Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 พลวัตรของภาษาและวัฒนธรรมในสังคมไทย, นางสาวมัลลิกา อ่อนประชู…
บทที่ 8
พลวัตรของภาษาและวัฒนธรรมในสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเวลาหรือขึ้นอยู่กับเวลาเสมอ การเปลี่ยนแปลงนั้นกล่าวถึงระยะเวลาหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปอีกระยะเวลาหนึ่ง เช่น วัน เดือน ปี ทางดาราศาสตร์ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปทุกปี เวลาจึงเป็นสิ่งสาคัญที่จะกาหนดว่าจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป
การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ นักการศาสนามักจะอธิบายการเปลี่ยนแปลงของชีวิตของมนุษย์ว่า คนเรามีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาและเป็นเรื่องของธรรมชาติไม่มีใครที่จะบังคับให้หยุดการเปลี่ยนแปลงได้
การเปลี่ยนแปลงเป็นอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ความหมายถึงว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลานี้ ได้เกิดมาจากปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเป็นการต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงที่ได้กล่าวถึง ที่ผ่านมานั้นมีขั้นตอนต่าง ๆ มองเป็น เรื่องของการต่อเนื่องเป็นสาเหตุสืบต่อกันมา เช่น สังคมมีการเปลี่ยนแปลงผ่านขั้นตอนต่าง ๆ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงเป็นแบบเดียวกัน นักสังคมวิทยาสมัยรุ่นแรก ๆ ได้ให้ทัศนะว่าการเปลี่ยนแปลงทุก สังคมต้องผ่านขั้นตอนแบบเดียวกัน หมายความว่า สังคมที่กาลังมีการเปลี่ยนแปลงทุกสังคมในโลกจะมีการเพียงแต่ว่าบางสังคมเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าบางสังคมเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็น การเปลี่ยนแปลงในความหมายนี้ได้พยายามกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงในสังคมนั้นเป็นสิ่งจาเป็นที่จะต้องทาให้เกิดขึ้น เพื่อให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความเท่าเทียมกันในสังคม
1.2 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
การเปลี่ยนแปลงในชุมชนและสังคมมีสาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องถึงกัน
หลายประการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งของ
พื้นที่ทางชุมชนสังคมก็จะส่งผลกระทบไปยังส่วนอื่น ๆ ด้วยทั้งทาง
ด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ปัจจัยทางชีววิทยา (Biological)
หมายถึง องค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวกาหนดสมาชิกตัวประกอบการเลือก คุณภาพทางด้านพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ จึงมีความแตกต่างกันไปในด้านคุณภาพและด้านศักยภาพของมนุษย์ในแต่ละสังคม ซึ่งมีผลต่อความสามารถของสังคมในการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยทางประชากร (Population)
การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรและองค์ประกอบของประชากร นับว่ามีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือชุมชนที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมากนั้นจะก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนหรือแม้กระทั่งอัตราการเกิด การตาย การย้ายถิ่นฐาน และ ปริมาณของเพศ
ปัจจัยทางกายภาพ (Physical) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์และด้าน สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มนุษย์มีความเชื่อว่าดวงดาวและดวงอาทิตย์มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตทั้งทางดีและไม่ดีและสามารถกำหนดความเป็นไปแห่งชีวิตได้
ปัจจัยทางวัฒนธรรม (Cultural) จากการที่บุคคลติดต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อมส่งผลให้การขยายตัวของวัฒนธรรม การเลียนแบบและการหยิบยืมวัฒนธรรม รวมทั้งการผสมผสานทางวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นวัฒนธรรมทางวัตถุและมิใช่วัตถุ สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลซึ่งกันและกัน จากนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนหรือสังคม
ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี (Technological) การนาเอาเทคโนโลยีหรือการประดิษฐ์สิ่งใหม่มาใช้จะเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในสถาบันและประเพณีบางอย่าง
