Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะไม่สุขสบายขณะตั้งครรภ์ unnamed (2) - Coggle Diagram
ภาวะไม่สุขสบายขณะตั้งครรภ์
:star:
ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
คลื่นไส้ อาเจียน (Nausea with or without Vomiting)
เมื่อสัปดาห์ที่ 4-6 และจะหายไปประมาณสัปดาห์ที่16 ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มของระดับฮอร์โมนที่สร้างจากรกได้แก่ Human Chorionic Gonadotropin(HCG) และ Human Placental Lactogen (HPL) การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลําไส้ลดลงจากอาการอ่อนเพลีย
ปัจจัยทางด้านอารมณ์
Morning sickness , Evening sickness หรือ ตลอดเวลา ถ้าไม่สามารถรับประทานน้ําหรืออาหารใดๆ หรือ น้ำหนักตัวลดลง มีผลให้ร่างกายขาดน้ำเสียความสมดุลของแร่ ธาตุ ขาดอาหาร ควรรีบไปพบแพทย์
การพยาบาล
อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายขณะตั้งครรภ์
ตื่นเช้าก่อนลุกจากที่นอนให้รับประทานคาร์โบไฮเดรต เช่น ขนมปังกรอบ เครื่องดื่มอุ่นๆหรือน้ำมะนาว นอนต่อประมาณ 15-30 นาทีจึงค่อยๆลุกช้าๆ ไปทํากิจวัตรประจําวัน
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก ย่อยยาก กลิ่นแรง เกิดก๊าซในกระเพาะอาหารและลําไส้มาก
รับประทานครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้งประมาณวันละ 5-6 ครั้งและดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหาร
ท้องอืดและท้องผูก(Flatulence and Constipation)
เกิดจากอิทธิพลของโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ทําให้กระเพาะอาหารและลําไส้ เคลื่อนไหวน้อยลง เกิดการสะสมของก๊าซ ทานอาหารที่มีกากน้อย ดื่มน้ำน้อย
การพยาบาล
รับประทานอาหารที่มีกากใยมากๆ เช่นผักสด ผลไม้
ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้วหรือ2,000 ซี.ซี.
เปลี่ยนท่าทางอิริยาบถบ่อยๆและควรออกกําลังกายเบาๆทุกวันอย่างน้อยวันละ30 นาที
ฝึกการถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาและสม่ำเสมอ
ไม่ควรใช้การสวนอุจจาระ ยาถ่ายหรือยาระบาย ยกเว้นได้รับคําแนะนําจากแพทย์
อ่อนเพลีย(Fatigue)
พบในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์และหายไปในไตรมาสที่ 2 เกิดจากการเพิ่มระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทําให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและจิตใจ รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ อีกทั้งการเพิ่มของระดับThyroid Hormone ทําให้การเผาผลาญอาหารสูงขึ้น ส่งผลให้อ่อนเพลีย
การพยาบาล
พักผ่อนมากขึ้นและออกกําลังกายพอสมควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
พักในช่วงกลางวันลดความเครียดเรื่องงานต่าง ๆ
คัดจมูกและเลือดกําเดาไหล(Nasal Stuffiness and Epitasis)
พบบ่อยระยะตั้งครรภ์เกิดจากการเพิ่มระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนทําให้มีเลือดไปเลี้ยง mucous membrane ในโพรงจมูกมากขึ้นทําให้เกิดการคั่งของน้ำและเลือด
การพยาบาล
ทําทางเดินหายใจให้ชื้นโดยหยด 0.9% NSS เข้าทางจมูก
6.ปัสสาวะบ่อย (Urinary Frequency and Urgency)
สัปดาห์ที่ 6 หายไปเมื่อ 2-3 เดือนหรือมดลูกโตไปอยู่เหนืออุ้งเชิงกรานเกิดจากการที่มดลูกโตไปกดกระเพาะปัสสาวะทําให้มีความจุน้อยลง จึงมีอาการถ่ายปัสสาวะบ่อย
การพยาบาล
