Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี - Coggle Diagram
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี
เครื่องตีที่ทำด้วยไม้
กรับพวง
เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ และโลหะลักษณะเป็นแผ่นบางหลายแผ่นร้อยเข้าด้วยกัน ใช้ไม้หนา สองชิ้นประกบไว้ วิธีตี ใช้มือหนึ่งถือกรับ แล้วตีกรับลงไปบนอีกมือหนึ่งที่รองรับ ทำให้เกิดเสียงกระทบ จากแผ่นไม้ หรือแผ่นโลหะดังกล่าว ใช้ตีในการบรรเลงมโหรีโบราณ เล่นเพลงเรือ และโขนละคร
กรับเสภา
เป็นกรับชนิดหนึ่งที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม มีสันมน ด้านหนึ่ง ยาวประมาณ ๒๐ ซม. กว้าง ๕ ซม. หนาประมาณ ๕ ซม.การตีใช้ขยับมือมือละคู่ ในปัจจุบันมีนักดนตรีนำกรับมาทำเลียนแบบกรับเสภา ลักษณะของกรับเสภาเป็นแท่ง สี่เหลี่ยมไม่นูนมาก ใช้ตีเป็นจังหวะโดยมุ่งเน้นจังหวะตก เช่น ใช้จังหวะฉิ่งฉับ กรับจะลงเฉพาะจังหวะฉับเท่านั้น การขับเสภาใช้กรับสองคู่ ถือมือละคู่ ผู้ขับเสภาจะขยับกรับสองคู่นี้ ตามท่วงทำนองที่เรียกเป็นไม้ต่างๆ เช่น ไม้กรอ ไม้รบ เป็นต้น
โกร่ง
เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยเลาไม้ไผ่ ยาวประมาณหนึ่งหรือสองวา หรือตามต้องการ ปาดเป็นรูยาวไปตามปล้องไม้ไผ่ หรือเว้นตรงข้อก็ได้ปาดทั้งสองข้างหรือข้างเดียวแต่สลับปล้องกันก็ได้ เพื่อให้ ตีก้องขึ้น เวลาตีให้วางราบไปตามพื้นมีไม้รองหัวท้าย โกร่งนั้นแต่ก่อนใช้ในการใดไม่ทราบ แต่ในการเล่นประจำฤดู เทศกาลสงกรานต์ เด็กๆและหนุ่มสาวบางท้องถิ่นใช้ตีประกอบการร้อง ซึ่งเรียกว่า “ร่า” คือตีและร้อง เชิญเจ้าเข้าผี และรำแม่ศรี เป็นต้น ที่ใช้บรรเลงรวมวงปี่พาทย์ก็ยังมี เช่น ในการแสดงหนังใหญ่ และโขนละครกลางแจ้งถ้าเป็น การแสดงภายในโรงหรือภายในอาคารก็ไม่ได้ใช้เพราะจะทำให้เสียงดังกึกก้องเกินไป
ระนาดเอก
สันนิษฐานว่าวิวัฒนาการมาจากกรับหลายๆอันวางเรียงตีให้เกิดเสียง แล้วจึงนำมาวางเรียงบนรางเพื่อให้อุ้มเสียงได้ จากนั้นใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆ แล้วจึงวางบนราง ตีแล้วทำให้เกิดเสียงกังวานลดหลั่นกันไปตามลูกระนาด ต่อมาใช้ตะกั่วถ่วงให้ไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆว่า “ลูกระนาด” และเรียกลูกระนาดที่ร้อยเชือกโยงว่า “ผืนระนาด" ปัจจุบันมีทั้งหมด22ลูก ลูกระนาดแต่ก่อนทำจากไม้ไผ่ชนิดที่เรียกว่า ไผ่บง ต่อมามีผู้ใช้ไม้แก่น เช่น ชิงชัน ไม้มหาด ไม้พยุงมาทำระนาดที่ให้เสียงแกร่งกร้าว เป็นระนาดดั่งเดิม เรียกว่า ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
