Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ระบบหายใจและหลอดเลือดในภาวะวิกฤต - Coggle…
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา
ระบบหายใจและหลอดเลือดในภาวะวิกฤต
การพยาบาลผู้ป่วย
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
สาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
สาเหตุที่หัวใจโดยตรง
ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจอักเสบ
ลิ้นไมตรัลตีบ หัวใจล้มเหลว ภายหลังผ่าตัดหัวใจ
สาเหตุภายนอกหัวใจ
ได้แก่ การเสียสมดุลย์อิเล็กโตไลท์ และกรด-ด่าง
ออกซิเจนตํ่า คาร์บอนไดออกไซด์คั่ง ช็อค
ประสาทอัตโนมัติทํางานผิดปกติ ยา อาหาร กาแฟ
บุหรี่ การพักผ่อนไม่เพียงพอ โรคอื่นๆ
การประเมินสภาพผู้ป่วย
การซักประวัติ
ประวัติเกี่ยวกับโรคหรือปัญหา
ของระบบหัวใจและไหลเวียน
ประวัติเกี่ยวกับการได้ยาโรคหัวใจ
ประวัติเกี่ยวกับหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เช่น ปัจจัยเสริม อาการร่วม ระยะเวลา
ความถี่ของการเกิด การรักษาเมื่อมีอาการ
ประวัติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่
ดื่มสุรา ดื่มกาแฟ เป็นประจํา
การตรวจร่างกาย
ระบบประสาท: เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง
ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว
กระสับกระส่าย พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
ระบบหายใจ : หายใจเร็ว ตื่น อาจถึงขั้น
หยุดหายใจ มีการเปลี่ยนแปลงสมดุลกรด-ด่าง
มักเกิดภาวะกรดออกซิเจนตํ่า หายใจลําบาก
ระบบทางเดินปัสสาวะ : เลือดไปเลี้ยงไตลดลง
ทําให้การลดการกรองที่ไต มีการคั่งของนํ้า
และโซเดียม ปัสสาวะออกน้อย ของเสียคั่ง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด : ความดันตํ่า
ชีพจรเบา หรือจับชีพจรไม่ได้
การไหลเวียนของโลหิตลดน้อยลง
ทําให้ผิวหนังเย็นคลํ้า ปลายเล็บเขียว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจเลือด เพื่อดูภาวะซีด
และการติดเชื้อ
การตรวจร่างกายหาค่าอิเล็กโตไลท์ในเลือด
ที่สําคัญคือ โปแตสเซียม และแคลเซียม
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
หลักการพยาบาล
ผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ
วัตถุประสงค์ :
เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้พอเพียง
ติดตาม EKG ให้ ออกซิเจน สารนํ้า
จํากัดกิจกรรม และให้ยาตามแผน
สังเกตอาการที่บ่งชี้ว่าเลือดไปเลี้ยงหัวใจ
ได้ไม่เพียงพอ ได้แก่ มึนศีรษะ เป็นลม ชัก
สังเกตอาการที่แสดงว่าเลือดออก
จากร่างกายน้อยลง เช่น อ่อนเพลีย
Record v/s และ บันทึกปริมาณนํ้าที่ได้รับ
และสูญเสียออกจากร่างกาย
สังเกตอาการที่บ่งบอกว่า
หัวใจได้รับเลือดไม่เพียงพอ
วัตถุประสงค์ :
ไม่มีการอุดกั้นจากก้อนเอมโบไล
ป้องกันการเกิด เช่น ใส่ถุงเท้ายืด ออกกําลังกาย
ตามทิศทางการเคลื่อนไหวของข้อ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกนั่ง หรือช่วยเหลือตัวเองให้เร็วที่สุด
ดูแลให้ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
สังเกตอาการของเอมโบไลอุดกั้น
อย่างน้อยเวรละ 1 ครั้ง
รีบรายงานแพทย์หากมีข้อบ่งชี้ แพทย์อาจพิจารณา
ให้ เฮปาริน (heparin) หรือ คูมาดิน (cumadin)
ดูแลให้ได้รับสารนํ้าทางปาก
และหลอดเลือดอย่างเพียงพอ
วัตถุประสงค์ :
คลื่นไฟฟ้าหัวใจคงที่ หรือกลับคืนสู่ภาวะปกติ
เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที
การทํา valsalva maneuver และกระตุ้น
คาโรติค ไซนัส (carotid sinus massage)
ในรายที่หัวใจเต้นเร็วเหนือเวนตริเคิล
บันทึกชีพจร ความดันโลหิต
ให้การพยาบาลตามแผนการรักษา
และป้องกันภาวะเต้นผิดจังหวะ เช่น การให้ยา
การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ การช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้า
