Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 ส่วนที่ใช้และองค์ประกอบที่สำคัญของพืชสมุนไพร - Coggle Diagram
บทที่ 3 ส่วนที่ใช้และองค์ประกอบที่สำคัญของพืชสมุนไพร
อันตรกิริยาของพืชสมุนไพร
ความหมาย
ปฏิกิริยาทางเภสัชวิทยาระหว่างสารทั้งสองชนิดทั้งในแง่ของการเปลี่ยนแปลงระดับยาในร่างกาย การต้านฤทธิ์ การเสริมฤทธิ์ การเพิ่มหรือลดผลข้างเคียงของยา การเกิดพิษ หรืออาจทำให้เกิดฤทธิ์ใหม่
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ด้านพลศาสตร์
คือ ปฏิกิริยาที่มีผลเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ของยาทั้งทางด้านชีวเคมีและสรีรวิทยา แต่ไม่มีผลต่อระดับความเข้มข้นของยาในร่างกาย
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ออกฤทธิ์เสริมกัน
ยาวาร์ฟารินระวังการใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ออกฤทธิ์ตรงตําแหน่งเดียวกัน มีสารสําคัญ มีโครงสร้าง หรือลักษณะใกล้เคียงกับยา
ยาไดจอกซินอาจเกิดอาการพิษจากยา หากเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดลดลงจากการรับประทานยาระบายมะขามแขก หรือยาระบายกลุ่มแอนทราควิโนน
ออกฤทธิ์ต้านกัน
ยากดภูมิคุ้มกันระวังการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีผลกระตุ้นภูมิคุ้นกัน
ผู้ป่วยมะเร็งที่รับประทานยายับยั้งการทํางานของฮอร์โมนเอสโตรเจนระวังการรับประทานร่วมกับสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารออกฤทธิ์เป็น phytoestrogen ในปริมาณที่สูง
ด้านจลศาสตร์
คือปฏิกิริยาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับยาในร่างกายไปจากปกติ ทั้งในเลือด เนื้อเยื่อ หรือตําแหน่งที่ยาออกฤทธิ์
โดยสามารถแบ่งเป็นกระบวนการต่างๆ ดังนี้
การกระจายยา
การจับตัวของยา = ยาที่มีค่า protein binding ที่สูงเมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดยาจะเข้าจับกับโปรตีน (อัลบูมิน) ได้ดี ส่งผลให้ยาอยู่ในร่างกายได้นาน
การกระจายตัวยาจากเลือดผ่านเนื้อเยื่อ = P-glycoprotein (P-gp) เป็นโปรตีนในร่างกายที่ฝังตัวอยู่บนพื้นผิวของเซลล์ทางเดินอาหารและเนื้อเยื่อต่างๆ ทําหน้าที่ในการป้องกันอันตรายหรือขับยา สารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาสู่เซลล์ในร่างกาย
การดูดซึมยา
เพิ่มการดูดซึม = ยาที่สามารถละลายในไขมันได้ดี จะถูกดูดซึมได้ดี
ลดการดูดซึม = ยาบางชนิดอาจถูกรบกวนการดูดซึมยาหากรับประทาoอาหารประเภทกากใยสูง
สารประกอบที่ซับซ้อน = ยาบางชนิดอาจเกิดการจับกับสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในระหว่างการบริหารยา ส่งผลให้เกิดสารประกอบที่ซับซ้อน ทําให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารประกอบนั้นได้
เพิ่มการเคลื่อนที่ผ่านทางเดินอาหาร = สมุนไพรที่ออกฤทธิ์เป็นยาระบายหรือมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน มีผลเพิ่มการบีบตัวของลําไส้ หรือผลิตภัณฑ์ประเภท soluble fibers มีผลเพิ่ม GI mobility ดังนั้นเมื่อรับประทานร่วมกับยาจะทําให้ยาอยู่ในทางเดินอาหารได้สั้นกว่าปกติ
เปลี่ยนแปลงระดับ pH = ยาที่ถูกดูดซึมในภาวะ pH ในทางเดินอาหารอาจถูกรบกวนการดูดซึมได้หากรับประทานร่วมกับสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีผลเพิ่มหรือลดระดับ pH ในทางเดินอาหาร
การเปลี่ยนแปลงยา
โดยส่วนใหญ่กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นที่ตับ โดยเอนไซม์หลักที่มักจะเป็นที่รู้จักในการเกิดอันตรกิริยาของยาคือ Cytochrome P450
คือกระบวนการทางชีวเคมีของร่างกายในการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของยา โดยอาศัยเอนไซม์ในการเปลี่ยนแปลงยา
การขับยาออกจากร่างกาย