เลี่ยงดื่มเครื่องดื่มหรือนมก่อนนอน ห่างจากเวลานอนให้มาก งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ฝึกบริหารกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะปัสสาวะโดยการขมิบก้นวันละ 50-100 ครั้ง และไม่ควรกลั้นปัสสาวะ
1.คัดตึงเต้านม (Breast tenderness)
การพยาบาล
1) สวมเสื้อชั้นในพอดีตัวและเหมาะสมกับขนาดของเต้านม ใส่ตลอดเวลาเพื่อพยุงเต้านมไว้
2) ควรอาบน้ำอุ่นหรือประคบด้วยน้ำอุ่น
3) ไม่ควรใช้สบู่ถูบริเวณหัวนม ควรล้างด้วยน้ำธรรมดา หลังอาบน้ำให้ใช้ครีมทาผิวทาที่เต้านม เพื่อให้ผิวหนังอ่อนนุ่มลง ลดอาการคัน เจ็บและระคายเคือง
ตั้งแต่ 6 สัปดาห์แรกหายไปเมื่อเข้าไตรมาสที่สอง เพิ่มระดับของเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน มีผลให้เต้านมมีขนาดโตขึ้นกว่าเดิม ตึง แข็ง
7 ตกขาว (Vaginal discharge)
ขณะตั้งครรภ์จะมีอาการตกขาวถือว่าปกติ เป็นผลจากการเพิ่มของฮอร์โมนเอสโตรเจนและมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นที่ Vaginal epithelium และ Cervix ทําให้ เพิ่มสารคั่ดหลั่งในช่องคลอดมีฤทธิ์เป็นกรด pH 3.5-6 ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกได้
การพยาบาล
อธิบายว่าจะมีตกขาวมากกว่าปกติในขณะตั้งครรภ์
ดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ โดยการล้างด้วยน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้ง
สวมกางเกงในผ้าฝ้ายหรือใช้แผ่นอนามัยแบบบางๆ
ถ้ามีตกขาวมาก มีกลิ่น/สีผิดปกติ เช่นสีเขียว สีเหลืองหรือมีอาการคันแสบร้อนบริเวณช่อง คลอดและอวัยวะสืบพันธุ์ ควรมาพบแพทย์
อาการทางผิวหนัง
ไตรมาสแรก แต่เริ่มเห็นชัดในไตรมาสที่ 3เนื่องจากมีการขยายของหลอดเลือดที่เลี้ยงผิวหนังทําให้ผิวหนังมีสีคล้ำมีรอยแตกจากการยืดขยาย คัน
การพยาบาล
ทาครีมหรือน้ำมันบํารุง เลี่ยงแสงแดดและการเกาเพราะจะทําให้ผิวถลอก แตกเป็นแผล
9 จุกเสียดยอดอก (Heart burn or Pyrosis)
เกิดจากการมีระดับของโปรเจสเตอโรนสูงขึ้นทําให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร และลําไส้ลดลงน้ำย่อยในกระเพาะอาหารค้างเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาหารส่วนบนคลายตัวรวมถึงมดลูกที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้นไปดันกระเพาะอาหารให้มีพื้นที่น้อยลง ทําให้มีการไหลย้อนกลับ
การพยาบาล
เลี่ยงอาหารที่เกิดก๊าซและอาหารประเภทไขมัน การรับประทานอาหารครั้งละมาก ๆ งดอาหารรสจัดรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย
ภายหลังรับประทานอาหารเสร็จควรนั่งพักประมาณ30 นาที ไมjควรนอนทันที
ขณะมีอาการควรจิบน้ำหรือนมบ่อย ๆ และควรนั่งหรือนอนศีรษะสูง
10 น้ําลายไหลมาก (Excessive salivation or Ptyalism)
เกิดจากการเพิ่มของฮอร์โมนเอสโตรเจนหายไปเองเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น
การพยาบาล
ดูแลสุขอนามัยในช่องปากโดยการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกมื้อและบ้วนปากบ่อยๆ
เคี้ยวหมากฝรั่งหรือจิบเครื่องดื่มที่ชอบอาจช่วยทุเลาอาการได้บ้าง เพราะขณะตั้งครรภ์ปากจะมีรสขมหรือเปรี้ยว
11 เหงือกอักเสบ (Gingivitis)
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน Estrogen ทําให้ มีเลือดมาคั่งบริเวณเหงือกมาก เหงือกจะหนาขึ้นเศษอาหารจะติดฟันได้ง่าย เชื้อโรคเจริญได้ดีทําให้เกิดการ อักเสบและเลือดออกได้ง่ายขึ้น
การพยาบาล
