิ่งสาคัญที่จะกำหนดว่า
จะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ในเรื่องใดก็ตามที่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ข้อสมมติของการ
เปลี่ยนแปลงของนิสเบท
การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ
มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
การเปลี่ยนแปลงเป็นการต่อเนื่อง
การเปลี่ยนแปลงเป็นแบบเดียวกัน
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็น
แนวคิดของ
อัลวิน ทอฟเลอร์
คลื่นลูกที่ 1 สังคมเกษตรกรรม เริ่มต้นประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผลมาจาก
การปฏิวัติเกษตร โดยมีเครื่องชี้วัดความยิ่งใหญ่หรือความเจริญก้าวหน้าของสังคม
คลื่นลูกที่ 2 สังคมอุตสาหกรรม เริ่มเมื่อประมาณ ค.ศ.1650-1750 เป็นผลมาจาก
การปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการใช้เครื่องจักรกล มีโรงงานขนาดใหญ่ผลิตสินค้าจำนวนมากเพื่อมวลชน
คลื่นลูกที่ 3 สังคมแห่งเทคโนโลยี เริ่มต้นราว ค.ศ.1955 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน จัดว่าเป็นยุคแห่ง
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการต่อยอดทางความรู้อย่างสูง
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
ของปรัชญา เวสารัชช์
ปัญหาการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
ปัญหาค่าใช้จ่ายที่ต้องมีในการสร้างความเปลี่ยนแปลง
ปัญหาอันเป็นผลต่อเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง
ปัญหาความไม่สมดุลของการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมและวัฒนธรรม
ปัจจัยทางชีววิทยา (Biological) หมายถึง องค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวกาหนดสมาชิกตัวประกอบ
การเลือก คุณภาพทางด้านพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ จึงมีความแตกต่างกันไป
ปัจจัยทางประชากร (Population) การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรและ
องค์ประกอบของประชากรนับว่ามีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยทางกายภาพ (Physical) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
ปัจจัยทางวัฒนธรรม (Cultural) จากการที่บุคคลติดต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อมส่งผลให้
การขยายตัวของวัฒนธรรม การเลียนแบบและการหยิบยืมวัฒนธรรม
ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี (Technological) การนำเอาเทคโนโลยีหรือการประดิษฐ์สิ่งใหม่
มาใช้จะเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในสถาบันและประเพณีบางอย่าง
ปัจจัยด้านขบวนการสังคม (Social Movement) นักสังคมวิทยาบางกลุ่ม
พยายามอธิบายให้เห็นว่าขบวนการสังคมทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ปัจจัยทางจิตวิทยา (Psychological) นักจิตวิทยาส่วนมากถือว่าปัจจัยนี้มีความสาคัญอย่างมากที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยอื่น ๆ (Other)
การเปลี่ยนแปลงทางภาษา
ลักษณะการเปลี่ยนแปลง
ของภาษา
การเปลี่ยนแปลงของภาษาเดียวกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน
การเปลี่ยนแปลงของภาษาเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกัน
ภาษาไทยยุคใหม่
กับโลกสมัยที่เปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงในภาษาไทยสมัยใหม่ภาษาเปลี่ยนแปลงในลักษณะของ
การออกเสียง คำศัพท์ รูปแบบ และลักษณะอื่นอื่นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป
สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาษาไทยสมัยใหม่การเปลี่ยนแปลงภาษา
มีสาเหตุมาจากการตอบสนองความต้องการของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมภาษาวิบัติ หรือ ภาษาอุบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทย
ที่มีการเปลี่ยนแปลง และไม่ตรงกับกับภาษามาตรฐานตามหลักภาษาไทยในด้านการสะกดคำ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงของภาษา
ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษา คือ ความสมมาตร (Symmetry)และ
ความประหยัด หมายถึงการที่ภาษาจะไม่อนุญาตให้คำที่มีรูปเหมือนกัน 2 รูป มีความหมายเหมือนกันทุกประการ
ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษา คือ ระบบการสื่อสารและเทคโนโลยีการพิมพ์
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ และการปฏิรูปการศึกษา สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ
ความอยู่รอดของ
ภาษาไทยในยุคดิจิตอล
ปลูกฝังวัฒนธรรมรักการอ่าน พ่อแม่ผู้ปกครองควรปลูกฝังวัฒนธรรมรักการอ่านให้กับบุตรหลานตั้งแต่เล็ก ๆ
ปลุกจิตสำนึกในการหวงแหนภาษาไทยและรู้กาลเทศะการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องและเหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญ
เปลี่ยนแปลงตัวเอง เมื่อเรารู้ว่าคำใดใช้ผิดหรือถูก คำใดควรหรือไม่ควรใช้
ภาษาไทยในยุค 4.0
“ภาษาไทย 1.0” คือ ยุคที่การเรียนภารสอนภาษาไทยมุ่งเน้นที่การอ่าน การเขียน
และการแต่งคำประพันธ์ ดังจะเห็นได้จากภาษาไทยในสมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
“ภาษาไทย 2.0” คือ ยุคที่มีการอธิบายภาษาไทยโดยอาศัยโครงสร้างของ
ภาษาอังกฤษตามแบบสยามไวยากรณ์ ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร
“ภาษาไทย 3.0” คือ ยุคที่สอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ดังที่ปรากฏอยู่ในหลักสูตรของ
กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งเรื่องการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน หลักภาษา และวรรณคดี
“ภาษาไทย 4.0” เป็นยุคที่ต้องมีการปรับตัว รับความคิดใหม่ๆ จากต่างประเทศ
ผลกระทบจาก
การใช้ภาษาวิบัติ
วัฒนธรรมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด เนื่องจากปัญหา
ที่มนุษย์ประสบอยู่ในสังคมเป็นประจำ และมีความต้องการจะปรับปรุงวิถีชีวิต
ของตนเองและครอบครัวให้มีสภาพดีขึ้นกว่าเดิม
พลวัตรของภาษาและวัฒนธรรมในสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยมักถือความถูกต้องเป็นหลัก และมุ่งหวังให้ทุกคน
ใช้ภาษาไทยที่งดงาม สละสลวยตามแบบแผนที่บรรพบุรุษได้วางไว้เป็นตัวอย่าง
แต่ผู้ที่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงมองไปในแง่การสร้างสรรค์
การเปลี่ยนแปลง หมายถึง ภาวะและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันตลอดเวลา
โดยจะมีความแตกต่างกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจะมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน
การสื่อสารและสารสนเทศเข้ามามีส่วนสำคัญในการเปิดพื้นที่ของโลกให้
กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ผ่านระบบเครือข่ายทางสังคม (Social Network)
จนนำไปสู่ยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) มีการเปิดรับข้อมูลได้อย่างทั่วถึงกันในทุกพื้นที่
สังคมไทยควรยอมรับความหลากหลายในการใช้ภาษา
ส่วนสาคัญในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของภาษาคือ การพิจารณา
ความถูกผิดในภาษา ควรกระทำโดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้ใช้
และปริบท จึงจะเป็นการยุติธรรมแก่ผู้ใช้ภาษาไทยทุกคน
60206464 นางสาวกัญญาลักษณ์ สีตื้อ
วิทยาลัยการศึกษา สาขาคณิตศาสตร์