เป็นการสร้างเลียนแบบระนาดเอก สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ลูก ระนาด มีจำนวน ๑๗ ลูก ตัวลูกมีขนาดกว้างและยาวกว่าของระนาดเอก ตัวรางแตกต่างจากระนาด เอกคือเป็นรูปคล้ายหีบไม้แต่เว้ากลาง มีโขนปิดหัวท้าย มีเท้าอยู่สี่มุมราง ไม้ตีตอนปลายใช้ผ้าพัน พอกให้โต และนุ่ม เวลาตีจะได้เสียงทุ้ม ระนาดทุ้มใช้บรรเลงในวงปี พาทย์ทั่วไป มีวิธีการบรรเลง แตกต่างไปจากระนาดเอก คือไม่ได้ยึดการบรรเลงคู่ ๘ เป็นหลัก
เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ
ขิม
เป็นเครื่องดนตรีที่เข้าใจว่าเข้ามาในไทยเมื่อต้นรัตนโกสินทร์ ครั้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีนักดนตรีนำขิมมาบรรเลงในวงดนตรีไทย
ระนาดเอกเหล็ก
เก็บแทรกแซงตามทำนองเพลง รูปร่างเหมือนระนาดทอง แต่ลูกระนาดทำด้วยเหล็ก สร้างภายหลังระนาดทอง ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
ระนาดทุ้มเหล็ก
หน้าที่หยอกล้อห่างๆไปกับเครื่องดำเนินทำนองอื่นๆ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้สร้างขึ้น ลักษณะลูกระนาดเหมือนระนาดทองหรือระนาดเอกเหล็ก แต่มีขนาดใหญ่กว่าเพื่อให้เสียงทุ้ม มีลูกระนาด ๑๗ ลูกเท้า ๔ เท้า ไม้ตีเหมือนระนาดทอง ต่างกันที่มีขนาดใหญ่กว่า
ระนาดทอง
หน้าที่เก็บแทรกแซงตามทำนองเพลง สร้างขึ้นในสมัย รัชกาลที่ ๔ เลียนแบบระนาดเอก ลูกระนาด ทำจากทองเหลืองรางระนาด(ไม้รูปสี่เหลี่ยม) ลูกระนาด ๒๑ ลูก เท้า ๔ เท้า ไม้ตีปลายไม้ทำแผ่นหนังดิบตัดเป็นวงกลมเจาะรูตรงกลางแล้วเอาไม้ด้ามเสียบลงในรูกลางแผ่นหนัง และด้ามถือจะเล็กกว่าของระนาดทุ้ม
มโหระทึก
เป็นกลองหน้าเดียว หล่อด้วยโลหะทั้งลูก มโหระทึกมีมาตั้งแต่ยุคโลหะตอนปลาย พบในหลาย ประเทศในสุวรรณภูมิ ตัวกลองมีหน้ากลองแบนกว้าง บริเวณตรงกลางหน้ากลองนิยมทำเป็นรูปดาว และมีลวดลายอื่น ๆ ประกอบ ด้านข้างตัวกลางมักจะสลักลวดลายต่าง ๆ ฐานกลองเป็นทรงกระบอก ๖ กลวง
กังสดาล
เป็นระฆังวงเดือน หล่อจากสัมฤทธิ์หรือทองเหลือง ด้านบนเจาะรูไว้แขวน ใช้เป็นเครื่องตีบอก สัญญาณของพระสงฆ์ในสมัยโบราณ และใช้ประกอบการบรรเลงดนตรีในบางโอกาส
ฉิ่ง
เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะ ทำด้วยโลหะ หล่อหนา รูปร่างกลม เว้ากลาง ปากผาย คล้ายฝาขนม ครกไม่มีจุก สำรับหนึ่งมีสองฝาเจาะรูตรงกลางที่เว้า สำหรับร้อยเชือกโยงฝาทั้งสอง เพื่อสะดวกใน การถือตี ฉิ่งมีสองขนาด ขนาดใหญ่ใช้ประกอบวงปีพาทย์ ขนาดเล็กใช้กับวงเครื่องสาย และมโหรี
ฉาบเล็กและฉาบใหญ่
เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะ ทำด้วยโลหะ รูปร่างคล้ายฉิ่ง แต่มีขนาดใหญ่กว่าและหล่อบางกว่า มีสองขนาด ขนาดใหญ่ กว่าเรียกว่า ฉาบใหญ่ ขนาดเล็กกว่า เรียกว่า ฉาบเล็ก การตีจะตีแบบ ประกบ และตีแบบเปิดให้เสียงต่างกัน
ฆ้องโหม่ง
ใช้ตีกำกับจังหวะ มีขนาดใหญ่รองลงมาจากฆ้องหุ่ย ได้ชื่อนี้ตามเสียงที่เกิดจากการตี แขวน ห้อยกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตีเสียงดังโหม่ง จึงเรียกว่าฆ้องโหม่ง
ฆ้องเหม่ง