ปัจจัยด้านขบวนการสังคม (Social Movement) นักสังคมวิทยาบางกลุ่มพยายามอธิบายให้เห็นว่าขบวนการสังคมทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งนี้เพราะขบวนการสังคมใด ๆ ก็ตามเมื่อดำเนินการได้สำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ตาม จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ
ปัจจัยทางจิตวิทยา (Psychological) นักจิตวิทยาส่วนมากถือว่าปัจจัยนี้มีความสาคัญอย่างมากที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลง มักจะกล่าวว่าสาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาจากจิตใจของมนุษย์
ปัจจัยอื่น ๆ (Other) นอกเหนือปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ปัจจัยทาง เศรษฐกิจ ปัจจัยทางการศึกษา ปัจจัยทางการเมืองและการทหาร ปัจจัยทางศาสนาและอุดมการณ์ ความคิด ความเชื่อก็สามารถทำให้ชุมชนสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงได้
1.3 ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงในชุมชนและสังคมไทยนั้น ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปแล้วจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญก้าวหน้าหรือนำมาซึ่งการปรับปรุงแก้ไขปัญหาและป้องกันปัญหาได้มากมายหลากหลายประการ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนี้
ปัญหาการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ความพยายามในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันแสดงออกในรูปของนโยบายสาคัญต่าง ๆ นั้น ไม่จาเป็นจะต้องได้รับความเห็นชอบสนับสนุนจากคนในสังคมทุกเรื่อง
ปัญหาค่าใช้จ่ายที่ต้องมีในการสร้างความเปลี่ยนแปลง การดำเนินการให้เกิดการพัฒนานั้น จำเป็นต้อง มีการลงทุนหรือต้องการใช้จ่ายทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรเงิน วัสดุอุปกรณ์ เวลา แรงงาน ทุน เป็นต้น
ปัญหาอันเป็นผลต่อเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงพัฒนาซึ่งประสบความสำเร็จตาม เป้าหมาย ในเรื่องหนึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นที่ไม่คาดคิดมาก่อน
ปัญหาความไม่สมดุลของการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตาม ย่อมส่งผลกระทบมิติด้านต่าง ๆ ของสังคมเสมอ วิธีการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดก็คือการคาดคะเนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ และมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดดุลยภาพหรือความสมดุลของการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงทางภาษา
2.1 ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของภาษา
การเปลี่ยนแปลงของภาษาเดียวกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน เป็นสิ่งที่นักภาษาศาสตร์เชิงประวัติให้ความสนใจ
การเปลี่ยนแปลงของภาษาเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกัน
2.2 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษา
ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ของภาษาการเปลี่ยนแปลงภายในตัวภาษานั้นขึ้นกับ
1.1 ความสมมาตร (Symmetry) ในภาษาซึ่งเห็นได้ในระบบเสียง
1.2 ความประหยัด หมายถึงการที่ภาษาจะไม่อนุญาตให้คำที่มีรูปเหมือนกัน 2 รูป มีความหมายเหมือนกันทุกประการ
ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษาปัจจัยภายนอกที่
สาคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา คือปัจจัยทางสังคมปัจจัย
ทางสังคมเป็นปัจจัยภายนอกภาษาที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงได้
2.1 ระบบการสื่อสารและเทคโนโลยีการพิมพ์
2.2 อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ ภาษาต่างประเทศมีส่วนทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปมาก
2.3 การปฏิรูปการศึกษา สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ
2.3 ภาษาไทยยุคใหม่กับโลกสมัยที่เปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงในภาษาไทยสมัยใหม่ภาษาเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการออกเสียง คำศัพท์ รูปแบบและลักษณะอื่นอื่นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ภาษาที่เปลี่ยนไปเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาไทย
สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาษาไทยสมัยใหม่การ
เปลี่ยนแปลงภาษามีสาเหตุมาจากการตอบสนองความต้องการของมนุษย์
เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