ส่วนใหญ่จะถูกขับออกทางไตในรูปของสารที่สามารถละลายน้ําได้ ดังนั้นหากสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีผลรบกวนกระบวนการขับยาออกจากร่างกายก็จะทําให้เกิดอันตรกิริยากับยาได้
ผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม K-sparing diuretic เมื่อรับประทานร่วมกับยาสมุนไพรในกลุ่มยาขับปัสสาวะ จะมีผลทําให้ระดับของโพแทสเซียมในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นและอาจก่อให้เกิดพิษได้
แนวทางการป้องกันอันตรกิริยา
1.Medical herbal and dietary supplement reconciliation จะทําให้ทราบถึงยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งหมดที่ผู้ป่วยได้รับ พร้อมทั้งทราบถึงส่วนประกอบทั้งหมดของผลิตภัณฑ์
3.สามารถป้องกันได้ โดยเฉพาะอันตรกิริยาทางด้านพลศาสตร์โดยการทราบถึงกลไกการออกฤทธิ์ และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
2.การทราบถึงชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญชื่อท้องถิ่น หรือชื่อพ้องของสมุนไพร และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแต่ละชนิดจะทําให้สื่อสารกับผู้ป่วยหรือผู้บริโภคได้ดีขึ้น
4.สอบถามถึงอาการไม่พึงประสงค์จากอันตรกิริยาระหว่างยากับสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมจะทําให้ทราบถึงปัญหาอย่างทันท่วงที
5.การจัดทําฐานข้อมูลอันตรกิริยาระหว่างยากับสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริม โดยยึดตามเอกสารอ้างอิงจากรายงานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ
6.การใช้ยาอย่างสมเหตุผล พยายามสั่งใช้ยาเฉพาะที่จําเป็นกับผู้ป่วย และสร้างความตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเมื่อมีการใช้ร่วมกับยา
สมุนไพรเพื่อความงาม
ความหมาย
เวชสำอาง = ใช้แล้วมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
เครื่องสำอาง = สิ่งปรุงรวมทั้งเครื่องหอม และสํารหอมต่ํางๆที่ใช้บนผิวหนังโดยที่ไม่มีผลต่อกํารเปลี่ยนแปลงทํางกํายภําพของร่ํางกําย
สมุนไพรกับการใช้ในเวชสำอาง
Amtipollution
วัตถุประสงค์
เคลือบหรือปกป้องผิวหนังไม่ให้สัมผัสมลภาวะ
เพิ่มความสามารถของผิวหนังชั้นนอกสุดในการทำหน้าที่ปกป้องผิว
ป้องกันไม่ให้ผิวหนังถูกทำลายจากมลภาวะ
สมุนไพรที่ใช้
ขมิ้นชัน ข้าว งา ชาเขียว แตงกวา บัวบก ไพล มะกรูด มะขาม มะขามป้อม มะพร้าว มังคุด ว่านหางจระเข้ หม่อน องุ่น
Hair cosmetic
ทำให้ผมงอก
ว่านมหาเมฆ
อัญชัน
มะกรูด
ผมเป็นรังแคจากเชื้อรา ใช้ทองพันชั่ง
Anti-aging
Skin matrix protectant
ขมิ้นชัน, ขิง, ชา, บัวบก, บัวหลวง, ดาวเรือง, ใบฝรั่ง, ทับทิม, ถั่วเหลือง, สมอไทย
Free radical scavengers
กะเม็ง, ขมิ้นชัน, ชะเอม, มะขามป้อม, โหระพา
Moisturizers
แตงกวา, สมอ, สมอไทย, วุ้นว่านหางจระเข้
UV protectants
ชา, มะขามป้อม, ถั่วเหลือง, ทับทิม
Nutricosmetic
อาหารกับผิวสวย
ผักหรือผลไม้สีแดง เหลือง
เพิ่มการสร้างคอลลาเจน
ประกอบด้วยสาร lycopene ซึ่งเป็น antioxidant
ช่วยป้องกัน UV
เช่น พริกหวาน แครอท ส้ม ฟักข้าว มะละกอ
ผักใบเขียว
ช่วยสร้างคอลลาเจน
มี lutein
ลดริ้วรอยเหี่ยวย่น
เช่น คะน้า ผักโขม หน่อไม้ฝรั่ง
ถั่วเหลือง
ทำให้มีการสร้างคอลลาเจน
มีสารพวก genistein
ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำลายเซลล์ผิวหนัง และทำให้เซลล์แก่
ถั่วเมล็ดและกรดไขมัน
ถั่วเมล็ดช่วยสร้าง hyaluronic acid ควรรับประทานอย่างน้อย 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน
กรดโอเมก้าช่วยสร้างคอลลาเจน ได้เเก่ ปลาแซลมอน ทูน่า มะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์
สวยจากข้างใน
อารมณ์ชิว Cool mood
ออกกำลังกาย
อาหารเจ๋ง Clean food
ถ่ายอุจจาระทุกวัน
Anti-acne
สมุนไพรรักษาสิว