มีขนาดเล็กกว่าฆ้องโหม่ง มีความหนากว่าฆ้องธรรมดามาก แขวนห้อยกับไม้คานสำหรับถือ ไม้ตีใช้ไม้เนื้อแข็งไม่พันผ้า มีเสียงดัง “เหม่ง-เหม่ง” จึงเรียกว่า ฆ้องเหม่ง เป็นเครื่องกำกับ จังหวะอยู่ในวงบัวลอย ใช้บรรเลงในงานศพของเจ้านาย
ฆ้องหุ่ย มี ๒แบบ
คือ
แบบที่ ๑
เป็นฆ้องขนาดใหญ่ที่สุด เมื่อตี เสียงจะกังวานกระหึ่มไปไกล จึงเรียกตามเสียงว่า ฆ้องหุ่ย บางทีเรียกว่าฆ้องชัย เนื่องจากสมัยโบราณใช้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ปัจจุบันใช้ตีในพิธี มงคลต่าง ๆ เช่นพระเจริญพระพุทธมนต์จบบทหนึ่งๆ หรือคนทำขวัญว่าไปจบตอนหนึ่งๆ ฯลฯ
แบบที่๒
ใช้ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ โดยใช้ฆ้องหุ่ย ๗ ลูก ปรับเสียงเรียงกัน ๗ เสียง แขวน รอบตัวผู้ตีสำหรับดำเนินทำนองเพลงห่างๆ ใช้ตีกำกับจังหวะ
ฆ้องวงเล็ก
มีลูกฆ้อง ๑๘ ลูก ใช้บรรเลงร่วมในวงปี่ พาทย์ มีหน้าที่เก็บ สอดแทรก
ฆ้องวงใหญ่
มีหน้าที่เดินเนื้อเพลง เป็นหลักของเครื่องดำเนินทำนองอื่นๆ มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก ลูก เสียงต่ำสุดเรียกว่า ลูกทวน ลูกเสียงสูงสุดเรียกว่า ลูกยอด ทำด้วยโลหะผสมระหว่างทองแดง ดีบุก สังกะสี ไม้ตีมี ๒ อัน ผู้ตีถือไม้ตีมือละอัน ร้านฆ้องทำจากหวายโป่งดัด ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์
ฆ้องมอญ
เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง มีลูกฆ้อง ๑๕ ลูก ใช้บรรเลงใน วงปี่พาทย์มอญ ตัวรางประดิษฐ์ตกแต่งงดงาม (รางฆ้องมอญโบราณโค้งทางซ้ายมือของผู้ตีนิยมแกะเป็นรูปตัวกินนร เรียกว่า “หน้าพระ” ทางปลายโค้ง ด้านขวาทำเป็นพู่ปลายหางของกินนร ตอนกลางโค้ง แกะเป็น กระหนกใบเทศปิดทองประดับกระจก ปัจจุบันแบบอย่างได้เปลี่ยนไปบ้าง)
ฆ้องคู่
ใช้ตีกำกับจังหวะ ชุดหนึ่งมีสองลูก ลูกใหญ่ให้เสียงต่ำ ลูกเล็กให้เสียงสูง เทียบห่างกันเป็นคู่ ๖ บ้าง คู่๕บ้าง ใช้บรรเลงร่วมกับ กลองชาตรี โทน ฉิ่ง กรับ สำหรับการประกอบหนังตะลุง และละครโนราชาตรี
เครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง
กลองแขก
มีรูปร่างยาวเป็นกระบอก หน้าด้านหนึ่งใหญ่เรียกว่า "หน้ารุ่ย" หน้าด้านหนึ่งเล็ก เรียกว่า "หน้าต่าน" สำรับหนึ่งมีสองลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า "ตัวผู้" ลูกเสียงต่ำเรียกว่า "ตัวเมีย" การตีใช้ฝ่ามือทั้งสองตีทั้งสองหน้าให้เสียงสอดสลับกันทั้งสองลูก กลองชนิดนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กลองชะวา"
กลองชนะ
รูปร่างเหมือนกลองแขกแต่สั้นกว่า หน้าหนึ่งใหญ่ อีกหน้าหนึ่งเล็ก ใช้ตีด้วยไม้งอ ๆ หรือหวายตีทางด้านหน้าใหญ่ เดิมกลองชนะน่าจะใช้ในกองทัพ หรือในการสงคราม ต่อมาใช้เป็น เครื่องประโคมในกระบวนพยุหยาตรา และใช้ประโคมพระบรมศพ พระศพ และศพ ตามเกียรติยศของงาน จำนวนที่ใช้บรรเลงมีตั้งแต่ ๑ คู่ ขึ้นไป
