Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Intracerebral Hemorrhage (ICH) - Coggle Diagram
Intracerebral Hemorrhage (ICH)
หมายถึง ภาวะที่มีก้อนเลือดคั่งอยู่ในเนื้อสมอง หรือโพรงสมอง
ข้อมูลผู้ป่วย
ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 42 ปี เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย
อาการสำคัญ : ปวดศีรษะมาก แขนขาอ่อนแรง 30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน : 30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล ขณะเซ็นชื่อเข้าทำงาน มีอาการปวดศีรษะมาก เดินเซ แขนขาข้างซ้ายอ่อนแรง ศีรษะไม่กระแทกพื้น
โทรเรียกรถกู้ชีพนำส่ง รพ. ได้ทำการตรวจ CT brain
พบ Intracerebral Hemorrhage (ICH)
โรคประจำตัว: 4 ปี เป็นโรค ความดันโลหิตสูง
การใช้สารเสพติดต่างๆ: ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
สูบบุหรี่วันล่ะ 2 ซอง
พยาธิสภาพของโรค
พยาธิสภาพ
Intracerebral Hemorrhage (ICH)
เลือดออกในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) เป็นภาวะเลือดออกในสมองจากการฉีกขาดของหลอดเลือดแดงในสมองเกิดจากผนังเส้นเลือดเสื่อมสภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมานาน หรือควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดี เป็น primary intracerebral hemorrhage
ส่วนใหญ่ มีสาเหตุจาก arterial hypertension
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด Primary intracerebral hemorrhage
• Hypertension มีการศึกษาที่แสดงความสัมพันธ์ของความดันโลหิตในแต่ละระดับ กับความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือด สมอง
140-159/90-99mmHg เสี่ยง 4.9เท่า 160-1792100-109mmHg เสี่ยง 11.6 เท่า >180/>109mmHg เสี่ยง 28.8เท่า
• การสูบบุหรี่ เสี่ยงเพิ่ม 2.1-2.7 เท่า
• การดื่มสุรามากกว่า 56gm/วัน เสี่ยงเพิ่ม4 เท่า
• ผู้ป่วยใช้ยาละลายลิ่มเลือดเป็นโลหิตสูง ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
• ปัจจัยเสี่ยงตามธรรมชาติ ได้แก่ มีอายุเพิ่มมากขึ้น เพศชาย และ พันธุกรรม
อาการและอาการแสดง
ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง สลบ สับสน เดินเซ ปวดศีรษะรุนแรง ซึม คลื่นไส้ อาเจียนม่านตาไม่เท่ากัน ชัก การตอบสนองต่อความปวดอย่างไร้จุดมุ่งหมาย รูปแบบการหายใจผิดปกติความดันโลหิตสูง ชีพจรช้า หรืออัมพาตครึ่งซีก
อาการของผู้ป่วย
ปวดศีรษะรุนแรง เดินเซ แขขาอ่อนแรง อัมพาตครึ่งซีกข้างซ้าย
มีภาวะความดันโลหิตสูง
สาเหตุ
•หลอดเลือดโป่งพอง ผนังหลอดเลือดที่บวมและอ่อนแอลงจากภาวะนี้ สามารถแตกออกจนเกิดเลือดสะสมในสมอง และยังนำไปสู่โรคหลอดเลือดในสมองได้ด้วย
• ความดันโลหิตสูง ถือเป็นภาวะเรื้อรังที่ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอลงเรื่อย ๆ หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นเหตุให้เกิดภาวะเลือดออกในสมองตามมา
(Hypertensive hemorrhage)
หลอดเลือดสมองแตกจากความดันโลหิตสูง
เมื่อความดันโลหิตสูง ผนังหลอดเลือดที่หนาตัวและแข็ง (atheroscereosis) ทําให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอ ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป หลอดเลือดจึงแตกออก พบมาก คือ บริเวณภายในสมอง (intracerebral hemorrhage;ICH) เลือดจึงไหลเข้าไปในเนื้อสมอง ก้อนเลือดที่โตขึ้นจะกดเนื้อสมอง ประมาณร้อยละ 90 จะกดสมองส่วน ventricular system ทําให้เกิด แรงดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้น (increased intracranial pressure หรือ IICP) ส่งผลให้ midline และ brain stem เคลื่อน (brain herniation) และถึงแก่กรรม
ไม่ว่าจะเป็น stroke ชนิดใดผู้ป่วยจะมีอาการสับสนระดับความรู้สึกตัวลดลงสูญเสีย ความจํา ทรงตัวไม่ได้ แขน-ขาอ่อนแรง หนังตาตก ปากเบี้ยว กลืนอาหารลําบาก อารมณ์ แปรปรวน ถ้ามีพยาธิสภาพที่สมองซีกซ้ายซึ่งเป็นสมองซีกเด่น (dominant hemisphere) ทําให้ร่างกายซีกขวาเป็นอัมพาต เป็นปัญหาในการพูด การสื่อสาร ไม่เข้าใจความหมายในการพูด มี ความผิดปกติของสายตาข้างขวา ถ้ามีพยาธิสภาพที่สมองซีกขวาจะทําให้เป็นอัมพาตร่างกายซีกซ้าย ขาดความสนใจตนเอง ตัดสินใจไม่ได้ หลงลืมร่างกายซีกซ้าย มีความผิดปกติของสายตาข้างซ้าย