รับประทานอาหารที่มีคุณค่าครบทั้ง5หมู เพิ่มอาหารจําพวกโปรตีนผักและผลไม้โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินซีสูง
รักษาความสะอาดของปากและแปรงฟันอย่างถูกวิธี แปรงที่ไม่แข็งเกินไป
ใช้น้ำเกลืออุ่นๆบ้วนปาก
:<3:ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์
1.จุกเสียดยอดอก (Heart burn or Pyrosis)
2 ท้องผูก(Constipation)
3 ริดสีดวงทวาร(Hemorrhoid)
เกิดจากการขอดพองของหลอดดําบริเวณลําไส้ส่วนล่างของทวารหนักจะมีอาการปวดมาก อาจมีอาการคันหรือมีเลือดออก
การพยาบาล
รับประทานอาหารที่มีกากใยมากระวังอย่าให้ท้องผูก
ถ้ามีริดสวงโผล่ออกมาให้ล้างสะอาดแล้วใช้นิ้วมือค่อยๆดันกลับโดยใช้สารหล่อลื่นช่วย
อธิบายให้ทราบว่าในรายไม่รุนแรงนักภายหลังคลอดจะยุบหายไปเอง
ทําwarm sitz bath เพื่อให้เลือดไหลเวียนดีหรือใช้ถุงน้ำแข็งหรือ astringent solution เพื่อลดขนาดของริดสีดวง
4.ความดันโลหิตต่ําเมื่อนอนหงาย (Supine hupotensive syndrome
เมื่อนอนหงายจะมีอาการมึนงง เป็นลม ซีด ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกและคลื่นไส้ สาเหตุเนื่องจากมดลูกไปกดทับเส้นเลือด Inferior vena cava และเส้นเลือดดําใหญ่ บริเวณเชิงกราน ทําให้ การไหลกลับของเลือดสู่หัวใจน้อยลง ความดันโลหิตต่ําในขณะเปลี่ยนท่าทาง จากการที่เลือดคั่งส่วนปลายและน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งเป็นผลจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในขณะตั้งครรภ์หรืออาจเกิดจากการยืนนานๆ ในอากาศที่อบอ้าวถ่ายเทไม่สะดวก ทําให้ หลอดเลือดฝอยขยายตัวความดันเลือดต่ำลง
การพยาบาล
รีบนอนตะแคงซ้ายทันทีที่สังเกตว่าเริ่มมีอาการ
ไม่ควรยืนนานๆในที่อากาศอบอ้าว
รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้งป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ช่วง 24 สัปดาห์แรก systolic จะลดลง 5-10 mmHg และ diastolic ลดลง 10-15 mmHg ซึ่งจะทําให้ pulse pressure กว้างขึ้นเป็นผลมาจากการ relax ของกล้ามเนื้อเรียบในเส้นเลือดฝอยทําให้ลด vascular resistance
5 การเจ็บถ่วงบริเวณช่วงล่างของท้องน้อย(Round ligament pain)
ช่วงแรกของไตรมาสที่สอง เกิดจากการที่มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นทําให้มีการยืดขยายของ Round ligament ส่งผลให้ เกิดการปวดแปล็บๆจากยอดมดลูกไปถึงกระดูกหัวเหน่า
การพยาบาล
บรรเทาอาการนี้ด้วยการอาบน้ำอุ่น
ขณะนอนตะแคงซ้ายให ใช้หมอนรองรับมดลูกไว้
เมื่อครรภแก่ให้ใช้ผ้าแถบหรือผ้ายืดรัดท้องพยุงไว้
เลี่ยงการทําให้มีการยืดขยายของ ligament เช่นเมื่อจะลุกจากที่นอนควรตะแคงไปข้างหนึ่งแล้วใช้มือยันตัวลุกขึ้น
:smiley:ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์
ปวดหลัง (Backache)
กล้ามเนื้อหลังถูกดึงรั้งจนเกิด muscle strain เป็นลักษณะ lordosis ร่วมกับมีฮอร์โมน Estrogen และ Relaxin ทําให้ข้อต่อต่างๆ คลายตัวกล้ามเนื้อและเอ็นถูกดึงรั้งโดยน้ำหนักของมดลูก รวมทั้งการที่มดลูกขยายใหญ่ มากทําให้ต้องแอ่นหลังเพื่อปรับสมดุลของร่างกายจึงก่อให้เกิดอาการปวดหลัง
การพยาบาล
ออกกําลังกายในท่านั่งขัดสมาธิ
ใช้กางเกงในแบบ Support หน้าท้อง
เลี่ยงการทํางานหนัก ขณะทํางานไม่ควรก้มหรือเอียงในท่าที่ทําให้กล้ามเนื้อตึงตัวมากนานๆ และควรให้นอนท่าตะแคง
ควบคุมอย่าให้น้ำหนักเพิ่มมากไป
2 หายใจลําบาก (Dyspnea)
เกิดจากการที่มดลูกใหญjขึ้นไปดันกลhามเนื้อกระบังลมทําใหhกลhามเนื้อกระบังลมหดตัวได้น้อย
การพยาบาล
