Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คำเชื่อม (คำเชื่อมจำแนกตามหน…
คำเชื่อม (คำเชื่อมจำแนกตามหน้าที่)
นววรรณ พันธุเมธา
ความหมาย
เป็นคำเชื่อมที่จำแนกตามหน้าที่ของคำเชื่อมนั้นๆซึ่งปรากฏในแต่ละบริบท
คํานามกับคํานาม
บอกความเป็นเจ้าของ เช่น หนังสือของคุณ วางไว้ในรถแล้วค่ะ
บอกการมีส่วนร่วม เช่น ปากกากับยางลบ เตรียมมาสอบด้วยนะ
บอกความสัมพันธทางสถานที่ เช่น ชานมไข่มุกซื้อมาจากตลาดใช่ไหม
บอกแหล่งเดิม เช่น ระยะเวลาจากวันนี้ถึงอาทิตย์หน้าไม่นานหรอก
บอกจุดหมาย เช่น ความตั้งใจคือเส้นทางของการสำเร็จ
บอกความสัมพันธ์ทางเวลา เช่น แผนการชีวิตภายใน 5 ปีนี้ ต้องทำให้ได้
บอกความคล้อยตาม เช่น ทั้งเขาทั้งเราคิดไม่เหมือนกันเท่าไหร่
บอกความให้เลือกเอา เช่น เธอควรกินเหล้าหรือไม่ก็เบียร์
บอกความยกเว้น เช่น เพื่อนทุกคนยกเว้นเธอที่อ่านหนังสือพร้อมสอบ
บอกเหตุ เช่น ความสำเร็จเพราะความขยันเกิดขึ้นได้ทุกคน
บอกการแนะนํา เช่น เขาบรรจุวันเดียวกัน คือ วัน 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
แสดงตัวอย่าง เช่น นิตยสารอย่างดิฉัน มาดามฟิโกโร่ ไอไลค์ ปิดตัว
สมาชิกกลุ่ม
121 นาย สุขุม เสาร์หมื่น. 60204316
122 นาย ธนกร. จันต๊ะยศ. 60205148
124 น.ส. ปรางพิมพ์ ศรีพรหม 60205193
125 นาย วีรปรัชญ์ นาครักษ์ 60205250
126 น.ส. สุวีภา ชัยยศ 60205294
127 น.ส. อสิโณทัย รอดทุกข์ 60205317
128 น.ส. จิรภิญญา บุญเอี่ยม 60206251
129 นาย ธัชนนท์ วรรณจักร 60206330
130 น.ส. พิมพ์พิชชา จันทวงศ์ 60206396
123 น.ส. ธัญญลักษณ์ ฟั่นเฟือย. 60205160
คำกริยากับคำกริยา หรือประโยคกับประโยค
บอกความให้เลือกเอา เช่น เธอจะกินหรือนอนเลือกเอา
บอกความยกเว้น เช่น พวกเธอถามครูได้ตลอดเว้นแต่พวกเธอไม่ถาม
บอกผล เช่น เธอหายไปเงียบๆฉันจึงไม่รู้ว่าหายไปไหน
แสดงตัวอย่าง เช่น เธอกำลังดวงตก เช่น เกิดอุบัติเหตุ ถูกหักเงินเดือน
บอกเหตุ เช่น ฉันไม่ออกไปข้างนอก เพราะฝนตก
บอกการแนะนำ เช่น คนที่นี่แปลก คือมักไม่ค่อยตื่นเช้า
บอกลักษณะ เช่น เขาออกไปข้างนอกโดยไม่มีใครรับรู้
บอกความคล้อยตาม เช่น นักเรียนควรตั้งใจเรียนและพยายามทำแบบฝึกหัด
บอกความขัดแย้ง เช่น ฉันพยายามไม่ร้องไห้แต่ฉันทำไม่ได้
บอกความเปรียบเทียบ เช่น ฉันยังจำได้เหมือนพึ่งเกิดขึ้นเมื่อกี้
บอกความสัมพันธ์ทางเวลา เช่น ควรถอดรองเท้าก่อนเข้าร้าน
คํานามกับส่วนขยาย เชื่อมเพื่อ
บอกการขยายความ เช่น อาจารย์ทําแบบนี้ซึ่งฉันไม่ค่อยเห็นด้วย
บอกเนื้อความเช่น อาจารย์มีปัญหาว่าสอนหนังสือไม่ทันสอบ
บอกการอ้างถึง เช่น ลูกจ้างที่เคยมาทำงานค่อย ๆ ลาออกไปทีละคน
คํากริยากับส่วน
ขยาย
บอกการอ้างถึง
เช่น พ่อเสียใจที่มาไม่ทันกินข้าวกับลูก
บอกเนื้อความ เช่น อาจารย์สั่งงานว่าต้องเสร็จภายในวันนี้
คํากริยากับคํานาม
บอกความสัมพันธทางเวลา เช่น ผมมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2561
บอกจุดหมาย
เช่น ผมคงไม่ทํางานที่นี่จน 8 ปีหรอก
บอกลักษณะ เช่น นิสิตอ่านหนังสือด้วยความมุ่งมั่นแล้วหรือยัง
บอกการเปรียบเทียบ เช่น ดินที่นี่แห้งราวกับอะไรดี
บอกแหล่งเดิม เช่น ผมมาจากกรุงเทพมหานครได้หลายปีแล้ว
บอกเหต เช่น ผมขยันทํางานเพื่อจุดหมายปลายทางของชีวิต
บอกสัมพันธ์ทางสถานที่ เช่น ภาพเหล่านี้อยู่ในความทรงจําของผมมาตลอด
บอกเครื่องมือ เช่น เขาตรากตรําทํานาด้วยมือของเขาเอง
บอกผู้มีส่วนร่วม เช่น ผมต้องไปวัดกับย่าทุกวันพระ
ความแตกต่างและความเหมือนระหว่างพระอุปกิตและนววรรณ พันธุเมธา
มีความแตกต่าง คือ พระยาอุปกิตเรียกคำเชื่อมว่าเป็นคำสันธานซึ่งแตกต่างกับคุณนววรรณและแตกต่างกันที่ความหมายซึ่งพระยาอุปกิตได้ให้ความหมายของคำสันทานว่าเป็นคำที่ใช้ต่อเชื่อมถ้อยคำให้ติดต่อกันเป็นเรื่องเดียวกันซึ่งคุณนววรรณได้ใช้คำเชื่อมมาเชื่อมในการจำแนกของคำนั้นๆเช่น เชื่อมคำนามกับคำนามพระยาอุปกิตได้แบ่งคำสันทานออกเป็น6ชนิด คือ 1.เชื่อมความคล้อยตามกัน 2.เชื่อมความที่แย้งกัน3.เชื่อมความต่างตอนกัน 4.เชื่อมความที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน 5.เชื่อมความที่เลือกเอา 6.เชื่อมความที่แบ่งรับรอง ส่วนนววรรณได้แบ่งคำเชื่อมตามหน้าที่ออกเป็น5หน้าที่ดังนี้ 1.คํานามกับส่วนขยาย 2.คํากริยากับส่วนขยาย 3.คำกริยากับคำกริยา หรือประโยคกับประโยค 4.คํากริยากับคํานาม 5.การใช้เชื่อมคํานามกับคํานาม แต่พระยาอุปกิตมีความเหมือนกันกับนววรรณที่การเชื่อมเพื่อความคล้อยตามกันของนววรรณตรงที่คำนามกับคำนามและเหมือนกันที่เชื่อมเพื่อบอกความที่เลือกเอาซึ่งทั้งสองมีส่วนนี้ที่เหมือนกัน