กลไกลที่ทำให้เกิด
Intracerebral Hemorrhage (ICH)
สาเหตุที่เกิดจากผู้ป่วย
ผู้ป่วยมีโรคความดันโลหิตสูง ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก และสูบบุหรี่
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (increased intracranial pressure)
พูดไม่ชัด หรือมีปัญหาในการกลืนอาหาร
ปัญหาทางด้านอารมณ์
สับสน
อัมพาตครึ่งซีก
ภาวะช็อค
ขาดสารอาหาร
การักษา
การรักษาด้วยยา
Dilantin (50 mg) 2 po tid pc
[ยากันชัก]
การออกฤทธิ์: ตัวยาผ่านเข้าไปใน สมองจะทำให้เกิดการชะลอการ แลกเปลี่ยน เกลือโซเดียม และส่งผลให้ สมองส่วน Motor Cortex (สมองส่วน ควบ คุมการ เคลื่อนไหว) ไม่สามารถสร้างกระแสประสาทไปกระตุ้นร่างกาย ให้เกิดการชักได้
เหตุผลการใช้ยา : เพื่อลดภาวะบวมของสมอง
กลุ่มยา : Anticonvulsant
แอนติคอนวัลแซนต์
ผลข้างเคียง : ลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม ปากบวม ลิ้นหรือคอ บวม เวียน ศีรษะ นอนไม่หลับ
Vitamin K 10 mg vein OD
การออกฤทธิ์ : ความจำเป็นใน ขบวนการสร้างสารโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดได้แก่ Factor II, Factor VII, Factor IX และ Factor X ซึ่งจะส่งผลในการ ทำงานและการรวมตัวของเกล็ดเลือดให้ปิดบาดแผล
เหตุผลการใช้ยา : ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกในสมอง
กลุ่มยา : Vitamin
ผลข้างเคียง : ทำให้เบื่ออาหาร หายใจ ลำบาก ตับโต
Amlodipine(10)1x1 oral pc
การออกฤทธิ์ : ยับยั้งการไหลเข้าของแคลเซียมไอออนสู่ กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดหัวใจ ทําให้หลอดเลือดเกดิการขยายตัวยาแอมโลดิพีนยังสามารถลด แรงต้านของหลอดเลือดและลดความดันโลหิตโดยทําใหเ้กิด การขยายตัวของหลอดเลือดแดงที่ peripheral artery ประสิทธิผลการรักษาในภาวะเจ็บแน่นหน้าอก เนื่องจากยาสามารถลดแรงต้านของหลอดเลือดร่วมกับยับยั้งการเกดิการหดตัวของหลอดเลือดหัวใจ เพิ่มปริมาณออกซิเจนเข้าสู่หัวใจ
เหตุผลการใช้ยา : ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง
กลุ่มยา : แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์
(Calcium Channel Blocker)
ผลข้างเคียง : มึนงง ปวดศีรษะ ข้อเท้าบวม บวมน้ํา ใบหน้าแดง เมื่อยล้า ใจสั่น ปวดท้อง คลื่นไส้
การรักษาด้วยการผ่าตัด
หมายถึง การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะร่วมกับการนำก้อนเลือดออก
ผ่าตัดเมื่อ วันที่ 30 ส.ค. พ.ศ.2563
การผ่าตัด Decompressive Craniectomy with remove clot
การวินิจฉัย
พบก้อนเลือดในเนื้อสมอง
มีเส้นเลือดแตก
Midline shift 5.8 cm.
ขนาดก้อนเลือด 5.3X4.2 cm.
CT brain พบ Intracerebral Hemorrhage (ICH)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ข้อที่ 1 การหายใจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเสมหะเหนียวข้นอุดกั้นทางเดินหายใจ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ข้อที่ 2 มีโอกาสเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (IICP) เนื่องจากได้รับบาดเจ็บที่สมอง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ข้อที่ 3 พร่องกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากอัมพาตครึ่งซีก
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ข้อที่ 5 วิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้ในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคทางสมอง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ข้อที่ 4 เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม เนื่องจากพยาธิสภาพของโรค
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางระบบประสาทช่วยวินิจฉัยตำแหน่ง ความรุนแรงและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นภายในสมองบางส่วน
ประเมิน Glass glow coma score ได้ E3V4M6
การตอบสนองของรูม่านตาต่อแสง Pupil 3 มิลลิเมตร
reactive to light both eyes