สารสกัดเปลือกมังคุด
สารผสมกับการรักษาสิว
ยาเบญจโลกวิเชียร/ยาห้าราก/ยาแก้วห้าดวง
รากย่านาง
รากมะเดื่ออุทุมพร
รากรากชิงชี่
รากเท้ายายม่อม
รากคนทา
ไพล
น้ำมันหอมระเหยใบมะกรูดผสมแมงกะแซง ตะไคร้ กระเพรา และโหรพา
ชาเขียว
สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคผิวหนัง
สมุนไพรรักษาแผลสด
ขมิ้นชัน
ยาครีมบัวบก
มะขาม
ยาน้ำเปลือกมังคุด
สมุนไพรรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
บัวบก
น้ำมันมะพร้าว
ชาจีน
ว่านหางจระเข้
ยาเจลว่านหางจระเข้
สมุนไพรกำจัดเหา
น้อยหน่า
ยาครีมน้อยหน่า
ความเข้มข้นของครีมที่ออกฤทธิ์ฆ่าเหาได้ดีและเหมาะสมที่สุด คือ ครีมชนิด 20% ซึ่งให้ผลฆ่าเหาได้ถึง 93% ภายในเวลา 3 ชั่วโมง
สมุนไพรรักษาแผลเรื้อรังจากการฉายรังสี
ว่านหางจระเข้
ยาสารละลายพญายอ(สำหรับป้ายปาก)
ประสิทธิผลของกลีเซอรีนพญายอในการป้องกันและบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบําบัด
สมุนไพรรักษาอาการผื่นคัน ลมพิษ
พลู
ยาเจลพลู
หญ้าคา
ยาคาลาไมน์พญายอ
สมุนไพรแก้พิษแมลง สัตว์ กัดต่อย
ตำลึง
ผักบุ้งทะเล
ขมิ้นชัน
พญายอ
ยาโลชั่นหรือยาหม่องพญายอ
ยาทิงเจอร์พลู
สมุนไพรรักษากลาก เกลื้อน
กระเทียม
ข่า
ขมิ้นชัน
ชุมเห็ดเทศ
สารสกัดจากแอลกอฮอล์และครีมที่มีความเข้มข้น 20% สามารถใช้รักษากลาก เกลื้อนให้หายได้ 100% แต่ไม่สามารถใช้รักษาเชื้อราที่เล็บและที่บริเวณหนังศีรษะได้
ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง
สมุนไพรรักษาเริม งูสวัด
พญายอ
ยาครีมพญายอ
ตำลึง
ยาทิงเจอร์พญายอ
สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
มะขามป้อม
เนื้อผลแก่สด โขลกพอแหลกแทรกเกลือเล็กน้อยอมหรือเคี้ยว
มะขาม
เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือกิน หรือคั้นเป็นน้ำมะขามเติมเกลือเล็กน้อยจิบบ่อยๆ
เพกา
เมล็ด ใส่น้ำต้มไฟอ่อนๆ
มะนาว
ผลสดคั้นน้ำใส่เกลือเล็กน้อยจิบบ่อยๆ หรือทำเป็นน้ำมะนาวใส่เกลือน้ำตาลดื่มบ่อยๆ
ดีปลี
ผลแก่แห้งฝนกับน้ำมะนาว แทรกหรือกวาดคอหรือจิบบ่อยๆ ไม่ควรใช้กับคนท้อง
มะแว้งเครือ
ผลแก่สดโขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำใส่เกลือเล็กน้อย หรือใช้ผลสดเคั้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำทั้งเนื้อ
ชิง
เหง้าแกเฝนกับน้ำมะนาว หรือเหง้าสดตำผสมน้ำต้มสุกเล็กน้อย คั้นเอาน้ำผสมเกลือ กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
มะแว้งต้น
ผลแก่สดโขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำใส่เกลือเล็กน้อย หรือใช้ผลสดเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำทั้งเนื้อ
สมุนไพรขับลม โรคกระเพาะ
ดีปลี
ผลแก่แห้งหรือเถาต้มเอาน้ำดื่ม ไม่ควรใช้กับคนท้อง
ข่า
เหง้าแก่สดทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม
พริกไทย
ผลแก่แห้งบดเป็นผงปั้นเป็นลูกกลอน หรือชงน้ำดื่มไม่ควรใช้กกับคนท้อง
กระชาย
เหง้าและรากทุบพอแหลก ต้มเอาน้ำดื่มหรือปรุงอาหาร
ตะไคร้
ลำต้น(กานใบ)แก่สดทุบพอแตก ต้มเอาน้ำดื่มหรือประกอบอาหาร
แห้วหมู
หัวทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มหรือหัวสด โขลกละเอียดผสมน้ำผึ้ง
กระเพรา
ใบและยอดต้มเอาน้ำดื่ม
กระวาน
เมล็ดแก่บดเป็นผงกับน้ำอุ่น
กระเทียม
ทานหัวสดหลังหรือพร้อมอาหาร
เร่ว
ปอกเปลือกผล ใช้เมล็ดบดเป็นผง
กานพลู
ดอกตูมแห้งต้มน้ำดิ่มหรือบดเป็นผงชงน้ำดื่ม
มะนาว
เปลือกผลสดทุบเล็กน้อย พอให้น้ำมันออก ชงน้ำร้อนดื่ม
ขิง
เหง้าแก่สดทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม
กระทือ
เหง้าสดย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสคั้นเอาน้ำดื่ม
ขมิ้นชัน
เหง้าแก่สดล้างสะอาด หั่นตากแดด บดละเอียดใส่แคปซูลหรือผสมน้ำผึ้งเป็นลูกกลอน
กัญชา
