Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ต่อมไร้ท่อในร่างกายมนุษย์ - Coggle Diagram
ต่อมไร้ท่อในร่างกายมนุษย์
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ฮอร์โมนที่สร้าง TSH
ป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง pituitary gland ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) ค่า TSH จะขึ้นกับระดับไทรอยด์ฮอร์โมน หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนได้ตามปกติค่า TSH จะต่ำ หากต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมน หรือสังเคราะห์ได้น้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ฮอร์โมนที่สร้าง ACTH
สร้างจากคอร์ติโคโทรปิกเซลล์ (corticotropic cell) มีผลควบคุมการสร้างของต่อมหมวกไตส่วนนอก ( adrenal cortex) กระตุ้นให้มีการสร้าง ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์และ มิเนราโลคอร์ติคอยด์ และถ้ามีความเข้มข้นของ ACTH มากๆ
ฮอร์โมนที่สร้าง FSH
เมื่อมี FSH และ LH มากขึ้น จะกระตุ้นให้ไข่เจริญใหญ่ขึ้น ขนาดของไข่ที่เจริญขึ้น จะกระตุ้นให้มีการสร้าง อีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนมากขึ้น ปริมาณของLH และ FSH ที่เพิ่มมากที่สุดในกลางรอบเดือน จะกระตุ้นให้มีการตกไข่
ฮอร์โมนที่สร้าง โพรแลกทิน
กระตุ้นให้เกิดการสร้างและหลั่งน้ำนม (lactation) ในระยะให้นมบุตร โดย PRL มีผลโดยตรงต่อเนื้อเยื่อและต้องอาศัยการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอื่น ร่วมด้วย เช่นอีสโทรเจน(estrogen) โพรเจสเทอโรน(progesterone) คอร์ติโคสเตอโรน (corticosterone) และอินซูลิน (insulin) เมื่อต่อมน้ำนมได้รับฮอร์โมนเหล่านี้ก่อนแล้ว PRL จึงจะทำให้เกิดการหลั่งน้ำนมได้
ฮอร์โมนที่สร้าง LH
ฮอร์โมนธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ซึ่งอยู่ภายในสมอง ฮอร์โมนดังกล่าวอยู่ในกลุ่มของฮอร์โมนที่เรียกว่า gonadotropin ซึ่ง LH จะทำหน้าที่กระตุ้นบริเวณอัณฑะในเพศชายและรังไข่ในเพศหญิง
ฮอร์โมนที่สร้าง เอ็นโดรฟิน
เป็นสารประกอบเปปไทด์ (pepteide) ลักษณะคล้ายฝิ่น (opioid) ที่พบภายในร่างกายถูกสร้างจากต่อมพิทุอิทารี่ (pituitary gland) และ ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) ในสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลัง มีคุณสมบัติ ช่วยระงับความเจ็บปวดจึงเรียกอีกอย่างว่าเป็น "ยาระงับปวดตามธรรมชาิติ" (natural pain killer)
ฮอร์โมนที่สร้าง GH
โกรทฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมาจะถูกส่งไปยังตับเพื่อเปลี่ยนเป็นสารคล้ายอินซูลิน (Insulin-like growth factor-1 หรือ IGF-1) หรือโซมาโตเมดิน (Somatomedin) นำไปใช้ในร่างกายเพื่อเสริมสร้างเนื้อเยื่อ
ต่อมไพเนียล
ฮอร์โมนที่สร้าง เมลาโทนิน (melatonin) ทำหน้าที่ควบคุมการหลับ อารมณ์ การเข้าสู่วัยหนุ่มสาว และการสืบพันธุ์ เมลาโทนิน
ต่อมหมวกไตส่วนใน
ฮอร์โมนที่สร้าง เอพิเนฟริน เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมหมวกไต เป็นสารแห่งความโกรธ และเกี่ยวเนื่องกับการป้องกันตัว ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนนี้เพื่อให้มีภาวะเตรียมพร้อมให้ร่างกายเข้าสู่การตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินและการใช้พลังงาน ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจทำงานอย่างเต็มที่ หัวใจบีบตัวมากขึ้น
ฮอร์โมนที่สร้าง นอร์เอพิเนฟริน มีบทบาทในการทำให้ตื่นตัว และอาจเกี่ยวกับความฝัน และัยังมีบทบาทต่อการทำงานของฮอร์โมน และการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางทางจิตประสาท
อัณฑะ
ฮอร์โมนที่สร้าง เทสโทสเตอโรน เป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชายและสเตอรอยด์การสร้าง ทำหน้าที่กระตุ้นให้เด็กชายเข้าสู่วัยหนุ่ม (male secondary sex characteristics ) ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายทั้งภายนอกและภายในเจริญเติบโตเต็มที่ องคชาติขยายใหญ่และยาวขึ้น มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ รักแร้ หน้าแข้ง แขน ขา มีลูกกระเดือก