กลองชาตรี
มีรูปร่างลักษณะและการตีเช่นเดียวกับกลองทัด แต่ขนาดเล็กกว่ากลองทัด ประมาณครึ่งหนึ่ง ขึ้นหนังสองหน้า ใช้บรรเลงร่วมในวงปีพาทย์ในการแสดงละครชาตรีที่เรียกว่า "ปีพาทย์ชาตรี" ใช้เล่นคู่กับโทนชาตรี แต่ก่อนใช้ใบเดียว ต่อมาใช้ ๒ ใบ
กลองต๊อก
เป็นกลองจีนชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็ก หุ่นกลองหนา ขึ้นหนังสองหน้า หน้าทั้งสองมี ขนาดเท่ากัน ตีหน้าเดียวโดยใช้ไม้ขนาดเล็ก
กลองตะโพน
มีสองลูก เสียงสูงต่ำต่างกัน ถอดเท้าออก แล้วนำมาตั้งเอาหน้าเท่งขึ้นตีแบบกลองทัด ใช้ไม้นวมที่ใช้ตีระนาดเป็นไม้ตี คิดโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ สำหรับบรรเลงในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบละครดึกดำบรรพ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕
กลองทัด
มีรูปทรงกระบอก กลางป่องออกเล็กน้อย ขึ้นหนังสองหน้า ตรึงด้วยหมุดที่เรียกว่า "แส้" ซึ่งทำด้วยไม้ งาช้าง กระดูกสัตว์ หรือโลหะ หน้ากลองด้านหนึ่งติดข้าวตะโพน แล้วตีอีกด้าน หนึ่ง ใช้ไม้ตีสองอัน สำรับหนึ่งมีสองลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า "ตัวผู้" ลูกเสียงต่ำเรียกว่า "ตัวเมีย" ตัวผู้ อยู่ทางขวา และตัวเมียอยู่ทางซ้ายของผู้ตีกลองทัดน่าจะเป็นกลองของไทยมาแต่โบราณ ใช้บรรเลง รวมอยู่ในวงปีพาทย์มาจนถึงปัจจุบัน
กลองมลายู
มีรูปร่างลักษณะเหมือนกลองแขก แต่สั้นและอ้วนกว่า หน้าหนึ่งใหญ่ อีกหน้า หนึ่งเล็กขึ้นหนังสองหน้า เร่งให้ตึงด้วยหนังรูดให้แน่น สายโยงเร่งเสียงทำด้วยหนัง หน้าใหญ่อยู่ทางขวาตีด้วยไม้งอ หน้าเล็กตีด้วยฝ่ามือ ใช้บรรเลงในวงบัวลอยในงานศพ และใช้บรรเลง ในวงปี่ พาทย์นางหงส์ใช้บรรเลงในกระบวนแห่ เช่น แห่พระบรมศพและพระศพ
กลองโมงครุ่ม
มีรูปร่างลักษณะเหมือนกลองทัดแต่ใหญ่กว่า ขึ้นหนังสองหน้าตรึงด้วยหมุด ตี หน้าเดียวโดยใช้ไม้ตี ใช้ตีในการเล่นสมัยโบราณที่เรียกว่า "โมงครุ่ม" หรือ "โหม่งครุ่ม”ซึ่งมักตีฆ้อง โหม่งประกอบด้วย
กลองยาว
หุ่นกลองทำด้วยไม้ ตอนหน้าใหญ่ ตอนท้ายเรียวแล้วบานปลายเป็นรูปดอกล าโพงมี หลายขนาด ขึ้นหนังหน้าเดียว ตัวกลางนิยมตบแต่งให้สวยงามด้วยผ้าสีหรือผ้าดอกเย็บจีบย่น ปล่อย เชิงเป็นระบายห้อยมาปกด้วยกลอง มีสายสะพายสำหรับคล้องสะพายบ่า ใช้ตีด้วยฝ่ามือ นิยมเล่นในงานพิธี ขบวนแห่ กลองชนิดนี้เรียกชื่อตามเสียงที่ตีได้อีกชื่อหนึ่งว่า "กลองเถิดเทิง"
กลองสองหน้า
ใช้ใบเดียว ลักษณะคล้ายเปิงมาง แต่ใหญ่กว่า เริ่มใช้ในรัชกาลที่ ๒บรรเลงในวง ปี่พาทย์ประกอบการขับเสภา ส่วนประกอบกลองประกอบด้วยหุ่นกลอง หน้ากลองใช้ข้าวสุกถ่วง เสียงใช้ตีทั้ง ๒ หน้า
ตะโพนมอญ
