Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
องค์การและวัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) - Coggle Diagram
องค์การและวัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture)
องค์การคืออะไร (What is Orgnization)
องค์การทางสังคม ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน มหาวิทยาลัย ศาสนา (วัด) สมาคม สโมสร ชมรม และกลุ่มกิจกรรมต่างๆ
องค์การทางราชการได้แก่หน่วยงานราชการต่างๆ ซึ่งครอบคลุมถึงกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ที่เรียกกันว่า ระบบราชการ (Bureaucracy) ซึ่งเป็นองค์การที่มีขนาดใหญ่โตมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนมาก
องค์การเอกชนได้แก่ บริษัท ร้านค้าต่างๆที่ด าเนินกิจกรรมเพื่อประโยชน์ทางการค้า
ลักษณะขององค์การ
วิรัช สงวนวงศ์ ( 2537: 20)
ได้สรุปว่า องค์การโดยทั่วไปมีลักษณะที่ส าคัญ 5 ประการ คือ 1)ต้อง ประกอบด้วยคน 2) คนในองค์การต้องมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน 3) ความเกี่ยวข้องดังกล่าวอยู่ในรูป โครงสร้าง 4) ทุกคนต่างมีจุดมุ่งหมายส่วนบุคคล และ 5) การร่วมงานต้องตอบสนองให้ทุกคนพอใจ
สมคิด บางโม(2538: 15)
ได้วิเคราะห์องค์การในแง่มุมต่างๆ ดังนี้ 1) องค์การเป็นโครงสร้างของ ความสัมพันธ์ 2) องค์การเป็นกลุ่มของบุคคล 3) องค์การเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ 4) องค์การเป็น กระบวนการของกลุ่มงาน และ 5) องค์การเป็นระบบอย่างหนึ่ง
เป้าหมายขององค์การ (Organization Goal)
ความสำคัญในการกำหนดเป้าหมายขององค์การคือ
เป็นแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมขององค์การ เพราะในเป้าหมายขององค์การจะมีการระบุสิ่งที่ จะต้องดำเนินการ เพื่อบรรลุเป้าหมาย
เป็นการอำนวยความถูกต้องตามระเบียบแบบแผน หรือกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ องค์การ
เป็นมาตรฐานที่สมาชิกในองค์การ และคนนอกองค์การสามารถใช้วัดความสำเร็จในการ ดำเนินงานขององค์การนั้น
ทฤษฎีองค์การ (Organization Theory)
1. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical Theory)
ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม
มุ่งเน้นองค์การที่มีรูปแบบ (Formal Organization) ซง่ึ ตั้งอยู่บนพื้นฐานหลัก 4 ประการที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนองค์การที่มีรูปแบบ ได้แก่การแบ่งระดับชั้นสายการ บังคับบัญชา การแบ่งงาน ช่วงการควบคุม และเอกภาพในการบริหารงาน
2. ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory)
สรุปได้ว่าทฤษฎีองค์การสมัยใหม่
ให้ความสฎคัญในด้านความรู้สึกของบุคคล ยอมรับถึงอิทธิพลทาง สังคมที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน อาทิเช่น กลุ่มคนงานและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซึ่งมีความเชื่อ ว่าขบวนการมนุษยสัมพันธ์ จะให้ประโยชน์ในการผ่อนคลาย ความตายตัวในโครงสร้างขององค์การสมัย ดั้งเดิมลง
3. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern Theory)
แนวความคิดเชิงระบบนี้ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐาน 5 ส่วน 1.สิ่งนำเข้า (Input) 2. กระบวนการ (Process) 3. สิ่งส่งออก (Output) 4. ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) 5.สภาพแวดล้อม (Environment)
วัฒนธรรมองค์การ
1. การผูกพัน (Involvement)
และการมีส่วนร่วมในองค์การ
2. การปรับตัว (Adaptability)
ที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและ ภายนอกองค์การ
3. การประพฤติปฏิบัติได้สม่ำเสมอ (Consistency)
