Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน…
บทที่ 7
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน ตามแนวทางโรงเรียนพหุวัฒนธรรม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
การจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระดับ ได้แก่
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3)
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6)
ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6)
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
จกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้นจัดให้ผู้เรียนปีละ 120 ชั่วโมง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดให้ผู้เรียนปีละ 360 ชั่วโมงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
กิจกรรมนักเรียน(ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ นักศึกษาวิชาทหาร กิจกรรมชุมนุม ชมรม)
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
กิจกรรมแนะแนว
แนวทางการจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมในโรงเรียน
ชรินทร์ มั่งคั่ง (2562) ได้ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการรู้พหุวัฒนธรรมศึกษาและการปฏิบัติเชิงวิชาชีพของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า การรู้พหุวัฒนธรรมศึกษาของครูสังคมศึกษามีการรู้โดยรวมระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 1.22) สำหรับการปฏิบัติเชิงวิชาชีพของครูสังคมศึกษาโดยครูส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70) ไม่มีการปฏิบัติเชิงวิชาชีพตามองค์ประกอบการจัดการศึกษา 4 ด้านได้แก่ การวิเคราะห์หลักสูตร การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม
การศึกษาพหุวัฒนธรรม คือกระบวนการจัดการศึกษารูปแบบหนึ่ง ที่พัฒนามาจากปรัชญา ความเชื่อ ค่านิยมแบบประชาธิปไตย และความเชื่อในคุณค่าของความหลากหลายวัฒนธรรม (Multiculturalism)
รูปแบบหรือแนวทางการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม มี 5 รูปแบบ ดังนี้
การลดอคติ (Prejudice Reduction)
การสอนที่ยึดหลักความยุติธรรม (Equity Pedagogy)
การสร้างความรู้ใหม่ (The Knowledge Construction Process)
การปรับโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมในโรงเรียน (An Empowering School Culture and Social Structure)
บูรณาการเนื้อหาวัฒนธรรมของนักเรียน เข้าไปในวิชาต่างๆ (Content Integration)
นางสาวบัญญวัต แจ้งกระจ่าง
60201852