กระเพาะอาหาร
ฮอร์โมนที่สร้าง แกสตริน ( gastrin) สร้างจากเซลล์บริเวณกระเพาะส่วนที่เรียกว่า แอนทรัมเซลล์ มีหน้าที่กระตุ้น ให้เซลล์กระเพาะอาหารที่สร้างน้ำย่อย และ กรดไฮโดรคลอริกหลั่งเอนไซม์หรือน้ำย่อยและกรดไฮโดร คลอลิกออกมาเพื่อย่อยอาหาร
ไฮโพทาลามัส
ฮอร์โมนที่สร้าง GHRH
GHRH เป็นเป็ปไทด์สายเดี่ยว ประกอบด้วยกรดอะมิโน 44 ตัว ซึ่งได้มาจากกรดอะมิโนตั้งต้นจำนวน 108 ตัว เป็นฮอร์โมนจากสมอง (ไฮโปรทาลามัส) เพื่อไปกระตุ้นให้ต่อมใต้สมอง (พิทุอิทารี) ส่วนหน้าให้หลั่ง hgh และ Prolactin
ฮอร์โมนที่สร้าง PIH
Prolactin inhibiting hormone (PIH) มีหน้าที่ต้านการหลั่ง Prolactin จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ฮอร์โมนที่สร้าง GHIH
เป็นโพลีเป็ปไทด์ของกรดอะมิโน 14 ตัว และมี Somatostatin เป็นสารตั้งต้น ฮอร์โมนจากไฮโปรทาลามัส มีฤทธิ์ยั้บยั้งการหลั่งของ hgh นอกจากนี้ยังมีผลต่อ Somatostatin receptor ในอวัยวะอื่นๆ อีก คือมีฤทธิ์ยั้บยั้ง TSH และ Prolactin, การหลั่งของ glucagon, อินซูลินจากตับอ่อน และฮอร์โมนต่างๆ
ฮอร์โมนที่สร้าง ADH
Antidiuretic hormone (ADH) เป็นฮอร์โมนที่สร้างที่ไฮโปธาลามัส แล้วนำมาเก็บไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ซึ่งต่อมใต้สมองส่วนหลังจะหลั่งฮอร์โมนนี้เพื่อคงสมดุลของน้ำในร่างกายผ่านทางการทำงานของไต
ฮอร์โมนที่สร้าง CRH
Corticotropin releasing hormone (CRH) ทำหน้าที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้าที่ชื่อ Adrenocorticotropic hormone (ACTH)/ชื่ออื่นคือ Adrenocorticotropin หรือ Corticotropinที่ทำหน้าที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมหมวกไต
ฮอร์โมนที่สร้าง ออกซิโทซิน
สร้างจากซูพราออฟติก นิวเคลียส (supraoptic nucleus) เป็นส่วนมากและพาราเวนทริคูลา นิวเคลียสเป็นส่วนน้อย คล้ายฮอร์โมน ADH ต่างกันเล็กน้อยทำให้การทำงานต่างกันบ้าง สร้างจากเซลล์ประสาทไฮโพทาลามัส แล้วขนถ่ายผ่าน เซลล์ประสาท เเอกซอน (axon) ไปที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (hypopituitary gland) นอกจากนี้ยังสามารถสร้างที่สมอง และเซลล์อื่นได้บ้าง เช่น ที่รังไข่ และอัณฑะ
ฮอร์โมนที่สร้าง TRH
ไทรอยด์ฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นจากต่อมไทรอยด์ จะถูกส่งไปยังเซลล์เป้าหมาย (เช่น สมอง) ที่เซลล์เป้าหมายจะมีตัวรับสัญญาณจากไทรอยด์ฮอร์โมน เมื่อไทรอยด์ฮอร์โมนจับกับตัวรับสัญญาณที่เซลล์เป้าหมายแล้ว สัญญาณดังกล่าว จะกระตุ้นให้เซลล์นั้น สร้างโปรตีนหรือเอนไซม์ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ต่าง
ฮอร์โมนที่สร้าง GnRH
เมื่อสตรีเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ จะมีการหลั่งของฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน รีลิสซิงฮอร์โมน (gonadotropin releasing hormone) หรือที่เรียกว่าจีเอ็น อาร์เอช (GnRH)
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
ฮอร์โมนที่สร้าง ออกซิโทซิน(หลั่ง) กระตุ้นการหลั่งน้ำนม (milk ejection) ทำให้กล้ามเนื้อของต่อมน้ำนม บีบตัวให้หลั่งน้ำนมออกมา เมื่อน้ำนมถูกสร้างขึ้นจะไปเก็บไว้ในถุงน้ำนม ซึ่งเรียกว่า อะวีโอไล (alveoli) เพื่อเตรียมไว้ให ้ทารก อะวีโอไลจะล้อมรอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่เรียกว่า เซลล์ไมโออิปิทีเลียม (myoepithelial cell) ซึ่งเป็นเซลล์เป้าหมาย (target cell) ของออกซิโทซิน
ฮอร์โมนที่สร้าง ADH ทำหน้าที่กระตุ้นหลอดเลือดให้บีบตัวและช่วยให้หลอดไตดูดน้ำกลับเข้าสู่เส้นเลือด
ลำไส้เล็ก
ฮอร์โมนที่สร้าง คอลีซิสโทไคนิน เป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นโดยเซลล์ของเยื่อบุผนังลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการหดตัวของถุงน้ำดี ทำให้เกิดการหลั่งน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็ก