การควบคุมการใช้กัญชาทางการแพทย์
Safety
วิธีการสกัด การปนเปื้อน (สารหนู ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เชื้อชา ฯลฯ) ข้อห้ามใช้ ยาอื่นที่ใช้ร่วม
Efficacy
ถูกคน ถูกขนาด(ความเข้มข้น) ถูกวิธีการ ถูกโรค ถูกเวลา
Quality
ถูกต้น ถูกสายพนธุ์ ถูกส่วน GAT วิะีการสกัด ปริมาณและสัดส่วนของสารสำคัญ
เภสัชพฤกษศาสตร์ของกัญชา
มี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อย คือ Cannabis sativa, Cannabis indica, Cannabis rudealis
เป็นพืชในวงศ์ Cannabidaceae
มีส่วนประกอบทางเคมีที่สามารถระบุได้มากกว่า 500 ชนิด
สารเคมีที่พบในกัญชาแต่ละสายพันธุ์ก็แตกต่างกันออกไป สารสำคัญคือ ไฟโตแคนนาบินอยด์ ซึ่งสารตัวหลักและเป็นชนิดที่รู้จักกันมากที่สุด คือ delta-9-Tetrahydrocannabinol (THC) และ cannabidiol (CBD)
ข้อมูลการใช้กัญชาทางคลินิค
ผลิตภัณฑ์กัญชาที่น่าจะได้ประโยชน์
โรคพาร์กินสัน
โรคอัลไซเมอร์
โรควิตกกังวลไปทั่ว
ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง
ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
โรคปลอกประสาทอักเสบ
ผลิตภัณฑ์กัญชาที่อาจได้ประโยชน์
โรคมะเร็ง
ผลิตภัณฑ์กัญชาที่ได้ประโยชน์
โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด
ภาวะปวดประสาท
ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชา
ยาศุขไสยาศน์
ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร
ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย
แก้อาการตึงบริเวณปลายมือปลายเท้า
ยาแก้ลมขึ้นเบิ้องสูง
บรรเทาอาการปวดศีรษะ ตาแดง หูตาฝ้าฟาง
ยาแก้สัณฑฆาต
กล่อนแห้ง บรรเทาอาการท้องผูก ปวดเมื่อตามร่างกาย
ยาอัคคินีวคณะ
แก้คลื่นเหียนอาเจียน เจริญอาหาร บำรุงกำลัง
ยาแก้นอนไม่หลับ/ยาแก้ไขผอมเหลือง
แก้นอนไม่หลับ แก้ไขผอมเหลือง
ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ
บรรเทาอาการเจ็บปวดท้องแข็ง
ยาแก้โรคจิต
ลดความกังวล ความเครียด ช่วยให้นอนหลับ
ยาไฟอาวุธ
แก้ลมจุกเสียด ปวดมวนท้อง
ยาอัมฤตโอสถ
บรรเทาอาการตึงกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น มือ เท้าชา
ยาไพสาลี
บรรเทาอาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ ขับลม ช่วยให้หลับสบาย
ยาอไภยสาลี
ช่วยขับลม บรรเทาอาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ
ยาแก้ลมแก้เส้น
บรรเทาอาการปวดตึงกล้ามเนื้อ ลดอาการมือเท้า ชา อ่อนกำลัง
ยาทำลายพระสุเมรุ
บรรเทาอาการแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ แขนขาอ่อนแรง
ยาทัพยาธิคุณ
แก้จุกเสียดท้องแข็งเป็นเถาดาน อาการอัมพฤกษ์ เสียงแหบแห้ง
ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง
ทารักษาริดสีดวงทวารหนัก และทารักษาโรคผิวหนัง
ขนาดยาและการบริหาร
ไม่มีขนาดยาเริ่มต้นที่แน่นอนในผลิตภัณฑ์กัญชาแต่ละชนิด ขนาดยาที่เหมาะสมขึ้นกับลักษณะของผู้ป่วยแต่ละคนและปรับตามแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยเริ่มต้นขนาดต่ำและปรับเพิ่มขนาดช้าๆ
ข้อหา้มใช้ผลิตภณั ฑท์ มี่ ีTHC เป็ นส่วนประกอบ
ผู้ที่มีอาการรุนแรงของ unstable cardio-pulmonary disease หรือมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
ผู้ที่เป็นโรคจิตมาก่อน หรือมีอาการของโรคอารมณ์แปรปรวน
ผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดกัญชา
หลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีมีครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร รวมถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้คุมกำเนิด หรือสตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์
ข้อควรระวังอื่น ๆ
ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดรวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก
