Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพและความรุนแรง - Coggle Diagram
ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพและความรุนแรง
สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพของคนไทย
1.อายุคาดเฉลี่ยของคนไทยยืนยาวขึ้น
ผู้ชายจะมีอายุคาดเฉลี่ย 69.1ปี ใน พ.ศ.2553 เพิ่มเป็น 71.1ปี ใน พ.ศ.2563 และผู้หญิงจะมีอายุคาดเฉลี่ย 75.1ปี เพิ่มเป็น 77ปี ตามลำดับ
2.การสูญเสียปีสุขภาวะ
พบว่าสาเหตุหลักของการสูญเสียปีสุขภาวะทั้งผู้ชายและผู้หญิงไทย มาจากโรคไม่ติดต่อและโรคเรื้อรัง
3.สาเหตุการเสียชีวิต
-โรคไม่ติดต่อ โดยเฉพาะกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง และเบาหวาน [เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น
4.อัตราฆ่าตัวตาย
อัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ช่วงอายุ 40-49 ปี จะมีการฆ่าตัวตายสูงสุด
5.โรคติดเชื้ออุบัติใหม่
มีแนวโน้มมทวีความรุนแรงมากขึ้น และมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และสุขภาพของประชาชนทั่วโลกอย่ามหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่า ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนกที่มีความเกี่ยวข้องกับนกอพยพและนกป่าตามธรรมชาติ และซาร์สที่มาจากชะมด
6.โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ สิ่งแวดล้อม และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
ผู้ป่วยได้รับสารเคมีในขณะประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้น
7.สถานการณ์ความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
เป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลให้ขาดการใส่ใจดูแลควบคุมป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพและความรุนแรง
1.ปัจจัยภายใน 3องค์ประกอบ
1.1 องค์ประกอบทางกายภาพ
-พันธุกรรม การถ่ายทอดทางพันธุกรรมมีผลต่อสุขภาพของวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ ทั้งทางบวกและทางลบ
-เชื้อชาติ บางเชื้อชาติป่วยเป็นโรคบางโรคมากกว่าเชื้อชาติอื่นๆ
-เพศ โรคบางโรคพบบ่อยในเพศใดเพศหนึ่ง
-อายุและระดับพัฒนาการ โรคหลายโรคเป็นแตกต่างกันตามอายุ
1.2 องค์ประกอบทางจิต
-อัตมโนทัศน์ ผลรวมความรู้สึกนุกคิดและการรับรู้ที่ลึกซึ้งและซับซ้อนที่บุคคลมีต่อตนเอง
-การรับรู้ การที่บุคคลจะมีพฤติกรรมเช่นใด ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของตนต่อสิ่งต่างๆ
ความเชื่อ ปกติเรามักจะได้รับความเชื่อมาจากผู้ที่เราเคารพนับถือ
-เจตคติ เป็นความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งต่างๆ
-ค่านิยม การให้คุณค่าต่อสิ่งสิ่งหนึ่ง ได้รับจากอิทธิพลของสังคม
-ความเครียด มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางบวกและทางลบ
1.3 องค์ประกอบทางพฤติกรรม
-พฤติกรรมเกี่ยวกับอนามัยส่วนบุคคล เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติเพื่อการมีอนามัยที่ดี
-พฤติกรรมการรับประทานอาหาร มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก
-พฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ผู้ทีร่ถ่ายไม่เป็นเวลาและถ่ายลำบาก มีโอกาสเป็นโรคริดสีดวงทวารสูง
-การพักผ่อนและการนอนหลับ ผู้ที่พักผ่อนหรือนอนหลับไม่เพียงพอจะมีผลเสียต่อสุขภาพ
-พฤติกรรมทางเพศ การสำส่อน จะมีผลต่อสุขภาพ
-พฤติกรรมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย การชั่งน้ำหนักประจำ การตรวจสุขภาพประจำปี
-พฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมที่ปฏิบัติแล้วทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหรือเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ร่างกาย
2.ปัจจัยภายนอก แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
2.1 องค์ประกอบทางสังคม
-ระบบครอบครัวและเครือญาติ
-ระบบการศึกษา
ระบบการสาธารณสุข
-ระบบเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ
-ระบบการเมืองและการปกครอง
-ระบบความเชื่อหรือสถาบันศาสนา
2.2 องค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม
-สภาพทางภูมิศาสตร์
-สภาพที่อยู่อาศัย
-สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพและความรุนแรง
วิธีป้องกันและแกไขปัญหาสุขภาพ
1.อาหาร รับประทานอาหารให้ได้สมดุลทางโภชนาการ โดยยึดหลักการรับประทานอาหารให้หลากหลายชนิดมากที่สุด
2.ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อย สัปดาห์ละ3วัน วันละอย่างน้อย 30นาที สม่ำเสมอ
3.อารมณ์ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ส่งผลต่อสุขภาพ
4.อนามัยสิง่แวดล้อม สภาพแวดล้อมในบ้านที่ดีเอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี ของคนในครอบครัว
5.อโรคยา โรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทย
6.อบายมุข งดเว้นบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ
วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง
1.ระดับบุคคล
1.1ฝึกควบคุมอารมณ์
1.2รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
1.3ไม่ใช้กำลังแก้ไขปัญหา
1.4ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
1.5ไม่เข้าไปที่สถานการณ์เสี่ยงต่อความรุนแรง
1.6เลี่ยงอบายมุข
1.7ต้องมีสติ เพื่อที่จะเลือกวิธีเอาตัวรอดที่เหมาะสม
2.ระดับครอบครัว
2.1เคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ในบ้าน
2.2มีพฤติกรรมแสดงความรัก
2.3สมาชิกทุกคนร่วมกันแก้ปัญหา
2.4กำหนดเป้าหมาย แนวทางการดำเนินชีวิต
2.5ผู้ปกครองเป็นตัวอย่างที่ดี
3.ระดับสังคม
3.1หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันสอดส่องดูแล
3.2สร้างเสริมเจตคติ ความรู้ความเข้าใจที่เหมาะสม