ฮอร์โมนที่สร้าง ซีครีทิน Secretin เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมสภาวะสมดุลของน้ำทั่วร่างกายและมีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมของลำไส้เล็กส่วนต้นโดยควบคุมการหลั่งในกระเพาะอาหารตับอ่อนและตับ
ต่อมพาราไทรอด์
ฮอร์โมนที่สร้าง พาราไทรอยด์ฮอร์โมน (parathyroid hormone) หรือพาราทอร์โมน (parathomone) เรียกชื่อย่อว่าพีทีเอช (PTH) มีความสำคัญในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น หลั่งจากต่อมพาราไทรอยด์ที่ตั้งอยู่ด้านหลัง ที่ด้านบนและด้านล่างของต่อมไทรอยด์ มีขนาดเล็กมีอยู่ 4 ต่อม ทำให้ระดับความเข้มข้นของแคลเซียมในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น และลดระดับของฟอสเฟตที่กระดูก ไต และลำไส้เล็ก เพิ่มกระบวนการสลายแคลเซียมออกจากกระดูก และยับยั้งกระบวนการสร้างกระดูก
ตับอ่อน
ฮอร์โมนที่สร้าง สารอินซูลิน อินซูลินมีผลต่อเซลล์เกือบทุกชนิดในร่างกาย โดยมีอวัยวะเป้าหมายที่สำคัญคือ ตับ กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ไขมัน เป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมให้มีการสะสมกลูโคส กรดไขมันและกรดอะมิโนไว้ภายในเซลล์ต่างๆ
ฮอร์โมนที่สร้าง กลูคากอน ผลิตในตับอ่อน ถ้าน้ำตาลในกระแสเลือดลดต่ำลง ร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น กลูคากอนเป็นตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ สลายคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนของเนื้อเยื่อออกมาเป็นกลูโคส กรดไขมันและ กรดอะมิโนให้เพิ่มขึ้นในกระแสเลือด
ต่อมไทรอยด์
ฮอร์โมนที่สร้าง ไทรอกซิน เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมไทรอยด์ ฮอร์โมนไทรอกซินสร้างจากกรดแอมิโนไทโรซีนและไอโอดีน 4 อะตอม มีหน้าที่ควบคุมอัตราเร็วของเมแทบอลิซึมเพื่อผลิตพลังงานให้แก่ร่างกาย
ฮอร์โมนที่สร้างแคลซิโทนิน (calcitonin) สร้างจากเซลล์รอบนอก (extrafollicular หรือ parafollicular) หรือ เซลล์ซี (C-cell) ทำหน้าที่กระตุ้นการสะสมของแคลเซียมที่กระดูก เพิ่มการขับแคลเซียมและฟอสเฟตที่ไต
ไต
ฮอร์โมนที่สร้าง อีรีโทรโพอิทิน เป็นฮอร์โมนในร่างกายที่ผลิตขึ้นจากไต ทำหน้าที่ช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มระดับฮีโมโกลบิน ซึ่งฮีโมโกลบินนี้ช่วยในการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จึงมีการสังเคราะห์ฮอร์โมนชนิดนี้ขึ้นเพื่อใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางบางประเภท
ต่อมหมวกไตส่วนนอก
ฮอร์โมนที่สร้าง แอลโดสเทอโรน เป็นสเตอรอยด์ฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากต่อมแอดรีนาลคอร์เทกซ์ (ต่อมหมวกไต) เพื่อควบคุมภาวะสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในเลือด เช่น โซเดียมและโพแทสเซียมไอออน
ฮอร์โมนที่สร้าง คอร์ทิซอล คือฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมหมวกไต เป็นฮอร์โมนซึ่งจำเป็นต่อระบบการใช้พลังงานของร่างกาย ลดการอักเสบ รักษาระดับความดันโลหิต รวมทั้งระดับน้ำตาลในเลือด
ไทมัส
ฮอร์โมนที่สร้าง ไทโมซิน ( thymosin ) หน้าที่ กระตุ้นให้เนื้อเยื่อต่อมไทมัสเอง ซึ่งเป็นอวัยวะน้ำเหลืองสร้าง T – lymphocyte หรือT – cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
รังไข่
สร้างฮอร์โมน อีสโทรเจน (estrogen) มีหน้าที่ 1. กระตุ้นการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ของเพศหญิง (female secondary sex characteristics) 2. ต่อต้านการแข็งตัวของเลือด 3. ผลต่อเมแทบอลิซึม
ฮอร์โมนที่สร้าง ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (progesterone ) ตามชื่อที่เรียก pro–gestation ซึ่งหมายถึง สนับสนุนการตั้งครรภ์ คือถ้าไม่มีฮอร์โมนนี้ จะไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น สร้างจากเพรกนิ โนโลน (pregnenolone) ซึ่งสร้างจาก คอเลสเทอรอล มีหน้าที่ ทำให้เยื่อบุมดลูกพร้อมในการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว ส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เพิ่มการสะสมไกลโคเจน