ค้นหาสาเหตุของการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ
จาก การซักประวัติ อาการ Lab
บันทึก/ติดตาม การตรวจ EKG
และรายงานหากพบความผิดปกติ
การพยาบาลผู้ป่วย
ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
สาเหตุใหญ่ๆ มี 2 ประการ
2.กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนัก
จากการเพิ่มแรงต้านทานของเส้นเลือด
1.การหดตัวองกล้ามเนื้อหัวใจลดลง
มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
มีของเหลวในเยื่อหุ้มหัวใจ
ชนิดของภาวะหัวใจล้มเหลว
หัวใจด้านซ้ายล้มเหลว
เหนื่อยง่ายเมื่อมีกิจกรรม อาการหายใจหอบ
ในท่านอนราบ ไอ อาการหอบในช่วงกลางคืน
อาการเขียว หายใจเสียงดัง
หัวใจด้านขวาล้มเหลว
ตับม้ามโต มีการคั่งของน้ำในช่องท้อง
มีการยืดขยายของหลอดเลือดดำที่คอ
มีการบวมของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
การรักษาและการพยาบาล
เพิ่มประสิทธิภาพในการ
บีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
ให้ยาดิจิทาลิส โดปามีน โดบูทามีน
และการให้ออกซิเจน
ลดจำนวนเลือดโดย
การเจาะเลือดดำออก
ให้นอนในท่าศีรษะสูง
ลดการทำงานของหัวใจที่เกินกำลัง
เช่น การให้ยาขับปัสสาวะ การจำกัดเกลือ
และโซเดียม
การพยาบาลผู้ป่วย
ที่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
ลิ้นไมตรัลตีบ (Mitral Stenosis)
สาเหตุ
ไข้รูมาติค เนื้องอกที่เอเตรียม
ส่วนใหญ่เป็นเอเตรียมซ้าย
จะทําให้อุดตันทางเดินเลือด
อาการและอาการแสดง
ใจสั่น ระยะแรกมี อาการสั่นเป็นพักๆ
และต่อมาจะมี atrial fibrillation
อย่างถาวรหอบเหนื่อย เนื่องมาจากน้าคั่งในปอด
ไอเป็นเลือด
ลิ้นไมตรัลรั่ว (Mitral regurgitation)
เป็นการผิดปกติของลิ้นไมตรัล ทําให้มีการ
ไหลย้อนกลับของเลือดจากเวนตริเคิลซ้าย
ไปยังเอเตรียมขวา
อาการและอาการแสดง
หอบเหนื่อย ซึ่งความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความ
สามารถในการขยายตัวของเอเตรียมซ้าย
เจ็บหน้าอก ใจสั่น ชีพจรส่วนมากปกติ
ลิ้นเอออร์ติคตีบ (Aortic Stenosis)
เป็นความพิการโดยลิ้นหนาตัวขึ้น และมีการยึดติด
ของกลีบลิ้น ซึ่งเป็นผลจากการมีหินปูนมา
เกาะจับ ทําให้รูเปิดของเอออร์ติคแคบลง
อาการและอาการแสดง
เป็นลมหมดสติ เหนื่อยหอบ เนื่องจากมีภาวะหัวใจวาย
จะมีอาการนอนราบไม่ได้หรือเหนื่อยหอบในเวลากลางคืน
ร่วมด้วยเสมอ เสียงหัวใจ อาจพบเสียงฟู่ ซีสโตลิคที่บริเวณ
ลิ้นเอออร์ติค ทั้งๆ ที่ผู้ป่วยไม่มีอาการอะไร เจ็บหน้าอก
จะเกิดขณะออกกําลังกาย หรือหลังจากออกกําลังกายแล้วเล็กน้อยก็ได้
ลิ้นเอออร์ติครั่ว (Aortic Regurgitation)
เป็นความผิดปกติของลิ้น ทําให้เลือดออกจาก
เวนตริเคิลซ้ายไปเอออร์ต้าไหลย้อนกลับเข้าสู่
เวนตริเคิลซ้าย
การรักษา โรคลิ้นหัวใจมี 2 วิธี
การรักษาทางศัลยกรรม เช่น การขยายลิ้นหัวใจ
(Comissurotomy Vulvotomy)
การซ่อมลิ้นหัวใจ (Repair)
การรักษาทางอายุรกรรม- การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
ใช้ได้กับผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจทุกชนิด จํากัดเกลือ
และให้ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดการคั่งของเลือด
จํากัดกิจกรรม ให้ยาต้านการเจ็บหน้าอก
การรักษาด้วยยาขยายหลอดเลือด
เช่น ไนโตรกลีเซอรีน (nitroglyserine)
การดูแลผู้ป่วย
โรคหัวใจภาวะวิกฤตในห้องฉุกเฉิน
ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome, ACS)
กลุ่มอาการโรคหัวใจขาด เลือดที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน
ประกอบด้วยอาการที่สําคัญคือ เจ็บหน้าอกรุนแรง
เฉียบพลัน หรือเจ็บหน้าอกขณะพัก นานกว่า 20 นาที
หรืออาการเจ็บหน้าอกซึ่งเกิดขึ้นใหม่
หรือรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
ชนิด
ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ไม่พบ
ST segment elevation (Non ST elevation acute
