Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Subdural Hematoma (SDH), S__13992002 - Coggle Diagram
Acute Subdural Hematoma (SDH)
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
การวัดความดันโลหิต ฟังเสียงหัวใจ และการทำงานของหลอดเลือด หรือการตรวจโดยใช้กล้องชนิดพิเศษเพื่อดูสัญญาณของคอลเลสเตอรอลที่มีลักษณะตึกผลึกอยู่ด้านหลังดวงตา
ความดันโลหิต แรกรับ (14/09/2563) 197/108 มิลลิเมตรปรอท
การซักประวัติ
ประวัติคนในครอบครัวหรือผู้ที่เคยมีโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคความดันโลหิตสูง
มีประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวบิดาและมารดาเป็นความดันโลหิต เสียชีวิตแล้ว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและอื่นๆ
การเจาะหลัง
การถ่ายภาพรังสี
การตรวจเลือดและปัสสาวะ
WBC Count 16.4 สูงกว่าปกติ
RBC Count 7.2 สูงกว่าปกติ Hemoglobin 13.1 ต่ำกว่าปกติ Hematocrit 39.8 ต่ำกว่าปกติ
MCV 55.5 ต่ำกว่าปกติ
MCH 18.2 ต่ำกว่าปกติ
การตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (CT)
ผู้ป่วย CT Brain พบ Right subdural hematoma with Right midline shift หมายถึง มีภาวะเลือดออกในสมองใต้เยื่อหุ้มสมองชั้น Subdural ข้างขวาร่วมกับสมองเคลื่อนไปตรงกลางมากกว่า 5 mm.
การถ่ายภาพเสมือนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะสมองบวม
การมีเลือดออกในสมอง
ผู้ป่วยมีเลือดออกในสมองชั้น Subdural
การสูญเสียหน้าที่ของสมองเฉพาะที่
ภาวะความดันในสมองสูง
ภาวะติดเชื้อในร่างกาย ภาวะช็อก Neurogenic Shock
การรักษา
การรักษาด้วยยา
ยากันชัก เช่น Dilantin 18 mg./kg., Phenytoin, Levetiracetam, Sodium valproate, Phenobarbital เป็นต้น
ผู้ป่วยได้รับยา Dilantin 100 mg. vein q 8 hr.
การใช้ยากันชักเป็นป้องกันการชักหลังจากการบาดเจ็บทางสมองสมองได้รับความเสียหายและลดการเกิด ฺBrain Herniation ซึ่งเกิดจากจากการที่มีเลือดออกในสมอง ทำให้มีการเสียความสมดุลระหว่างกลไกการยับยั้งและกลไกการกระตุ้นของเซลล์ประสาทในสมองปล่อยคลื่นไฟฟ้าผิดปกติออกมามากขึ้นและอาจะเกิดการชักได้
ยาลดความดันสมอง เช่น 20% mannitol 0.25 mg./kg. vein q 4-6 hr. furosemide (Lasix) 20-40 mg. vein q 6-8 hr.
ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เช่น cimetidine (Tagamet) 300 mg. vein q 4-6 hr.
ผู้ป่วยได้รับยา Losec 40 mg. vein OD
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัด Craniotomy
การผ่าตัด Burr holes
การผ่าตัด Craniectomy
ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด Right Craniectomy with clot removal
อาการและอาการแสดง
การบาดเจ็บที่สมอง (Cerebral injuly)
สมองกระทบกระเทือน (Cerebral concussion) ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติในระยะสั้น 2-3 นาที หายใจไม่สม่ำเสมอ ปวดศีรษะ มึนงง อาเจียน อาการจะหายได้เอง
สมองฟกซ้ำ (Cerebral contusion) มีอาการหมดสติหรือรู้สึกตัวดี อาการจะเลวลง ผู้ป่ยจะมีอาการซึม จนไม่รู้สึกตัว
เลือดออกในชั้นดูรา (Epidural or Extradural haemorrhage) จะมีอาการความรู้สึกตัวลดลง เเขนขาอ่อนแรง ในด้านตรงข้ามที่มีพยาธิสภาพ
เลือดออกในชั้นใต้ดูรา (Subdural haemorrhage) มีการฉีกขาดของสมองหรือเยื่อหุ้มสมอง จะมีอาการหมดสติ แขนขาอ่อนแรง ปวดศีรษะอาเจียน ซึมลง
ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะและขมับทั้งสองข้าง และปวดมากขึ้น
เลือดออกในชั้นใต้อะเเรนอยด์ (Subarachnoid haemorrhage) ความรู้สึกตัวลดลง รูม่านตาตอบสนองต่อแสงช้าลง
เลือดออกในสมอง (Intracerebral haemorrhage) การทำหน้าที่ของสมองสูญเสียไป ความดันในสมองสูงอันตรายถึงชีวิต
การบาดเจ็บที่กะโหลกศีรษะ (Skull injuly) การแตกบุ๋ม การแตกกระจายเป็นรัศมี ทำให้หนังศีรษะเกิดแผลฉีกขาด
การบาดเจ็บที่หนังศีรษะ (Scalp injury)
สาเหตุ
แรงที่มากระทำต่อศีรษะโดยตรงหรือโดยอ้อมแล้วมีผลทำให้สมองได้รับอันตราย เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ การตกจากที่สูง และการถูกทำร้ายร่างกาย
ดื่มสุราเรื้อรัง สูบบุหรี่
ผู้ป่วยสูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน 6 มวนต่อวัน
ในบุหรี่จะมีสารนิโคติน (Nicotine) มีผลทําให้มีการหลั่ง สารอิฟริเนฟริน (epinephrine) จากต่อมหมวกไต (adrenal gland) เป็นผลทําให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วและแรงกว่าปกติ เส้นเลือดแดงหดตัวและแตกได้
ประวัติมีการใช้ยาละลายลิ่มเลือดจนทำให้ระดับ PTT ratio > 2 หรือ INR > 4
ติดเชื้อในสมอง (สมองอักเสบ)
โรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่สามารถควบคุมได้
แพทย์ตรวจพบมีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยมีระดับความดันโลหิตสูง 151/86 มิลลิเมตรปรอท เวลา 10.00 น. (21/09/2563)
โรคความดันโลหิตสูง จะมีปริมาณของโลหิตที่ส่งออกมาจากหัวใจต่อนาทีสูง อัตราการเต้นหัวใจสูง ทำให้หลอดเลือดมีการหนาตัวและแข็งตัวมากขึ่น ทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นโป่งพอง เปราะบาง แตกหรือฉีกขาดได้ง่าย ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างเฉียบพลันและทำให้เกิดเลือดออกในสมอง
การติดเชื้อพยาธิที่สมอง มักพบในผู้ที่ชอบทานอาหารปรุงดิบๆ
โรคหลอดเลือดสมอง
Hemorrhagic Stroke
ผู้ป่วยเป็นแบบโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง ที่มีภาะหลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด
Transient Ischemic Attack: TIA
Ischemic Stroke
พยาธิสภาพ
การมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้น Dura เกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือด bridging vein และ artery บน cortex ระยะแรก ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ เพราะเป็นช่วงที่ผู้ป่วยสามารถ compensate ได้ ทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะอยู่ในเกณฑ์ปกติได้โดยการลด CSF ลงลดเลือดไหลเข้าสมอง ต่อมาเมื่อ compensatory mechanism ใช้หมดจะเกิดมีอาการเคลื่อนที่ (Herniation) ของสมอง จากซีกที่มีความดันสูง คือ ซีกที่มีก้อนกดอยู่ ไปยังบริเวณที่มีความดันต่ำกว่า จนในที่สุด brain stem ถูกกด ผู้ป่วยจึงไม่รู้ตัวหมดสติ
ข้อมูลผู้ป่วย
ผู้ป่วยเพศ ชาย อายุ 46 ปี เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ สถานภาพ สมรส(คู่) ระดับการศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 6 อาชีพ พนักงานบริษัท รายได้ 29,000 – 35,000 บาท/เดือน
CC : ปวดศีรษะบริเวณขมับทั้งสองข้างมากขึ้น 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
PI : 10 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการปวดศีรษะทั้งสองข้าง ญาติพาไปรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน ทางสถานบริการไม่รับรักษา แจ้งให้ผู้ป่วยรีบไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล เนื่องมีความดันโลหิตสูง 210/118 มิลลิเมตรปรอท ผู้ป่วยไม่รับยาจึงกลับบ้าน
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการปวดศีรษะทั้งสองข้างมากขึ้น
PH : ปฏิเสธการเจ็บป่วยในอดีต
แพทย์วินิจฉัยโรคเป็น Acute Subdural Hematoma (SDH)
ได้รับการผ่าตัด Right Craniectomy with clot removal
ความหมายของโรค
การมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้น Dura เกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือด
ชนิด
Subacute Subdural Hematoma แสดงอาการภายใน 2 – 3 วัน จนถึง 2 สัปดาห์ หลังบาดเจ็บอุบัติเหตุ หมดสติในตอนแรกและต่อยดีขึ้นต่อมาอาการแย่ลง ลงรูม่านตาขยาย หนังตาตก ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปวดศีรษะ
Chronic Subdural Hematoma เริ่มแสดงอาการหลังบาดเจ็บไปแล้ว 2 สัปดาห์ อาการที่พบเช่น ปวดศีรษะ สับสน ซึมลง ชัก สมองเริ่มจะฝ่อ ทำให้เส้นเลือดที่ห้อยจากกะโหลกยังสมองฉีกขาดเลือดที่ออกจะค่อยๆไหลทีละน้อยโดยที่ไม่มีอาการ จนกระทั่งมีเลือดมากพอจึงกดสมอง
Acute Subdural Hematoma 0tแสดงอาการภายใน 48 - 72 ชั่วโมง เช่น ซึมลง แขนงอเกร็ง สับสน
ผู้ป่วยเป็นแบบระยะเฉียบพลัน ซึ่งมีอาการปวดศีรษะทั้งสองข้างมากขึ้น 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เสี่ยงต่อเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (IICP) เนื่องจากมีพยาธิสภาพที่สมองส่วนกลาง
ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อกลับบ้าน
มีการกำซาบออกซิเจนของเนื้อเยื่อสมองลดลงเนื่องจากเยื่อหุ้มสมองถูกทำลายจากการผ่าตัด
เสี่ยงต่อการติดเชื้อทีี่แผลผ่าตัดเนื่องจากมีแผลเปิดที่ศีรษะ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ หลอดเลือดสมองโป่งพอง เนื่องจากมีความดันโลหิตสูง
พยาธิสรีรภาพของการบาดเจ็บที่ศีรษะ
secondary head injury
เลือดออกในสมอง (intracranial hematoma)
subdural hematoma
epidural hematoma
สมองบวม ( cerebral edema
ภาวะสมองเคลื่อน (brain displacement)
ความดันในโพรงกะโหลกศีรษะสูง IICP
primary head injury
หนังศีรษะ (scalp) เช่น บวมช้ำ ถลอก (abrasion)
กะโหลกศีรษะ ( skull ) เช่น กะโหลกแตกร้าว กะโหลกแตกยุบ
เนื้อสมองช้ํา (brain contusion)
เนื้อสมองฉีกขาด (brain laceration)