Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ฮอร์โมนและการทำงานของฮอร์โมน - Coggle Diagram
ฮอร์โมนและการทำงานของฮอร์โมน
1.ฮอร์โมนที่ควบคุมการสร้างและหลั่งฮอร์โมนชนิดอื่น
1.1 ฮอร์โมนจากไฮโพทาลามัส กระตุ้นและยับยั้งการสร้างและหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
Growth hormone-inhibitinghormone;GHIH ยับยั้งการสร้างและหลั่งโกรทฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
Corticotropin-releasing hormone;CRH กระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้สร้างและหลั่งAdrenocorticotropic hormone;ACTH
Dopamine or Prolactin-inhibiting hormone;PIH ยับยั้งการสร้างและหลั่งProlactin จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
Thyroid-releasing hormone;TRH กระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าและหลั่งThyroid-stimulating hormone;TSH
Antidiuretic hormone;ADH or Vasopressin ควบคุมดุลยภาพของน้ำ
Gonadotrophin-releasing hormone;GnRH ควบคุมการสร้างและหลั่งGonadotrophin;GN จากต่อมใต้สมอง
Oxytocin ทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่มดลูกบีบและกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
Growth hormone-releasing hormone;GHRH กระตุ้นการสร้างและหลังGrowth hormone;GH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
1.2 ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ควบคุมการสร้างและการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมไรท่ออื่นๆ
TSH กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนเป็นปกติ
ACTH กระตุ้นต่อมหมวกไตส่วนนอกให้หลั่งฮอร์โมนเป็นปกติ
GN ประกอบด้วย Follicle-stimulating hormone;FSH และ Luteinzing hormone;LH กระตุ้นรังไข่และอัณฑะให้สร้างฮอร์โมนเพศ
2.ฮอร์โมนที่ควบคุมและเกี่ยวข้องกับเมทาบอลิซึม
2.2 กลุ่มฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
ตับอ่อนทําหน้าที่เป็นทั้งต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อ ส่วนที่เป็นต่อมมีท่อทำหน้าที่สร้างเอนไซม์หลายชนิดและส่งไปย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อคือ islets of Langerhans กระจายอยู่ทั่วไปในตับอ่อน ซึ่งประกอบด้วย เซลล์แอลฟาและเซลล์บีตา ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
insulin สร้างจากเซลล์บีตาที่บริเวณส่วนกลางของ
ไอซ์เลตออฟลังเกอร์ฮันส์ หน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
glucagon สร้างจากเซลล์แอลฟาที่บริเวณส่วนขอบของ
ไอซ์เลตออฟลังเกอร์ฮันส์ ทำหน้าที่ตรงข้ามกับอินซูลินคือ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำครูฆากอนจะไปกระตุ้นการสลายตัวของไกลโคเจนจากตับและกล้ามเนื้อได้น้ำตาลกลูโคสแล้วปล่อยออกมา ทำให้เลือดมีระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้น
2.3 กลุ่มฮอร์โมนจากตับอ่อน
Glucocorticoids กลุ่มฮอร์โมนสร้างจากต่อมหมวกไตส่วนนอก หน้าที่หลักในการควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
Cortisol หน้าที่สำคัญในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
การมีกลูโคคอร์ทิคอยด์มากเกินไป ทำให้เกิด Cushing's syndrome จะมีความผิดปกติเกี่ยวกับเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และลิพิด ผู้ป่วยจะมีลักษณะแขนขาเรียวลีบ พุงยื่น ใบหน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ บริเวณต้นคอมีหนอกยื่นออกมา ผิวบางเป็นรอยช้ำได้ง่ายและบางบริเวณมีรอยแตก
Epinephrine or Adrenaline and Norepinephrine or Noradrenaline สร้างจากต่อมหมวกไตส่วนในและออกฤทธิ์เหมือนกันโดยกระตุ้นให้เพิ่มการสลายไกลโคเจนมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดเพิ่มขึ้น