ผู้ใช้ยาอื่นๆ โดยเฉพาะยากลุ่ม opioids และยากล่อมประสาท อาทิ benzodiazepines
ผู้ที่เป็นโรคตับ
ผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยสูงอายุ
การสั่งใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่มี THC เป็นส่วนประกอบในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เนื่องจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นส่งผลต่อสมองที่กำลังพัฒนาได้
สมุนไพรกระดูก กล้ามเนื้อ
ยาใช้ภายนอก
ยาหม่องไพล
บรรเทาอาการปวดเมื่อยใช้แทน
Analgesic balm
น้ำมันไพล
บรรเทาอาการปวดเมื่อยใช้แทน
Analgesic balm
ครีมไพล
บรรเทาอาการปวดเมื่อยใช้แทน
Analgesic balm
เจลพริก
บรรเทาอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
Diclofenac gel
ลูกประคบ
ส่วนประกอบ
เหง้าไพล ใบส้มป่อย เกลือแกง การบูร พิมเสน ขิงสด ว่านนางคำขมิ้นอ้อย ว่านน้ำ ใบมะขาม เปล์อกชะลูด ขมิ้นชัน ตะไคร้บ้าน ผิวมะกรูด
ยารับประทาน
เถาวัลย์เปรียง
ปวดกล้ามเนื้อใช้แทน
tolperison
กลุ่ม NSIAD เช่น Diclofenac
สหัสธารา
ปวดตึงกล้ามเนื้อใช้แทน
tolperison
กลุ่ม NSIAD เช่น Diclofenac
สมุนไพรชับปัสสาวะ
สับประรด
เหง้าสดต้มน้ำดื่ม
หญ้าคา
รากสดสับเป็นชิ้นเล็กๆต้มน้ำดื่ม
ตะไคร้
ต้นแก่สดหั่นซอยเป็นแว่นบางต้มน้ำดื่ม หรือเหง้าแก่ฝานบางคั่วไฟอ่อนพอเหลือง ชงน้ำดื่ม
หญ้าหนวดแมว
ใบแห้งต้มน้ำดื่ม
ขลู่
หั่นเป็นชิ้นต้มกับน้ำ ดื่มครั้งละถ้วยชา ใช้มากอาจเป็นตะคริว
อ้อยแดง
ลำต้นสดสับเป็นชิ้นเล็กๆต้มน้ำดื่ม
กระเจี๊ยบแดง
กลีบเลี้ยงหรือริ้วประดับตากแห้ง บดเป็นชงชงกับน้ำเดือด
สมุนไพรแต่งสี
สีผสมอาหารจากธรรมชาติ
พืช ผัก ผลไม้ หรือแม้กระทั่งดอกไม้หลายชนิดสามารถเตรียมออกมาเป็นสีจากธรรมชาติได้ง่าย ๆเพื่อเป็นทางเลือกในการเพิ่มสีสันให้อาหารและขนมต่าง ๆ ออกมาสวยงามน่ารับประทาน
สีแดง
กระเจี๊ยบแดง
ให้สีแดง
ข้าวแดง
ให้สีแดงคล้ำ
ฝาง
ให้สีชมพูอ่อน
ถั่วแดง
ให้สีแดงคล้ำ
หัวบีทรูท
ให้สีแดงทับทิม
ครั่ง
ให้สีแดงทับทิม
สีน้ำตาล
โกโก้
ให้สีน้ำตาล
สีเหลือง
ขมิ้น
ให้สีเหลือง
ดอกคำฝอย
ให้สีเหลืองส้ม
ดอกกรรณิกา
ให้สีเหลืองทอง
คำแสด (คำไทยหรือคำเงาะ)
ให้สีเหลืองอมน้ำตาล
ลูกตาล
ให้สีเหลือง
ฟักทอง
ให้สีเหลือง
มันเทศ
ให้สีเหลือง
พุด
ให้สีเหลือง
หญ้าฝรั่นหรือแซฟฟรอน
ให้สีเหลือง
สีส้ม
ส้มเขียวหวาน
ให้สีเหลืองส้ม
แครอท
ให้สีส้ม
สีเขียว
ใบเตยหอม
ให้สีเขียว
สีม่วง
ผักปลัง
ให้สีม่วง
ดอกอัญชัน
ให้สีน้ำเงินหรือสีม่วงถ้าเติมน้ำมะนาว
ข้าวเหนียวดำ
ให้สีม่วง
สีดำ
กาบมะพร้าว
ให้สีดำ
ถั่วดำ
ให้สีดำ
สมุนไพรที่มีพิษ
ความเป็นพิษของพืชจะขึ้นกับปริมาณพืชที่รับประทานเข้าไป และความทนทานต่อสารพิษของแต่ละบุคคล โอกาสที่จะเกิดพิษในเด็กจะมีมากกว่าในผู้ใหญ่
ความเป็นพิษที่เกิดขึ้นในเด็กส่วนใหญ่เนื่องจากลักษณะดอกและผลที่มีสีสันสวยดึงดูดใจ ส่วนในผู้ใหญ่มักเกิดจากการรับประทานพืชที่ไม่รู้จักชื่อ
การจำแนกกลุ่มของพืชพิษ
พืชที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กล่มุที่มีฤทธิ์ทำให้ชัก
การเกิดอาการชัก มักเกิดหลังจากประสาทถูกกระตุ้น กล้ามเนื้อ
เกิดอาการเกร็ง กระตุก คนไข้อาจตายเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว
กลุ่มที่มีฤทธิ์ทำให้ำระสาทหลอน
ตัวอย่างพืชกลุ่มนี้ ได้แก่ กัญชา จันทน์เทศ ลำโพง กลอย
กล่มุที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง
พืชส่วนใหญ่ไม่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทเพียง
อย่างเดียว แต่อาจเป็นพิษต่ออวัยวะอ่ืนๆอีกดว้ย
การรักษา
ดื่มไข่ขาวเพื่อทำให้อาเจียน หรือกินยาเม็ดถ่านเพื่อดูดซับพิษ แล้วส่งโรงพยาบาลในทันที
พืชที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง
พืชที่มีหนามหรือขน และมีสารพิษ
พืลในวงศ์ Urticaceae มีขนพิษซึ่งภายในขนจะมี protoplasm เวลาที่ผิวหนังสัมผัสกับพืชเหล่านี้ ปลายยอดของขนจะแตกออกและฉีดสารพิษออกมา ทำให้ผิวหนังบวม แดง แสบคัน และปวด
การรักษา
จะต้องกำจัดขนพิษ โดยใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัวคลึงบริเวณที่ถูกขนพิษ หรือใช้ข้าวเหนียวนึ่งสุกปั้นคลึงจนเป็นเนื้อเดียวกันนำมาคลึงบริเวณที่ถูกขนพิษให้ทั่วเพื่อให้ขนพิษติดขี้ผึ้งหรือข้าวเหนียวออกมา แล้วทาด้วยยาคาลาไมน์ หรือครีมสเตียรอยด์
พืชที่มียาง
ยางที่เป็นพิษมีได้ 2 ลักษณะ
พืชที่มียางขาว พบได้ในวงศ์ Euphorbiaceae โดยเฉพาะในสกุล Euphorbia
พืชที่มียางใสพบได้ในพืชสกุล Jatropha
การรักษา
ในกรณีที่สัมผัสกับน้ำยางใสให้ล้างด้วยน้ำและสบู่ แต่ถ้าถูกน้ำยางขาวซึ่งล้างด้วยน้ำและสบู่ไม่ออก ให้ล้างหรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วทาด้วยคาลาไมด์ และรับประทานยาแก้แพ้
พืชที่มีเอนไซม์
ตัวอย่างเช่น bromelain ที่พบในสับปะรด เป็นสารที่สามารถย่อยโปรตีนได้ จะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวเล็กน้อย
พืชที่มี calcium oxalates
พืชเหล่านี้มักจะมีผลึกของแคลเซียมออกซาเลทอยู่ภายในเซลล์ในสภาพเป็นกลุ่มที่เรียกว่า raphides ซึ่งถ้ารับประทานก็จะเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหารและถ้าสัมผัสก็จะทำให้เกิดการระคายเคือง
พืชที่มีผลต่อระบบเลือดและหัวใจ
พืชในกลุ่มนี้จะมีผลต่อการเต้นและการบีบตัวของหัวใจ และมีผลต่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
แบ่งออกได้ 2 กลุ่ม
พืชที่มีสารกลุ่มคาร์ดิแอคกลัยโคไซด์
มีพิษเมื่อรับประทานเกินขนาด ส่วนใหญ่จะเกิดพิษกับเด็กทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุปากและกระเพาะอาหารเกิดอาการอาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะ และปวดท้อง
การรักษา
พยายามทำให้อาเจียน หลังจากนั้นให้กินยาเม็ดถ่านเพื่อดูดซับพิษ แล้วส่งโรงพยาบาลในทันที
พืชที่มีสารไซยาโนจินิคกลัยโคไซด์
พืชที่มีสารไซยาโนจินิคกลัยโคไซด์ เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกเอนไซม์ Hydrolyses ได้สารไซยาไนด์ซึ่งสารนี้จะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในเลือด ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน เกิดอาการหน้าเขียวคลื่นไส้ อาเจียน เดินโซเซ ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้
สารไซยาโนจินิคกลัยโคไซด์ เป็นสารที่สลายตัวได้เมื่อถูกความร้อน ฉะนั้นพืชเหล่านี้ถ้าผ่านกระบวนการใช้ความร้อน ไม่ว่าจะเป็นการต้ม เผา ปิ้ง ก็จะรับประทานได้
พืชที่มีผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ
พืชกลุ่มนี้ได้แก่ ลูกเนียง เมื่อกินเข้าไปจะเกิดอาการพิษภายใน 2 - 14 ชั่วโมง เริ่มจากมีอาการปวดตามขาหนีบ ปัสสาวะยาก แสบขัด มีอาการปวดเวลาปัสสาวะ
วิธีการลดพิษ โดยการเพาะให้งอก หั่นเป็นชิ้นบางๆตากแดดเล็กน้อย เพื่อเป็นการลดพิษของลูกเนียง
การรักษา
แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆแล้วส่งโรงพยาบาลหากมีอาการรุนเเรง
พืชที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร
กลุ่มที่มีผลระคายเคืองต่อเยื่อบุปากและลำคอ
ออกฤทธิ์ทันทีทำให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณปากและคอ
พืชเหล่านี้มักจะมีผลึกของแคลเซียมออกซาเลทอยู่ภายในเซลล์ในสภาพเป็นกลุ่มที่เรียกว่า raphidesซึ่งเมื่อถูกน้ำผลึกนี้จะแตกออก ทำให้ปวดแสบปวดร้อนภายในปาก
ตัวอย่างพืชกลุ่มนี้ส่วนใหญ่พบได้ในวงศ์ Araceae
การรักษา
ล้างปาก รับประทานยาลดกรดครงั้ละ 2 ช้อนโต๊ะ ทุกๆ 2 ชั่วโมงหรือใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งสามารถละลายผลึก Calcium oxalate ได้
