Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เด็กชายอายุ 4 ปี 3 เดือน Dx. Autistic, นางสาวสุณัฐมน ยอดระบำ 60116647…
เด็กชายอายุ 4 ปี 3 เดือน Dx. Autistic
พัฒนาการ
การเข้าใจภาษา (Receptive Language) : เด็กมีการมองสบตาคนที่คุยด้วย เมื่อเปรียบเทียบอายุจะอยู่ในช่วง 6 เดือน
การใช้ภาษา (Expressive Language) : เด็กมีการหันตามเสียงเรียกบางครั้ง เมื่อเปรียบเทียบอายุจะอยู่ในช่วง 5 เดือน - 6 เดือน
กล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor) : ไม่สามารถใช้ 2 นิ้ว ในการหยิบจับสิ่งของได้ ไม่สามารถส่งของเปลี่ยนมือได้ เมื่อเปรียบเทียบอายุจะอยู่ในช่วง 6 เดือน
การช่วยเหลือตนเอง (Personal and Social) : เด็กไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ได้เลย ต้องให้ผู้ปกครองดูแล
กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross motor) : เด็กสามารถเดินเองได้โดยไม่มีอาการเดินเซ ไม่สามารถยืนขาเดียวได้ เมื่อเปรียบเทียบอายุจะอยู่ช่วงประมาณ 1 ปี
การตรวจร่างกาย
หัวใจ : อัตราการเต้นของชีพจร 90 ครั้ง/นาที จังหวะสม่ำเสมอ ความแรง 2+
ทางเดินอาการ : รับประทานอาหารได้ โดยมีผู้ดูแลป้อนให้ ไม่มีอาการปวดท้อง ไม่มีอาการท้องอืด หน้าท้องเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับการหายใจ
ตา หู คอ จมูก : ตาทั้งสองข้างสมมาตรกัน ตาดำกลม ไม่มีกระตกตาขุ่น ไม่มีอาการตาแดง เยื่อบุใต้ตาไม่ซีด จมูกรูจมูกทั้งสองข้างสมมาตรกันไม่มีสิ่งคัดหลั่งไหลออกมา หู ไม่พบก้อน ไม่มีบาดแผล ไม่มีสิ่งคัดหลั่งไหลออกมา
การขับถ่าย : การขับถ่ายปกติ ปัสสาวะประมาณ 5-6 ครั้ง/วัน อุจจาระวันละ 1 ครั้ง/วัน
ศีรษะ เส้นผม : ศีรษะของเด็กสมมาตร ไม่มีบาดแผล ไม่มีรอยบวมนูน มีการกระจายตัวของเส้นผมดี ไม่มีผมขาดหลุดร่วง ไม่มีรังแค
ผิวหนัง ขน เล็บ : ผิวหนังชุ่มชื้นดี ไม่มีรอยถลอก ไม่มีบาดแผล การกระจายตัวของขนสม่ำเสมอ เล็บสั้นสะอาด
ลักษณะทั่วไป : เด็กชายไทย ผิวเหลือง แต่งกายด้วยเสื้อสีฟ้า กางเกงสีน้ำตาล จะไม่สบตากับผู้พูด ไม่มีการพูดคุย มีน้ำลายยืด
ทรวงอก : ทรวงอกเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับการหายใจ ไม่มีลักษณะของอกถังเบียร์ การหายใจไม่มีปีกจมูกบาน ไม่มี retraction อัตราการหายใจ 24 ครั้ง/นาที
โรคออทิสติก(Autistic Disorder) หรือ ออทิสซึม(Autism) เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะสังคม ทักษะทางภาษา และการสื่อความหมายได้เหมาะสมตามวัย มีลักษณะพฤติกรรม กิจกรรม และความสนใจ เป็นแบบแผนซ้ำๆ ไม่ยืดหยุ่น ปัญหาดังกล่าวเป็นตั้งแต่เล็ก แสดงให้เห็นก่อนอายุ 3 ขวบ เป็นโรคที่รู้จักมาเป็นเวลา 60 ปีแล้ว นักวิชาการพยายามศึกษารายละเอียดต่างๆ ของโรค แต่ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้
ปัญหาที่พบ
2.ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้
1.เริ่มต้นต้องสอนให้เด็กรู้จักของใช้ต่าง ๆ ก่อน จากนั้นจึงสอนให้เด็กทำความสะอาดร่างกายแต่ละส่วน โดยสอนไปทีละขั้น
2.แนะนำให้เลิกใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปและเปลี่ยนกางเกงเมื่อขับถ่ายออกมา แล้วค่อยฝึกเด็กในตอนนั้น โดยใช้คำง่าย ๆ อย่าง “อึ” หรือ “ฉี่” ในการสอน
3.แนะนำให้ผู้ดูแลสอนให้เด็กใช้ช้อนตักอาหาร เนื่องจากเด็กออทิสติกมักใช้มือหยิบอาหารเข้าปาก
3.การป้องกันอุบัติเหตุ
2.แนะนำให้ผู้ดูแลเด็กดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดป้องกันการพัดตกหกล้มในเด็ก เนื่องจากเด็กมีกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์
แนะนำให้เก็บของเล็ก ๆ เช่น เหรียญ ลูกปัด เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กนำเข้าในปาก หรือจมูกเพราะจะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้
1.เเนะนำผู้ดูแลให้เก็บของที่เป็นอันตรายไว้ให้มิดชิกเนื่องจากเด็กไม่สามารถแยกแยะของอันตรายได้
1.พัฒนาการช้า
2.ฝึกให้เด็กสบตา กระซิบเรียกชื่อเด็กข้างหูด้วยเสียงของคนที่ใกล้ชิดเด็ก เพื่อกระตุ้นทักษะการเข้าสังคมและการสื่อความหมาย
3.การจับมือเด็กให้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง วิธีนี้จะเริ่มจากจับมือเด็กให้หัดทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการทำด้วยตัวเอง
1.การกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า พ่อแม่ควรเล่นกับลูกอย่างการอุ้มเด็ก กอด เล่นปูไต่ หรือจั๊กจี้มือ โดยทำเช่นนี้ซ้ำ ๆ ทุกวัน เพื่อให้เด็กซึมซับความอบอุ่นและคุ้นเคยจากพ่อแม่และสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนในครอบครัว
4.สอนให้เด็กหันตามเสียงที่เรียกชื่อตัวเอง ช่วยให้เด็กสื่อความหมายได้และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น
นางสาวสุณัฐมน ยอดระบำ 60116647 กลุ่ม B5 Case.Autistic Disorder วันที่ 23/09/63