2.1 การหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกหรือวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เรียบ
2.2 การเปรียบเทียบวัฒนธรรมตะวันตกที่ไม่ซับซ้อน กับวัฒนธรรมภาษาดั้งเดิมของไทย
2.3 ความเจริญทางเทคโนโลยีที่เข้ามา เช่น การพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ นับเป็นสื่ออันสำคัญที่ทำให้วัยรุ่น ได้รับข่าวสารเรื่องราวต่าง ๆ เกิดการเรียนรู้ ยอมรับและปรับเปลี่ยนภาษาไทยมากขึ้น
2.4 ความเจริญทางด้านสังคมและชุมชนต่าง ๆ
ตัวอย่างภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมภาษาวิบัติ หรือ ภาษาอุบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่มีการเปลี่ยนแปลง และไม่ตรงกับกับภาษามาตรฐานตามหลักภาษาไทยในด้านการสะกดคำ คำว่า “ภาษาวิบัติ”
2.4 ผลกระทบจากการใช้ภาษาวิบัติ
จะเห็นว่าวัฒนธรรมกับสังคมต้องไปด้วยกันเสมอ มีผลเกี่ยวเนื่องกันโดยเฉพาะในระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของสังคมด้วยรวมถึงการเปลี่ยนภาษา ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม มีผลสะท้อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบความสัมพันธ์ของบุคคลและภาษาที่นำมาใช้สื่อสารแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมภาษาของแต่ละท้องถิ่น
2.5 ความอยู่รอดของภาษาไทยในยุคดิจิตอล
ปลูกฝังวัฒนธรรมรักการอ่าน พ่อแม่ผู้ปกครองควรปลูกฝังวัฒนธรรมรักการอ่านให้กับบุตรหลานตั้งแต่เล็ก ๆ เพราะเด็กเล็กเป็นวัยที่เหมาะสมและง่ายต่อการปลูกฝังสิ่งต่าง ๆ และการอ่านยังเป็น การวางรากฐานด้านภาษาที่ดีอีกทางหนึ่ง
ปลุกจิตสำนึกในการหวงแหนภาษาไทยและรู้กาลเทศะการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องการให้ความรู้ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องและเหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่เราควรสอดแทรกความเป็นมา และคุณค่าที่ความสำคัญของภาษาไทยเข้าไปด้วยเพื่อให้เกิดความรักและหวงแหนภาษาไทย
เปลี่ยนแปลงตัวเอง เมื่อเรารู้ว่าคำใดใช้ผิดหรือถูก คำใดควรหรือไม่ควรใช้กับบริบทในขณะนี้แล้วสิ่งที่สำคัญต่อมาคือ เรายังคงใช้คำที่ผิด ๆ เหล่านี้อยู่อีกหรือไม่ เพราะถ้าเรายังนิ่งเฉยกับปัญหาเหล่านี้ปัญหาก็จะไม่ถูกแก้ไขและยังเป็นการสะสมปัญหาให้เรื้อรังอยู่ต่อไประยะเวลาที่ผ่านไปทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงรวมไปถึงเรื่องของภาษา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงเป็นไปในทางที่ดี
2.6 ภาษาไทยในยุค 4.0
เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม”
เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น
“ภาษาไทย 1.0” คือยุคที่การเรียนภารสอนภาษาไทยมุ่งเน้นที่การอ่าน การเขียน และการแต่งคำประพันธ์ ดั
“ภาษาไทย 2.0” คือยุคที่มีการอธิบายภาษาไทยโดยอาศัยโครงสร้างของภาษาอังกฤษตามแบบสยามไวยากรณ์
“ภาษาไทย 3.0” คือยุคที่สอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ดังที่ปรากฏอยู่ในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งเรื่องการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน หลักภาษา และวรรณคดี
“ภาษาไทย 4.0” ที่คอลัมน์ “มองไทยใหม่” ขอเสนอในวันนี้ก็คือ ภาษาไทยที่ทำให้คนไทยสามารถเข้าใจโดยเฉพาะจากภาษาอังกฤษได้โดยไม่ผิดเพี้ยน เช่น การใช้ศัพท์บัญญัติว่า“โภคภัณฑ์” และ “นวัตกรรม” ข้างต้นก็ต้องให้เข้าใจความหมายที่ถูกต้อง การเขียน “คำทับศัพท์”ที่ต้องเขียนให้ใกล้เคียงกับการออกเสียงในภาษาเดิมให้มากที่สุด
พลวัตรของภาษาและวัฒนธรรมในสังคมไทย
ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยทางธรรมชาติ ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางวัฒนธรรม ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางการเมือง
ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การติดต่อระหว่างสังคมที่หลากหลายและการกระทบกระทั่งระหว่างสังคม
ดังนั้นการทำความเข้าใจหรือศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเปลี่ยนแปลง และอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการพัฒนาทุกภาคส่วน เพื่อที่จะสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาและดาเนินการพัฒนาให้ไปสู่ความสมดุลและยั่งยืน
การเปลี่ยนแปลง หมายถึง ภาวะและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันตลอดเวลา โดยจะมีความแตกต่างกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจะมีความเกี่ยวเนื่องกัน
นางสาวมัลลิกา อ่อนประชู รหัสนิสิต 60206699