Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 สถิติที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการศึกษา - Coggle Diagram
บทที่ 8
สถิติที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการศึกษา
ความหมายและประเภทของสถิติ
ความหมายของสถิติ
ข้อมูลสถิติ ซึ่งหมายถึง ตัวเลขที่แทนข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่ สนใจศึกษา
ประเภทของสถิติ
สถิติเชิงบรรยาย
สถิติเชิงสรุปอ้างอิง
การเลือกใช้สถิติในการวัดและประเมินผลการศึกษา
ข้อมูลมาตรานามบัญญัติ สามารถใช้สถิติได้เพียงการแจกแจงความถี่แบบไม่จัดเป็นกลุ่ม สัดส่วน ร้อยละ และฐานนิยมเท่านั้น ข้อมูลมาตราเรียงอันดับ สามารถใช้สถิติได้เพิ่มเติม จากข้อมูลมาตรฐานนามบัญญัติ คือ มัธยฐาน ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณหรือข้อมูลมาตราอันตรภาค และ อัตราส่วน สามารถใช้สถิติได้ทุกประเภท รายละเอียดของสถิติแต่ละประเภท จะกล่าวถึงในหัวข้อ ต่อ ๆ ไปตามลำดับ
การวัดการกระจาย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation : S)
คือ รากที่สองของค่าเฉลี่ยของกำลังสองของค่าเบี่ยงเบนของข้อมูลแต่ละตัวที่เบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดนั้น
ความแปรปรวน (Variance)
คือ ค่ากำลังสองของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
พิสัย (Range)
คือ ค่าผลต่างระหว่างข้อมูลที่มีค่าสูงสุดกับข้อมูลที่มีค่าต่ำสุด สามารถหา ค่าพิสัยได้จากสูตร
พิสิย = ค่าสูงสุด -ค่าสูงสุด
สัมประสิทธิ์การกระจาย
เป็นสถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบการกระจายของข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป ว่าข้อมูลชุดใดมีการกระจายมากน้อยกว่ากัน
การวัดตำแหน่งเปรียบเทียบ
ร้อยละ
เป็นการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนหรือความถี่ที่สนใจกับจำนวนหรือความถี่ ทั้งหมดที่ปรับเทียบให้เป็น 100
อัตราส่วน
เป็นการเปรียบเทียบระหว่างส่วนย่อยกับส่วนย่อยที่สนใจศึกษา
สัดส่วน
เป็นการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนหรือความถี่ที่สนใจกับจำนวนหรือความถี่ทั้งหมด
เปอร์เซ็นต์ไทล์
เปอร์เซ็นต์ไทล์เป็นการเปรียบเทียบตำแหน่งของข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งกับข้อมูลทั้งหมด โดยถือว่ามีข้อมูลทั้งหมด 100 ส่วน
ระดับการวัด
มาตราอันตรภาค
ข้อมูลที่อยู่ในระดับนี้ นอกจากจะมีความสามารถจำแนกเป็นกลุ่ม หรือจัดประเภท สามารถเรียงลำดับเพื่อเปรียบเทียบในเชิงมากน้อยแล้ว
มาตราอัตราส่วน
ข้อมูลที่อยู่ในระดับนี้ จะมีคุณสมบัติครบทั้ง 4 อย่าง
มาตราเรียงอันดับ
ข้อมูลที่อยู่ในระดับนี้ นอกจากจะมีคุณสมบัติการแสดงชนิดแล้ว ยังมีคุณสมบัติการเรียงลำดับ
มาตรานามบัญญัติ
ข้อมูลที่อยู่ในระดับนี้ มีเพียงคุณสมบัติการแสดงชนิด หรือความสามารถจำแนกเป็นกลุ่ม
การแจกแจงความถี่
เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการวัด มาจัดเรียงลำดับอย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้เห็นภาพรวมของการแจกแจงของข้อมูลกลุ่มนั้นอย่างเป็นระบบ เข้าใจได้ง่าย
การแจกแจงความถี่แบบไม่จัดเป็นกลุ่ม
การแจกแจงความถี่แบบจัดเป็นกลุ่ม
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
มัธยฐาน
หมายถึง ค่า ณ ตำแหน่งกึ่งกลางของข้อมูลทั้งชุดเมื่อเรียงลำดับข้อมูลชุดนั้น จากน้อยมาก หรือจากมากไปน้อย
ฐานนิยม
หมายถึง ค่าหรือข้อมูลที่มีความถี่สูงสุด หรือเกิดขึ้นบ่อยที่สุด ข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ อาจจะไม่มีฐานนิยม หรือมีฐานนิยม 1 ค่า หรือมากกว่า 1 ค่าก็ได้
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
หรืออาจเรียกว่า ค่ามัชฌิมเลขคณิต หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ค่าเฉลี่ย หมายถึง ค่าที่ได้จากผลรวมของข้อมูลค่า หรือคะแนนต่าง ๆ ที่ได้จากทั้งหมดหารด้วยจำนวนข้อมูล หรือค่านั้น ๆ