coronary syndrome)
ภาวะ หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่พบความผิดปกติ
ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีลักษณะ ST segment
ยกขึ้นอย่างน้อย 2 Leads ที่ต่อเนื่องกัน หรือ
เกิด LBBB ขึ้นใหม่ (ST elevation acute coronary
syndrome)
มีไขมันและเซลล์ที่เกี่ยวกับการอักเสบ
มาเกาะที่ผนังหลอดเลือดและมีพังผืดหุ้มเอาไว้ Plaque
จึงทําให้ทางไหลของเลือดแคบลง หากPlaque rupture
เกล็ดเลือดที่อยู่ในกระแสเลือดมาเกาะกลุ่มกันที่ผนังหลอดเลือด
ตามมาด้วยการกระตุ้นระบบการแข็งตัวของเลือด
กลายเป็นกลุ่มก้อนลิ่มเลือดขนาดใหญ่ เรียกว่าThrombus
ซึ่งอาจมีขนาดใหญ่มากจนอุดตันหลอดเลือดแดง ทําให้เลือดไหลผ่านไปไม่ได้
เซลล์กล้ามเนื้อที่อยู่ปลายทางของหลอดเลือดเส้นนั้น
จึงเกิดการขาดเลือด มาเลี้ยงและตายในที่สุด
อาการและอาการแสดงทางคลินิก
อาการเจ็บหน้าอกข้างซ้ายเป็นอาการที่พบบ่อย
อาการเจ็บหน้าอกชนิด angina pectoris
เป็นอาการเจ็บ หน้าอกที่จําเพาะต่อโรค
โดยจะมีอาการเจ็บแบบแน่นๆ หนักๆ เหมือนมีของ
หนักทับบริเวณอกซ้าย อาจมีอาการ แน่นอึดอัด
รู้สึกหายใจไม่ออก พบอาการเจ็บร้าว (refer pain)
ไปยังบริเวณแขนซ้ายด้านใน เจ็บร้าวบริเวณกราม
หรือลําคอได้
การรักษา
การดูแลในระยะฉุกเฉิน (Emergency care)
การทําให้อาการเจ็บหน้าอกหายโดยการให้ยา
Morphine เป็นยาระงับอาการปวดและยาระงับ
ประเมินและเฝ้าระวัง CHF, Cardiogenic shockและ
ที่สําคัญคือ Sudden cardiac arrest เตรียมอุปกรณ์
และยา ในภาวะฉุกเฉินให้พร้อม Early Defibrillation
เพื่อจะได้ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ทันเวลา
การดูแลในระยะแรก (Early care)
การให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดภายใน 30 นาที
และการทํา Percutaneous Intervention:
PCIภายในเวลา 90(+,-)30 นาที
การดูแลในภายหลังจากระยะแรก
(Subsequent care)
การดูแลในระยะต่อมาหลังจากให้ reperfusion
เช่น การให้ยารับประทาน ประกอบด้วย ASA,
ACE inhibitor, Nitrate, Calcium antagonists,
Magnesium และ Lidocaine เพื่อลดอัตราการตาย
ลดอาการเจ็บหน้าอก
การดูแลในระยะการก่อนออกจากโรงพยาบาล
การดูแลในระยะการก่อนออกจากโรงพยาบาล
การประเมินอัตราเสี่ยงและการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
โดยกลุ่มที่มี ความเสี่ยงสูง ได้แก่ hypotension,
congestive heart failure, malignant arrhythmia
ผู้ที่ยังมีอาการเจ็บ หน้าอก ส่วนการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น
การได้รับคําแนะนําให้หยุดบุหรี่ ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
การพยาบาลผู้ป่วย
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
สาเหตุ
โรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี เป็นผลจาก
การมีไขมันพอกอยู่บนผนังเส้นเลือดนานๆเข้า
ส่งผลให้ผนังเส้นเลือดจะถูกทำลาย
และมีหินปูนมาจับทำให้รูของเส้นเลือดตีบ
จนอาจอุดตัน (aterosclerosis)
พยาธิสภาพ
ระยะที่ 3 เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย
เนื่องจากขาดเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น
ทำให้เกิดแผลที่กล้ามเนื้อหัวใจ ประสิทธิภาพ
ในการหดรัดตัวลดลง ส่งผลให้ปริมาตรเลือด
ที่ออกจากหัวใจลดลงตามขนาดการตาย
การตรวจคลื่นคิว (Q wave)
ระยะที่ 2 เซลล์บาดเจ็บ (injury)
ระยะนี้เซลล์เริ่มขาดเลือด ถ้ามีการไหลเวียนเลือด
อย่างเพียงพอ เซลล์จะไม่ตาย พบช่วงเอสที
ยกขึ้น (ST segment elevation)
ระยะที่ 1 เซลล์เริ่มขาดเลือด (ischemia)
ระยะนี้ถ้าไม่มีการตายของเซลล์ หัวใจทำงาน
ได้ตามปกติ ถ้าตรวจคลื่นไฟฟ้าพบคลื่นที
หัวกลับ (invert T wave)
อาการและอาการแสดง
ตายอย่างกะทันหัน จากหัวใจ (sudden cardiac death)
การตายจากสาเหตุทางหัวใจภายใน 24 ชม.
