Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู - Coggle Diagram
บทที่ 5
ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน
ศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ
การปฏิรูปการศึกษาปรับเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ไปสู่การอบรมให้ผู้เรียนเกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดการศึกษาให้มีคุณภาพสูง เพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นคนดี เป็นคนเก่งและมีความสุขในชีวิต มีความสามารถทางสติปัญญา IQ (Intelligence Quotient) มีความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient) และมีคุณธรรมจริยธรรม MQ (Moral Quotient)
การพูดเป็น คือ การพูดที่มีประโยชน์แก่ผู้พูดและผู้ฟัง การพูดเป็นจึงเป็นการถ่ายทอดความคิด ความรู้จากตัวผู้พูดไปยังผู้ฟัง เพื่อให้ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจ เกิดความสามารถในอันที่จะปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และมีทัศนคติในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สิ่งที่ผู้พูดควรปฏิบัติ คือ พูดจากใจ จริงใจ มั่นใจ สุดใจ แต่อย่าข่มใจ
เทคนิคในการถ่ายทอดของครู
เทคนิคการสอนบรรยาย ผู้สอนที่จะบรรยายควรใช้เทคนิค 7 ประการ
เทคนิคการทำให้ผู้เรียนเข้าใจและจำง่าย
เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน
เทคนิคการตั้งคำถาม
. แสดงถูกกาลเทศะ
เทคนิคการตอบคำถาม
ศิลปะในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
แนะแนวหรือชี้นำมากกว่าการสอน ครูควรเปลี่ยนบทบาทจากผู้บอกมาเป็นพี่เลี่ยง ชี้แนะหรือสรุปมากกว่าสอนแบบจ้ำจี้จ้ำไช
ให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิดการทำ โดยครูต้องเขียนขอบเขตตามบทบาทของผู้เรียน เช่น ไม่ตะโกนส่งเสียงดังรบกาวนสมาธิของผู้อื่น
ครูควรสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองและท้าทาย ครูต้องเป็นกัลยาณมิตรพร้อมสร้างกิจกรรมให้ผู้เรียนอยากรู้อยากลอง ท้าทายหรือประลองฝีมือ มีการแข่งขัน สนุกสนสน
ใช้วิธีสอนที่หลากหลาย เช่น เกม กิจกรรมกลุ่ม บทบาทสมมติ เพลง ทดสอบ รวมทั้งสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ครูควรจัดกิจกรรมให้สัมพันธ์หรือสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เป็นอยู่
ต้องคำนึงถึงประสบการณ์ในอดีตของผู้เรียน คนเราชอบฟังเรื่องใกล้ตัวมากกว่าเรื่องไกลตัว
การจัดกิจกรรมควรให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ควรทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ ดัดแปลง ตกแต่ง ทำให้ก้าวหน้า เพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
สร้างแรงจูงใจ โดยวิธีการถ่ายทอดที่ผสมผสาน คำนึงความสามารถในการเรียนรู้ โดยปกติเด็กจะสนใจใน 15 นาทีแรกและการเรียนรู้จะลดถอยลงถ้าไม่มีกิจกรรมอื่นแทรก
บทบาทของครูในฐานะผู้ถ่ายทอดภาษาและวัฒนธรรม
ลักษณะครูที่ดีตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา
คัมภีร์รัญจะ กถัง กัตตา แปลว่า แถลงเรื่องลึกล้ำได้ หมายถึง ครูต้องสมารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจได้ด้วย
โน จักฐาเน นิโยชเย แปลว่า ไม่ชักนำในเรื่องเหลวไหล หมายถึง ครูไม่ชักจูงศิษย์ไปในทางที่เสื่อมเสีย ครูไม่ประพฤติชั่ว ควรละเว้นอบายมุขทั้ง 6 อย่าง
วัตตา แปลว่า รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ หมายถึง ครูจะต้องรู้จักพูดให้ศิษย์เข้าใจได้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้
วจนักขโม แปลว่า อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึง ครูต้องพร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาการซักถาม คำเสนอแนะและคำวิพากษ์วิจารณ์ได้
ครุ แปลว่า น่าเคารพ หมายถึง ครูจะต้องดูแลและปกครองศิษย์ให้ศิษย์มีความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้และรู้สึกปลอดภัย
ปิยะ หรือ ปิโย แปลว่า น่ารัก หมายถึง ครูต้องทำตนให้เป็นคนน่ารักของลูกศิษย์
ภาวนีโย แปลว่า น่าเจริญใจ น่ายกย่องในฐานะผู้ทรงคุณ หมายถึง ครูจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง
ลักษณะครูที่ดีตามพระราชดำรัส
“ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้กระทำแต่ความดี คือ ต้องหมั่นขยันอุตสาหะพากเพียร ต้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ ต้องหนักแน่น อดทน อดกลั้น ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย และความสนุกสนานร่าเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิของตนต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ต้องรักษาความซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ ต้องมีเมตตา และหวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องหมั่นอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการและความฉลาดรอบรู้ให้เหตุและผล”
“ครูนั้นจะเป็นครูจีน ครูไทย ครูฝรั่ง ครูแขก ชาติใดก็ตาม ผู้ที่เป็นครูนั้นจะต้องมีจิใจสูงถ้าครูมีจิตใจสูงก็จะทำงานของตนด้วยความสำเร็จจะเป็นที่นับถือของลูกศิษย์ และเป็นที่เคารพของผู้ที่เป็นประชาชนทั่วๆ “ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ประจำปีพุทธศักราช 2524 เมื่อวันที่ 8 กรกาคม พ.ศ. 2524
บทบาทของครูในฐานะผู้ถ่ายทอดภาษาและวัฒนธรรม
มุมมองต่อวัฒนธรรมในยุคปัจจุบัน
วัฒนธรรมมีความสำคัญต่อสังคมมนุษย์ เนื่องจากวัฒนธรรมต่างๆ ทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวให้รอดชีวิตจากภัยธรรมชาติ สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมและสืบต่อเผ่าพันธุ์ได้ มนุษย์สร้างสรรค์วัฒนธรรมต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ และทางสังคม
อันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
วัฒนธรรมไทยกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมหลัก หรือวัฒนธรรมของชาติ มักได้รับการยอมรับสนับสนุนโดยรัฐบาลกลาง ในประเทศไทย
เรามีวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบของภาษา ดนตรี อาหาร การประพฤติปฏิบัติตน และส่วนประกอบอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน
วัฒนธรรมไทยประจำภูมิภาค
ความสำคัญภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
ความสำคัญของภาษา
ภาษาช่วยธำรงสังคม
ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล
ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา
ภาษาช่วยกำหนดอนาคต
ภาษาช่วยจรรโลงใจ
ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย
เป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน
เป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหา
ทำให้เกิดความสามัคคีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า
เป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคมมนุษย์
เป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ
คุณลักษณะความเป็นครู
บทบาทของครูตาม TEACHERS MODEL
S – Service (การบริการ)
R – Research (การวิจัย)
E – Evaluation (การประเมินผล)
E – Ethics (จริยธรรม)
H – Human Relationship (มนุษยสัมพันธ์)
T – Teaching(การสอน)
A – Academic (วิชาการ)
C – Cultural Heritage (การสืบทอดวัฒนธรรม)
“ครูต้องเป็นผู้ที่สามารถแยกได้ว่าอะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว เป็นผู้ที่ตระหนักในคุณความดี ความชั่วแม้นิดหนึ่งก็ไม่ทำ แต่ความดีแม้น้อยนิดก็รีบทำ ครูประพฤติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีของศิษย์และผู้อื่น เป็นผู้สอนศิษย์ให้เป็นคนดี มีความมาประพฤติดี ครูจึงต้องทำงานหนักและใช้สติปัญญาค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอเพื่อสามารถแนะนำสั่งสอนศิษย์และถ่ายทอดคุณธรรมความดีและความรู้ให้แก่ศิษย์ เพื่อให้มีคุณธรรมและศีลธรรมประจำใจ นำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันในฐานะเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ” (.......)
บทบาทหน้าที่ของครูตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง แสดงออกอย่างอิสระและมีส่วนร่วมทุกกิจกรรม
จัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ใช้แหล่งการเรียนรู้อื่นๆ ในชุมชน เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ แหล่งผลิตศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ฯลฯ
วางแผนสร้างหน่วยการเรียนรู้ กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้ ทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ
จัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนและสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียน บรรยากาศดึงดูดความสนใจ ท้าทายให้ผู้เรียนอยากมีส่วนร่วม
จัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการการเรียนรู้ ประสานข้อมูลระหว่างสถานศึกษา บ้านและชุมชน เพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม ปฏิบัติต่อเพื่อนครูและผู้เรียน
จัดการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพจริงของผู้เรียน