อธิบายให้เข้าใจสาเหตุที่ทําให้เกิดอาการนี้
ให้นอนศีรษะสูงหรือนอนตะแคง
3 บวม (Edema)
อาการที่มีน้ำคั่งอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกาย มักพบได้ ที่บริเวณขาและเท้าเนื่องจากมี การเพิ่มปริมาณของเลือดและน้ำในกระแสเลือดในหลอดเลือดแดงใหญ่ในอุ้งเชิงกรานและในเส้นเลือด Inferior vena cava ไหลเวียนช้าลงเมื่อยืนหรือนั่งห้อยขานานๆความดันเลือดของขาจะสูงขึ้นเพื่อดันเลือดให้กลับขึ้นไป แต่ เนื่องจากที่บริเวณขาหนีบจะถูกกดด้วยน้ำหนักของมดลูกที่เพิ่มขึ้นจึงทําให้แรงดันในหลอดเลือดฝอยเพิ่ม มากขึ้นจึงดันให้น้ำออกจากหลอดเลือดมาอยู่ระหว่างเซลล์
การพยาบาล
ประเมินภาวะบวมและแยกอาการบวมจากโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ ครรภ์เป็นพิษ
นั่งเหยียดขา ยกปลายเท้าสูงเล็กน้อยวันละหลายๆครั้งๆละ10 นาที
นอนยกปลายเท้าสูงเล็กน้อย
4 การหดรัดตัวเป็นครั้งคราว (Braxton-Hicks contraction)
เป็นการหดรัดตัวของมดลูกที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เนื่องมาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มสูงขึ้นและมดลูกขยายขนาด
การพยาบาล
นอนพักผ่อนถ้ามีอาการท้องข็งตึงบ่อยๆ
อธิบายให้เข้าใจว่าเป็นอาการปกติที่พบได้ในขณะตั้งครรภ์ เพื่อลดความวิตกกังวล
5.ปัสสาวะบ่อย (Urinary Frequency and Urgency)
6 นอนไม่หลับ(Insomnia)
เนื่องจากมดลูกโตทําให้นอนลําบาก ไม่สุขสบายเวลานอน และทารกในครรภ์มักดิ้นแรงทําให้มารดารู้สึกไม่ สุขสบายหรือเจ็บได้
การพยาบาล
ผ่อนคลายอารมณ์ ปรึกษาผู้รู้ เพื่อหาคําตอบในเรื่องที่สงสัย/กังวล
อาบน้ำอุ่น ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆหรืออ่านหนังสือเบาสมอง จะช่วยให้หลับง่ายขึ้น
การนวดหลังด้วยโลชั่นจะทําให้รู้สึกผ่อนคลายหลับได้ง่ายขึ้น
แนะนําให้นอนตะแคงใช้หมอนบางๆ หนุนท้องและให้วางขาบนหมอนข้างเพื่อให้กล้ามเนื้อหย่อนตัว
ตะคริวที่ขา (leg cramp)
เป็นการเกร็งของกล้ามเนื้อที่ขาและน่องหรือก้นอาจเกิดจากน้ำหนักของมดลูกไปกดทับประสาทที่มาเลี้ยงส่วนล่างของร่างกาย ทําให้เลือดไหลเวียนไม่ดีหรือการที่กล้ามเนื้อและ fascia ยืดขยายมาก รวมทั้งความเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียหรือการมีท่าทางที่ไม่ถูกต้อง และอาจเกิดจากการเสียสมดุล ของแคลเซียมและฟอสฟอรัส
การพยาบาล
รับประทานยาเม็ดเสริมแคลเซียม
ขณะมีอาการให้จับขาเหยียดตรงและยกปลายเท้า ไม่ควรนวดทันทีอาจประคบกระเป๋าน้ำอุ่น
ออกกําลังกายพอเหมาะ
หลอดเลือดขอด (Varicose veins)
ไตรมาสที่3เนื่องจากโปรเจสเตอโรนทําให้กล้ามเนื้อเรียบผนังและลิ้นกั้นหลอดเลือดดําคลายตัวเลือดไหลกลับไม่สะดวก ก่อให้เกิดการอักเสบของหลอด เลือดดําตามมาได้ ซึ่งในระยะแรกจะเห็นเป็นตาข่ายตื้นๆ (Spider network) ต่อมาจะเห็นเป็นปมหรือหลอดเลือด โป่งพองขดไปมา ส่วนมากมักจะเกิดที่น่อง
การพยาบาล
ไม่ยืน/นั่งนานๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ เพื่อช่วยเลือดไหลเวียนดีขึ้นและควรยกปลายเท้าสูง
กว่าสะโพกประมาณ 45 องศาวันละ4-5 ครั้งๆละ 5-10 นาที ถ้ายกขาสูงเกินไปจะขัดขวางการไหลเวียนได้
Carpal Tunnel Syndrome
อาการมือเท้าชาหรือรู้สึกเจ็บยิบๆ (tingling) หรือเจ็บที่ฝ่ามือ เนื่องจากมีอาการมือและแขนท่อนล่างบวมไปกดระบบประสาทข้อมือ
การพยาบาล
นวดฝ่ามือขยับนิ้วมือขึ้นลง กางนิ้วมือทั้ง 5 ให้กว้างๆสัก2-3 วินาทีแล้วหุบมือ
แพทย์อาจให้กินวิตามินบี 6