ที่อาการปรากฏ ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้น
ก่อน ที่จะมี Ventricular fibrillation ก่อนจะถึงแก่กรรม
มักมีอาการเป็นลมหรือหมดสติ
เจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจ
ขาดเลือดไปเลี้ยง (Angina pectoris)
การเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อหัวใจ
ได้รับออกซิเจนจากเลือดไม่เพียงพอกับความต้องการ
ซึ่งเป็นเพียงชั่วคราวและยังไม่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย
การรักษาและการพยาบาลผู้ป่วย
ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilator) ไนเตรทที่ออกฤทธิ์สั้น เช่น ไนโตรกลีเซอรีน
ไนเตรทออกฤทธิ์ระยะยาว เช่น
Isordil, nitroglycin oilment
การผ่าตัด
Coronary Atery Bypass Graft : CABG
เป็นการผ่าตัด โดยการเอาเส้นลือดบริเวณอื่น
ของผู้ป่วยมาต่อคร่อมบริเวณที่อุดกั้น
Precutaneous Transluminar Coronary Agioplasty : PTCA
เป็นการเปิดขยายเส้นเลือดโคโรนารีที่ถูกอุดกั้น
การพยาบาลผู้ป่วย
ภาวะการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
ภาวะการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac temponade)
เป็นภาวะที่มีการบีบรัดหรือกดต่อหัวใจอย่างเฉียบพลัน
ผลมาจากความดันในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเพิ่มขึ้น
การสะสมของน้ำ เลือด หนอง
ทำให้ประสิทธิภาพในการบีบตัวของหัวใจลดลง
สาเหตุ เช่น การได้รับบาดเจ็บต่อเยื่อหุ้มหัวใจ
การแพร่กระจายของมะเร็งมายังเยื่อหุ้มหัวใจ
การอักเสบหรือการติดเชื้อที่ช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
อาการและอาการแสดง
เหนื่อยหอบ หายใจขัด เจ็บหน้าอก
น้ำหนักลด เบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียน
ฟังเสียงพบเสียงเสียดสี
ของผนังเยื่อหุ้มหัวใจ
การคลำยอดหัวใจได้เบาหรือไม่ได้
พบเสียงหัวใจเบา ความดันในหลอดเลือดดำกลางสูง
และความดันในหลอดเลือดแดงต่ำ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
(Myocardial infraction)
ชนิดของกล้ามเนื้อหัวใจตาย
Subendocordial infraction คือ ภาวะที่มี
กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นหย่อมๆ ความหนาของ
กล้ามเนื้อที่ตายไม่เกินครึ่งของผนังกล้ามเนื้อหัวใจ
Trasmural infraction คือ ภาวะที่มีกล้ามเนื้อ
หัวใจตายตลอด หรือเกือบตลอดความหนาของ
ผนังกล้ามเนื้อหัวใจ
อาการและอาการแสดง
เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงใต้กระดูกลิ้นปี่
ร้าวไปที่หัวไหล่ คอ ใต้คางและแขน โดยเฉพาะ
ด้านซ้าย ลักษณะการเจ็บปวดเหมือนถูกบีบ
หรือมีของหนักทับ
การรักษา
ทางศัลยกรรม
PTCA
CABG
การให้ยา
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant drug) ได้แก่ Heparin
สารละลายลิ่มเลือด (Thrombolytic agent)
ยาควบคุมอาการเจ็บหน้าอก ได้แก่ ยามอร์ฟีน
กลุ่มไนเตรท