2.1 กลุ่มฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์ประกอบด้วย Thyroid follicle ได้จำนวนมากซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียงเป็นชั้นเดียว ทำหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนโดยใช้ไอโอดีนเป็นองค์ประกอบ ฮอร์โมนนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของไทรอกซินแล้วปล่อยเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด นอกจากนี้ยังพบC-cell or Parafollicular cell อยู่ระหว่างไทรอยด์ฟอลิเคิล ซึ่งสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสมดุลของแคลเซียม
ไทรอกซินทำหน้าที่ควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย
การขาดไทรอกซินในวัยเด็กจะมีผลให้ร่างกายและสมองเจริญน้อยลง ให้ร่างกายเตี้ยแคระ แขนขาสั้น ผิวหยาบแห้ง ผมบาง ปัญญาอ่อน กลุ่มอาการเช่นนี้เรียกว่า Cretinism
การขาดไทรอกซินในผู้ใหญ่จะทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย น้ำหนักเพิ่ม ทนความหนาวไม่ได้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจโต ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย มีอาการซึม เฉื่อยชา และความจำเสื่อม กลุ่มอาการเช่นนี้เรียกว่า Myxedema จะมีลักษณะบวมที่ใบหน้า มือและเท้า รอบดวงตาบวมน้ำ หน้าหมองคล้ำ ผมและผิวหนังแห้ง
5.ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่อื่นๆ
Oxytocin หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่มดลูกบีบตัว เป็นฮอร์โมนที่แพทย์ฉีดเพื่อช่วยในการคลอดของมารดาที่มีฮอร์โมนชนิดนี้น้อยกว่าปกติ
Prolactin สร้างและหลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า หน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมหลังการคลอด
Melatonin สร้างจาก Pineal gland ยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ไม่ให้เติบโตเร็วเกินไปในช่วงก่อนวัยเจริญพันธุ์แต่ถ้ามีการสร้างมากเมลาโทนินมากเกินไปจะส่งผลให้เจริญเข้าสู่วัยหนุ่มสาวช้ากว่าปกติ
Endorphin สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าและอาจสร้างจากเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆ หน้าที่ระงับความเจ็บปวดและช่วยเพิ่มความตื่นตัว มีชีวิตชีวาและความสุข จึงเรียกสารนี้ว่า ฮอร์โมนแห่งความสุข
Human chorionic gonadotropin;hCG สร้างจากรก จะเริ่มหลั่งจากเอ็มบริโอฝังตัวที่ผนังมดลูกแล้ว เพื่อกระตุ้นคอร์ปัสลูเทียในรังไข่ให้เจริญต่อไปและสร้างโพรเจสเทอโรนเพิ่มขึ้น
Thymosin สร้างจากเซลล์บางส่วนของไทมัส หน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาของลิมโฟไซต์ชนิดทีหรือเซลล์ทีในไทมัส ไทโมซินจึงเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
Gastrin สร้างจากกระเพาะอาหาร หน้าที่กระตุ้นการหลั่งเอนไซม์และหลั่งกรดไฮโดรคลอริกจากกระเพาะอาหาร
Secretin สร้างจากลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม อาหารที่มีความเป็นกรดจากกระเพาะอาหารผ่านเข้าไปในดูโอดีนัม ซีคริทินจะกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งโซเดียมไฮโดเจนคาร์บอเนต
Cholecystokinin สร้างจากลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม กระตุ้นการบีบตัวของถุงน้ำดีและตับอ่อนให้หลั่งเอนไซม์
Erythropoietin สร้างจากไตหน้าที่กระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงจากไขกระดูก
4.ฮอร์โมนที่ควบคุมการรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุ
4.2ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก
Mineralocorticoids สร้างจากต่อมหมวกไตส่วนนอก หน้าที่หลักการควบคุมดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย
ฮอร์โมนที่สำคัญ Aldosterone ควบคุมการทำงานของไตในการดูดน้ำกลับและโซเดียมเข้าสู่หลอดเลือดและขับโพแทสเซียมออกจากท่อหน่วยไตให้สมดุลกับความต้องการของร่างกายทั้งยังควบคุมสมดุลของความเข้มข้นของฟอสเฟตในร่างกาย
4.3ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์และต่อมพาราไทรอยด์
Calcitonin สร้างจากเซลล์ซีของต่อมไทรอยด์ หน้าที่กระตุ้นการสะสมแคลเซียมที่กระดูกลดการดูดกลับแคลเซียมที่ไตและลดอัตราการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็ก ฮอร์โมนนี้ทำงานร่วมกับฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์และวิตามิน D