กลุ่มที่มีผลระคายเคืองต่อเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร
ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ
พืชพวกนี้เมื่อกินเข้าไปจะทำให้เกิดการอาเจียนและท้องเสียเล็กน้อย เพราะว่าพืชเหล่านี้มีสารพิษที่เป็นแอลคาลอยด์ชื่อ lycorine, crinamine, lycoramine ซึ่งมีผลไปกระตุ้นศูนย์การอาเจียนที่สมองทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย
การรักษา
ไม่ควรกระตุ้นผู้ป่วยให้อาเจียน เพราะผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนอยู่แล้ว ควรจะล้างท้อง และใช้ถ่านในการดูดพิษแอลคาลอยด์ และควรให้เกลือแร่ป้องกันการสูญเสียน้ำและแร่ธาตุ
กลุ่มที่มีผลระคายเคืองต่อเยื่อบุลำไส้
ผู้ป่วยที่รับประทานพืชพิษที่มีซาโปนินจะทำให้เกิดระคายเคืองต่อเยื่อบุผนังลำไส้หรือทำให้อักเสบได้ แล้วมีการดูดซึมสารพิษเข้าสู่กระแสเลือด มีผลทำให้เม็ดเลือดแดงแตก
การรักษา
ถ้าอาการไม่รุนแรง ให้รับประทานยาเคลือบกระเพาะอาหาร หรือดื่มนม หรือกินไข่ขาว แล้วนำส่งโรงพยาบาล
ถ้ากินเข้าไปจะไม่มีอาการคันคอ แต่จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย หลังจากรับประทานเข้าไปภายใน 1 ชั่วโมง
กลุ่มที่มีผลทำให้กระเพาะและลำไส้อักเสบอย่างช้าๆ
พืชพิษกลุ่มนี้เมื่อรับประทานเข้าไประยะเวลาหนึ่งจึงจะท าให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร พืชบางชนิดอาจใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง
พืชพิษกลุ่มนี้แบ่งออกได้ 4 กลุ่มย่อย
กลุ่มที่มีสารสเตียรอยด์แอคคาลอยด์ที่เป็นพิษ
โดยทั่วไปจะถูกดูดซึมได้น้อย แต่ถ้าผนังกระเพาะและลำไส้อักเสบจะถูกดูดซึมเข้าไปสู่กระแสเลือดได้ สารโซลานีนก่อเกิดพิษน้อยในผู้ใหญ่ โดยทั่วไปจะระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้ ทำให้ปวดศีรษะและเซื่องซึม
กลุ่มที่มีสารออกซาเลทหรือกรดออกซาลิก
ในปริมาณน้อยจะไม่เป็นพิษ ถ้าในปริมาณมากจะทำใหเ้กิดอาการคัน จะถูกดูดซึมผ่านผนังที่อักเสบทำให้เกิดเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณแคลเซียมอิออนลดลง ทำให้ไตพิการเนื่องจากมีการตกตะกอนของแคลเซียมออกซาเลท
กลุ่มที่มีสารเลคติน
สารเลคตินเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งถูกดูดซึมได้อย่างช้า ๆ ในระบบทางเดิน
อาหารที่อักเสบเข้าสู่กระแสเลือด ท าให้เกิดพิษทั่วร่างกาย
การรักษา
ทำให้คนไข้อาเจียน และรับประทานยาเคลือบกระเพาะอาหาร หรือดื่มนม หรือกินไข่ขาวแล้วรีบส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อล้างท้อง หรือให้รับประทานยาถ่ายเพื่อลดการดูดซึมสารพิษ
กลุ่มที่มีสารโคลชิซีน
เมื่อได้รับสารชนิดนี้เข้าไปในร่างกายในปริมาณมาก (ประมาณ 3 มก.) อาการเป็นพิษก็จะแสดงออกมาหลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง โดยจะมีอาการแสบร้อนในปากและลำคอ ทำให้คอแห้ง กระหายน้ำรู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก
การรักษา
ให้ยาเคลือบกระเพาะอาหาร แล้วรีบส่งโรงพยาบาลทันทีเพื่อป้องกันการช็อค และให้การรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น
สมุนไพรไล่แมลงและสัตว์รังควาน
สมุนไพรไล่ยุง
กะเพรา ขมิ้น ตะไคร้หอม มะกรูด ไพรีทรัม
สมุนไพรไล่มอด
กะพรา กระวาน กานพลู พริกไทยดำ พริกแห้ง ใบมะกรูดสด
สมุนไพรไล่มด
หน่อไม้ดอง พริกป่น ขมิ้น พริกสดและผิวมะกรูด
สมุนไพรไล่ปลวก
ข่า ตะไคร้ กระเทียม ใบขี้เหล็ก น้ำส้มสายชู เกลือ
สมุนไพรไล่แมงมุม
ส้ม เปเปอร์มินต์ เกลือ เกาลัด
สมุนไพรไล่แมลงสาบ
ใบกระวานแห้ง กานพลู พริกไทย
แมลงสาบไม่ชอบกลิ่นสมุนไพรกลุ่มเครื่องเทศที่มีกลิ่นที่ฉุนรุนแรง
สมุนไพรไล่แมลงวัน
