Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู - Coggle Diagram
บทที่ 5 ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
1. ความสําคัญภาษาและวัฒนธรรมไทยสําหรับความเป็นครู
ความสําคัญของภาษา
ภาษามีประโยชน์มากมาย ได้แก่ ภาษาช่วยธํารงสังคม ภาษาแสดงความเป็น ปัจเจกบุคคล ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา ภาษาช่วยกําหนดอนาคต ภาษาช่วยจรรโลงใจ
ความสําคัญของวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ
วัฒนธรรมช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว
วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหา และสนองความต้องการของมนุษย์
วัฒนธรรมเป็นตัวกําหนดรูปแบบของสถาบัน
วัฒนธรรมทําให้เกิดความสามัคคีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
วัฒนธรรมเป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคมมนุษย์ในสังคมไทย ให้มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน
คุณลักษณะความเป็นครู
ช่วยเสริมสร้างความรู้และเข้าใจในบริบทสภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่างทั้งภูมิภาคของประเทศไทย ภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ตะวันออกและตะวันตก
คุณลักษณะความเป็นครู
ครูที่ดีควรจะประกอบด้วยคุณลักษณะที่สําคัญๆ
บุคลิกที่ดี คือ รูปร่างท่าทางดี แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะ และมีลักษณะเป็นผู้นํา
มีความรู้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ เชื่อมั่นในตนเอง กระตือรือร้นและสุขภาพแข็งแรง
การสอนดีและปกครองดี คือ อธิบายได้แจ่มแจ้งชัดเจนครบทุกกระบวนความ สอนสนุกสนานปกครองดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยที่ดีงาม
ความประพฤติดี คือ เว้นจากอบายมุขทุกอย่าง แต่ความดีทั้งกาย วาจา ใจ มีคุณธรรมและจริยธรรมสูง มีความซื่อสัตย์ เสียสละ มีเมตตากรุณา มีความยุติธรรม และมีมานะอดทน
มีมนุษย์สัมพันธ์อันดี คือ มีอัธยาศัยไมตรีกับคนทุกเพศ ทุกวัย และมีน้ําใจเป็นประชาธิปไตย
บทบาทของครูในฐานะผู้ถ่ายทอดภาษาและวัฒนธรรม
มุมมองต่อวัฒนธรรมในยุคปัจจุบัน
วัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่งเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เกิดจากการแบ่งปันกันระหว่างคนในสังคม รวมไปถึง การสื่อสาร ส่งผลให้วัฒนธรรมมีความแตกต่างหลากหลายไม่อาจแยกออกจากวิถีชีวิตประจําวันของมนุษย์ได้
วัฒนธรรมไทยกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย
แบ่งวัฒนธรรมออกเป็นสามแบบ คือ วัฒนธรรมหลัก วัฒนธรรมรอง และวัฒนธรรมสากล
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ
มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยึดมั่นในขบธรรมเนียมประเพณีของพระพุทธศาสนา ที่แสดงออกถึงมิตรไมตรีและความเอื้อเฟิ้อเผื่อแผ่ต่อกัน
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง
ส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดํารงชีวิตอย่างเรียบง่าย วัฒนธรรมต่าง ๆ ของภาคอีสานเป็นการนําแนวความคิด ความศรัทธา และความเชื่อที่ได้สั่งสมลืบทอดเป็นมรดกต่อกันมา
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
เป็นแหล่งรับอารยธรรมพระพุทธศาสนา, พราหมณ์-ฮินดู, อิสลาม ซึ่งได้หล่อหลอมเข้ากับความเชื่อดั้งเดิม ก่อให้เกิดการบูรณาการเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภาษา และวัฒนธรรมเป็นฐาน
ศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ
การพูดเป็นจึงเป็นการถ่ายทอดความคิด ความรู้จากตัวผู้พูดไปยังผู้ฟัง เพื่อให้ผู้ฟังมีความรู้ ความเข้าใจ ครูสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ ครูผู้มีความสามารถในการถ่ายทอดนั้น จะต้องฝึกโดยการอาศัยพรแสวงมากกว่าพรสวรรค์
เทคนิคในการถ่ายทอดของครู
ครูต้องเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจตั้งแต่เริ่มเพื่อลดช่องว่างระหว่างครูและนักเรียนให้มีส่วนร่วมโดยง่าย ซึ่งจะทําให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย ศิลปะในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
ครูควรนําสื่อมาสร้างช่องทางการรับรู้
ของผู้เรียน ในขณะเดียวกัน การสร้างแรงจูงใจ กระตือรือร้น ร่วมมือที่จะเรียนรู้ มีบรรยากาศดี หลักการเรียนรู้ที่ครูจัดกิจกรรมต้องนํามาใช้ คือ การพูดให้เข้าใจ ต้องได้เนื้อหาสาระคละเคล้าสนุก มีการปลุกสมองให้รู้จัดคิด