Parathormone or Parathyroid hormone;PTH สร้างจากต่อมพาราไทรอยด์ พาราทอร์โมนควบคุมสมดุลของแคลเซียมในเลือดให้ปกติ ถ้ามีพาราเทอร์โมนน้อยกว่าปกติ ทำให้การดูดกลับแคลเซียมที่ท่อหน่วยไตและการสลายแคลเซียมจากกระดูกน้อยลง
4.1ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง
ADH หลังจากต่อมใต้สมองส่วนหลังทําหน้าที่ควบคุมดุลยภาพของน้ำ โดย ADH ไปกระตุ้นในท่อขดส่วนปลายของหน่วยไตและท่อรวมดูดกลับน้ำเข้าสู่หลอดเลือด ทำให้ปริมาณน้ำในเลือดสมดุลและกระตุ้นให้หลอดเลือดอาร์เทอรีหดตัว
3.ฮอร์โมนที่ควบคุมการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโด
3.2กลุ่มฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก
แอนโดรเจนนอกจากสร้างจากอัณฑะแล้ว ยังสร้างจากต่อมหมวกไตส่วนนอกของทางเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งมีปริมาณเล็กน้อยเมื่อเทียบกับที่สร้างจากอัณฑะ จึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายไม่มาก
3.3กลุ่มฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ในเพศหญิง FSH กระตุ้นการเจริญเติบโตฟอลลิเคิลในรังไข่ ขณะที่ฟอลลิเคิลเจริญจะสร้างอีสโทรเจน ส่วน LH จะกระตุ้นการตกไข่
Growth hormone;GH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า หน้าที่สำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายเรียกฮอร์โมนชนิดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า Somatotropic hormone;STH ทำหน้าที่กระตุ้นให้ตับสังเคราะห์สารไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย
กรณีมี GHมากเกินไปในวัยเด็กจะทำให้ร่างกายสูงผิดปกติหรือสภาพร่างยักษ์ หากหากฮอร์โมนนี้ในวัยเด็กจะมีลักษณะเตี้ยแคระหรือสภาพแคระ
ถ้ามี GH สูงภายหลังโตเต็มวัยแล้ว ร่างกายจะไม่สูงใหญ่กว่าปกติมากนัก แต่ส่วนที่เป็นกระดูกแขน ขา คาง ดูขากรรไกรและกระดูกแค่ยังตอบสนองต่อ GH อยู่ ทำให้กระดูกเหล่านี้ค่าใหญ่โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า มือ เท้า นิ้วมือนิ้วเท้ามีขนาดใหญ่ ผิวหยาบกร้านและหนาขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น บวมตามข้อต่อ
ผู้ใหญ่ที่ขาด GH แม้จะไม่มีลักษณะที่ปรากฏอย่างเด่นชัด แต่มีอะไรกับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าคนปกติ จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถทนต่อความเครียดต่างๆได้
ในเพศชาย FSH กระตุ้นการเจริญเติบโตของอัณฑะและหลอดสร้างอสุจิให้สร้างอสุจิ ส่วน LH กระตุ้นกลุ่มเซลล์อินเตอร์สติเซียลให้หลั่งเทสโทสเตอโรน
3.1กลุ่มฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์
ในเพศชายมาเข้าสู่วัยหนุ่ม Interstitial cell or Leydig cell ซึ่งแทรกอยู่ระหว่างหลอดสร้างอสุจิในอัณฑะจะได้รับการกระตุ้นโดย LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้สร้างฮอร์โมนเพศชายซึ่งเรียกว่า Androgen ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนหลายชนิด ที่สำคัญคือ Testosterone หน้าที่ทำให้เพศชายมีความสามารถในการสืบพันธุ์ กระตุ้นการสร้างสเปิร์ม และควบคุมการมีลักษณะของเพศชาย เช่น มีลูกกระเดือกเห็นได้ชัด มีขนตามร่างกายรักแร้แขนขาอวัยวะเพศ
ในเพศหญิงมีแหล่งสร้างฮอร์โมนเพศคือ ฟอลลิเคิลและคอร์ปัสลูเทียมในรังไข่ โดยระยะก่อนการตกไข่เซลล์ฟอลลิเคิลจะสร้างฮอร์โมนเพศหญิง คือ Estrogen ทำหน้าที่ให้เพศหญิงมีความสามารถในการสืบพันธุ์และมีลักษณะของเพศหญิง เช่น มีเสียงเล็ก สะโพกผาย อวัยวะเพศและเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น คอร์ปัสลูเทียมจะสร้างProgesteroneและอีสโทรเจนซึ่งทำงานร่วมกันโดยโปรเจสเตอโรนกระตุ้นการเจริญของเยื่อบุคชั้นในของผนังมดลูกให้หนาขึ้น เพื่อรองรับการฝังตัวของเอ็มบริโอ
3.4กลุ่มฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
ไทรอกซินในมนุษย์นอกจากทำหน้าที่ควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมแล้วยังควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและการเจริญของสมอง การขาดไทรอกซินในวัยเด็กจะมีผลให้พัฒนาการทางร่างกายและสมองด้อยลง การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติและปัญญาอ่อน