เปลือกส้ม น้ำส้มสายชู กระเทียม ผักกลิ่นฉุน ตะไคร้หอม
สมุนไพรไล่แมลงหวี่
กาบมะพร้าวกับเครือกระทกรก ใบหางนกยูง ดอกดาวเรือง ตะไคร้
สมุนไพรไล่ต๊ักแตน
น้อยหน่า สะเดา เลี่ยน
สมุนไพรไล่เพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้ง น้ำยาล้างจาน พริกสด
สมุนไพรไล่เพลี้ยอ่อน
หางไหลแดง ยาสูบ สะเดา สาบเสื้อ
สมุนไพรฆ่าเหา
ยูคาลิปตัส หนอนตายหยาก น้อยหน่า ผักเสี้ยน
สมุนไพรไล่เห็บ หมัด
มะคำดีควาย มะขาม น้อยหน่า สะเดา ไพล เมล็ดมันแถว
สมุนไพรไล่หนู
ใบพลูข่า กระเทียม น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันระกา น้ำมันสะระแหน่ มะกรูด ยี่โถ
สมุนไพรไล่จิง้จก
ใบสาบเสือ ใบน้อยหน่า
น้ำส้มควันไม้
ป้องกันปลวก มด แมลง ตะขาบ แมงป่อง กิ้งกือ
ดับกลิ่นขยะและไล่แมลงวัน ใช้ราดดับกลิ่นห้องน้ำ ห้องครัว และบริเวณที่ชื้นแฉะ
ทำลายปลวกและมด
ช่วยขับไล่แมลงศัตรูพืช
เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสารเร่งการเติบโตของพืช
สมุนไพรที่ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย
ฟ้าทะลายโจร
ใบสดต้มเอาน้ำดื่มหรือผึ่งให้แห้ง บดเป็นผงทำเป็นลูกกลอน ใบแห้งดองเหล้า 7 วัน
ทับทิม
เปลิอกผลแห้งฝนหรือต้มกับน้ำปูนใสดื่ม
กล้วยน้ำว้า
ผลห่ามหรือผลดิบฝานตากแดดหรืออบ บดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือผสมน้ำผึ้งเป็นลูกกลอน
มังคุด
เปลือกผลแห้งย่างไฟให้เกรียมฝนกับน้ำปูนใส หรือบดเป็นผงละลายน้ำข้าวหรือน้ำต้มสุก
ฝรั่ง
ใบแก่ปิ้งไฟชงน้ำดื่ม หรือผลอ่อนฝนกับน้ำปูนใส ทานเมื่อมีอาการ
สีเสียดเหนือ
ก้อนบดผงต้มเอาน้ำดื่ม
ยาตำรับแผนไทย
ยาธาตุบรรจบ
ยาแคปซูลฟ้าทะลายโจร
ยาเหลืองปิดสมุทร
ยาผงกล้วย
สมุนไพรที่ใช้ขับพยาธิ
มะเกลือ
ผลสดโขลกพอแหลกผสมกะทิสดคั้นเอาแต่น้ำดื่มทันที 3 ชั่วโมงไม่ถ่ายใช้น้ำผสมดีเกลือดื่มช่วยถ่าย
ข้อห้าม
สตรีตั้งครรภ์หรือหลังคลอดใหม่ๆ
ผู้ป่วยมีไข้
เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี
ผู้ป่วยโรคอื่นๆ
ข้อควรระวัง
เมื่อนำผลสดมาคั้นน้ำแล้วให้รับประทานโดยทันที ห้ามทิ้งไว้นาน เพราะจะเกิดพิษ
ห้ามปั่นกับน้ำปูนใส
ควรใช้ผลมะเกลือสดสีเขียว เพราะผลแก่สีดำจะมีพิษ
อย่าใช้มะเกลือมากเกินขนาด เพราะอาจมีอาการผิดปกติ
ผลข้างเคียง
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย วิงเวียน ปวดท้อง ปวดศรีษะ ตามัว
มะหาด
ผลปวกหาดบดละเอียดผสมในน้ำสุกเย็นหลังให้ยา 2 ชั่วโมงใช้น้ำผสมดีเกลือดื่มช่วยถ่ายตาม
ฟักทอง
เมล็ดทุบให้แตกผสมน้ำตาลและนมหรือน้ำหลังให้ยา 2 ชั่วโมง ทานน้ำมั้นละหุ่งระบายตาม
เล็บมือนาง
เมล็ดทุบพอแหลกต้มเอาน้ำดื่ม หรือหั่นทอดกับไข่กิน
สะแก
เมล็ดแก่ตำให้ละเอียดทอดกับไข่กิน
มะขาม
เมล็ดแก่คั้วกระเทาะเปลือกเอาเนื้อด้านใน แช่น้ำเกลือจนนุ่น
สมุนไพรที่ใช้เป็นยาระบาย
ขี้เหล็ก
ใบต้มเอาน้ำดื่มหรือใช้ใบอ่อนดองเหล้า 7 วัน
คูน
เนื้อในฝักต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย
แมงลัก
เมล็ดล้างสะอาดแช่น้ำอุ่นจนพองตัวเต็มที่
ขิง
เหง้าแก่สดทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม
มะขามแขก
ใบแห้งต้มน้ำดื่มหรือบดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้ฝักต้มน้ำดื่ม ไม่ควรใช้กับคนท้องหรือกำลังมีประจำเดือน
กะเพรา
ใบและยอดต้มเอาน้ำดื่ม
มะขาม
มะขามเปียกจิ้มเกลือทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆหรือคั้นน้ำใส่เกลือเล็กน้อยดื่ม
ยอ
ผลดิบหรือผลห่ามสดฝานเป็นชิ้นบาง ย่างหรือคั่วไฟอ่อนให้เหลืองกรอบต้มหรือชงน้ำดื่ม
ชุมเห็ดเทศ
ดอกสดต้มจิ้มน้ำพริก ใบสดหั่นตากแห้งต้มเอาน้ำดื่ม ใบแห้งบดเป็นผงชงแบบชาถุงหรือปั้นเป็นลูกกลอน
ใช้แทน Bisacodyl
ยาแผนไทย
ยาระบายดีเกลือฝรั่ง MgSO
ยาระบายชุมเห็ดเทศ
ยาระบายธรณีสันฑะฆาต
ยาระบายมะขามแขก