คล้ายตะโพนไทยแต่ใหญ่กว่า ตรงกลางหุ่นป่องน้อยกว่า มีเสียงดังกังวานลึกกว่า ตะโพนไทย หน้าใหญ่เรียกว่า "เมิกโนด" หน้าเล็กเรียกว่า "เมิกโด้ด" เป็นภาษามอญ ตะโพนมอญ ใช้บรรเลงผสมในวงปี่พาทย์มอญ มีหน้าที่บรรเลงหน้าทับ กำกับจังหวะต่าง ๆ
ตะโพน
เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง ตัวตะโพนเรียกว่า "หุ่น" ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ขุดแต่งให้ เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนังสองหน้า ตรงกลางป่องและสอบไปทางหน้าทั้งสอง หน้าหนึ่งใหญ่เรียกว่า "หน้าเทิ่ง" หรือ "หน้าเท่ง" ปกติอยู่ด้านขวามือ อีกหน้าหนึ่งเล็ก เรียกว่า "หน้ามัด" ใช้สายหนัง เรียกว่า "หนังเรียด" โยงเร่งเสียงระหว่างหน้าทั้งสอง
โทน
เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง เดิมเรียกว่า ทับ หุ่นทำด้วยดินเผารูปร่างคล้ายกรวย ปลายบานออกเป็นดอกลำโพง ขึงด้วยหนังหน้าเดียว มีสายโยงเร่งเสียงจากขอบหนังคอ ตีด้วยมือข้างหนึ่ง มืออีกข้างหนึ่งคอยปิดเปิดปากลาโพง เพื่อช่วยให้เป็นเสียงต่าง ๆกัน ใช้ตีเป็นจังหวะ กำกับทำนอง เพลงมาแต่โบราณ นิยมบรรเลงในวงเครื่องสาย ไม่นิยมบรรเลงในวงปี่ พาทย์
รำมะนา
เป็นกลองขึงหนังหน้าเดียว หน้ากลองผายออก หุ่นกลองรูปร่างคล้ายชามกะละมัง หรือชามอ่าง เข้าใจว่าได้แบบอย่างจากเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของมลายู ที่เรียกว่า เรบานา รำมะนา มี สองชนิด คือรำมะนาสำหรับวงมโหรี และรำมะนาสำหรับวงลำตัด รำมะนาสำหรับวงมโหรี มีขนาด เล็ก หุ่นกลองสูง หนังที่ขึ้น ตรึงด้วยหมุดโดยรอบ มีเชือกที่เรียกว่า "สนับ" สำหรับใช้หนุนข้างใน โดยรอบหน้ากลาง เมื่อหน้ ากลองหย่อน เพื่อช่วยให้ เสียงสูง ใช้มือตี บรรเลงในวงมโหรีและวง เครื่องสาย คู่กับโทน รำมะนาสำหรับวงลำตัด มีขนาดใหญ่ ใช้เส้นหวายผ่าซีกโยงระหว่างขอบหน้ากับวงเหล็ก ซึ่งรัดขอบล่างของตัวกลอง และใช้ลิ่มตอกเร่งเสียง
บัณเฑาะว์
เป็นกลองสองหน้าขนาดเล็ก ตัวกลองทำด้วยไม้ขนาดเล็กพอมือถือ หัวและท้ายใหญ่ ตรงกลางคอด มีสายโยงเร่งเสียงใช้เชือกร้อยโยงห่าง ๆ มีสายรัดอกตรงคอดที่ตรงสายรัดอก มีหลักยาวอันหนึ่งรูปเหมือนหัวเม็ดทรงบัณฑ์ ทำด้วยไม้หรืองาที่ ปลายหลักมีเชือกผูก ปลายเชือกอีกด้านหนึ่งผูกลูกตุ้ม ในการบรรเลงใช้มือไกวบัณเฑาะว์ คือพลิกข้อมือกลับไปกลับมา ให้ ลูกตุ้มที่ปลายเชือกเหวี่ยงตัวไปกระทบที่หนังหน้ากลองทั้งสองด้าน บางครั้งใช้บัณเฑาะว์ลูกเดียว บางครั้งใช้สองลูก ไกวพร้อมกันทั้งสองมือ มือละลูก เป็นจังหวะในการ บรรเลงประกอบขับไม้ในงานพระราชพิธี เช่น ขับกล่อมสมโภช พระมหาเศวตฉัตร สมโภชพระยา ช้างเผือก และช้างสำคัญ เป็นต้น
เปิงมางคอก
ใช้ในวงปี่พาทย์มอญ โดยใช้เปิงมางจำนวน ๗ ลูก มีขนาดลดหลั่นกันลงไป เทียบเสียงสูงต่ำ แขวนเรียงลำดับไว้เป็นราวรอบตัวคนตี คอกที่ใช้แขวนเปิงมางจะมีรูปโค้งเป็นวง การบรรเลง ใช้ตีขัดสอดประสานกันตะโพนมอญ