Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน …
บทที่ 7
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน
ตามแนวทางโรงเรียนพหุวัฒนธรรม
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐานตามนาวทางโรงเรียนพหุวัฒนธรรม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ได้แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระดับ
ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะ พื้นฐานด้านการอ่านการเขียน การคิดคำนวณ การคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัด และความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน มีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้น การเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน
การจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม
จัดเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไรจึงจะสามารถพัฒนาผู้เรียนที่มีความหลากหลายเหล่านี้ให้พัฒนาสูงสุดตามศักยภาพของตน และเป็นพลเมืองที่ดีของชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ความหมายของการศึกษาพหุวัฒนธรรม
กระบวนการจัดการศึกษารูปแบบหนึ่ง ที่พัฒนามาจากปรัชญา ความเชื่อ ค่านิยมแบบประชาธิปไตย และความเชื่อในคุณค่าของความหลากหลายวัฒนธรรม (Multiculturalism) โดยการจัดสภาพแวดล้อมให้กับผู้เรียนจากต่างวัฒนธรรม
รูปแบบการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม
จัดกิจกรรมพร้อม ๆ กันทั้ง 5 แนวทางดังกล่าว ทั้งในด้านการบูรณาการเนื้อหา การสร้างความรู้ใหม่ การลดอคติ การสอนที่ยึดหลักความยุติธรรม และการปรับโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมในโรงเรียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษาแนวพหุวัฒนธรรม นั่นคือการปลูกฝังเยาวชนของชาติที่มีความต่างกัน ทั้งด้านชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิต ให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการเรียนโดยเสมอภาคกัน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมแนะแนว
เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพสามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมนักเรียน
แนวการจัดกิจกรรมชุมนุม
กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติในลักษณะอาสาสมัครเพื่อช่วย
แนวทางการจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมในโรงเรียน
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม คือกระบวนการให้การศึกษาระดับขั้นพื้นฐานช่วยให้เด็กและเยาวชน ประชาชนเข้าใจ และยอมรับซึ่งความแตกต่างในเรื่องของความเป็นชนกลุ่มน้อย ด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ลัทธิความเชื่อ
หลักการที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม คือการอยู่ร่วมกันของชุมชนชาวพุทธ คือการให้ทาน พูดจาที่ไพเราะ ทำตนให้เป็นประโยชน์ ชุมชนชาวคริสต์ คือส่งเสริมให้มีการพัฒนาเปิดกว้างให้แต่ละชุมชนเข้าสู่สังคมอย่างเท่าเทียมกัน ชุมชนชาวอิสลามคือการให้ทุกคนในสังคมหันมาเข้าใจในความแตกต่างและสนใจที่จะเรียนรู้ความแตกต่างกับความรู้ที่มีอยู่
การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร คือ การอยู่ร่วมกันของคนในที่หลากหลายวัฒนธรรม