ซึ่งจะทำให้เกิดการทำงานที่ประสานกันและ สามารถคาดหมายพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
4. มีภารกิจ (และวิสัยทัศน์)
ขององค์การที่เหมาะสม ทำให้องค์การมีกรอบและทิศทางการ ดำเนินงานที่ชัดเจน
ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
1. กลุ่มของค่านิยม (set of values)
ซึ่งบุคคลที่อยู่ในองค์การนั้นยึดถือร่วมกัน ค่านิยม เหล่านี้เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์เพื่อตัดสินว่าพฤติกรรมใดเป็นสิ่งที่ดีและสามารถยอมรับได้ พฤติกรรมใดบ้างที่ ไม่ดีและไม่อาจยอมรับได
2. ค่านิยมขององค์การส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เกิดมาจากข้อ สมมุติพื้นฐาน (basic assumption)
ของพนักงานในบริษัทร่วมกัน จึงเป็นเรื่องยากถ้าจะให้ฝ่ายบริษัทเอง กำหนดข้อสมมุติเหล่านี้ เพราะเป็นเรื่องของความเชื่อและค่านิยมส่วนบุคคลของพนักงาน ด้วยเหตุนี้ วัฒนธรรม องค์การที่เข้มแข็งและมีพลังของหน่วยงานใด ๆ ควรสะท้อนถึงค่านิยมและความเชื่อของพนักงานร่วมกัน
3. การใช้สัญลักษณ์เป็นสื่อบ่งบอกความหมายของค่านิยมที่เป็นวัฒนธรรมขององค์การนั้น
ตัวอย่างที่พบเห็นบ่อย เช่น สัญลักษณ์กากบาดสีแดงบนพื้นสีขาว เป็นเครื่องหมายแทนองค์การกาชาด ซึ่งแสดงค่านิยมเรื่องความเมตตากรุณา การให้การรักษาพยาบาลผู้ทุกข์ยาก หรือสัญลักษณ์ช่อใบมะกอก (ใบโอลีฟ) ภายใต้แผนที่โลกเป็นเครื่องหมายขององค์การสหประชาชาติ แสดงถึงค่านิยมด้านการรักษา สันติภาพของโลก เป็นต้น
ตัวอย่างวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทต่างๆ
กลุ่มบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย
เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่อยู่ในรูปของอุดมการณ์ (Ideology) มีอยู่ 4 ข้อ คือ 1. ตั้งมั่นในความเป็นธรรม 2. มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ 3. เชื่อถือในคุณค่าของคน 4. ถือมั่นในความรับผิดชอบของคน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่อยู่ในรูปของอุดมการณ์ มีอยู่ 5 ข้อ คือ 1. ความรู้สึกเป็นเจ้าของธุรกิจ ( sense of ownership ) 2. มุ่งเน้นผลประโยชน์ทางธุรกิจ (Business Oriented ) 3. ม่งเน้นลูกค้า ( Customer Oriented ) 4. ต้องการให้ ปตท.เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ( Innovative Organization ) 5. มีจิตสำนึกในการทำงานเป็นทีม โดยมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน ( Team Spirit )
บริษัท ไทยอคริริคไฟเบอร์ จำกัด
เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่อยู่ในรูปของค่านิยม (Values) คือ พนักงาน “เป็นหนึ่งเดียว ซื่อสัตย์ ยุติธรรมและมีความซื่อตรงอันเป็นกลยุทธ์พื้นฐานที่เรายึดมั่นใน การพัฒนาบุคลากรของเรา” ลูกค้า “ลูกค้าคือจุดมุ่งเน้นที่เราทำทุกอย่าง” รัฐบาล “เราพยายามที่จะเป็นบรรษัทภิบาลเสมอ” สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย “เราให้คำมั่นสัญญาว่าจะปกป้องสภาพแวดล้อมและจะ พัฒนาที่ชุมชนที่เราดำเนินการอยู่”
บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ CP Group
เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่อยู่ในรูปของปรัชญา (Philosophy) มีปรัชญาในการดำเนินธุรกิจที่ว่า “ให้นึกถึงคนอื่นก่อน”
แนวทางการเกิดวัฒนธรรม
สิ่งที่ผู้นำองค์การให้ความสนใจ ติดตาม และควบคุม เน้นย้้ำอย่างสม่ำเสมอจะเป็น แบบอย่างให้แก่พนักงานทั้งหลาย
ปฏิกิริยาหรือการตอบสนองต่อเหตุการณ์สำคัญ หรือวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับองค์การ จะ กลายเป็นค่านิยมหรือความเชื่อของคนในองค์การใด
สิ่งที่ผู้บริหารกระทำตนเป็นแบบอย่าง สั่งสอน และชี้แนะ เช่น การที่บิลเกตต์ทุ่มเทการ ทำงานอย่างหนักก็จะเป็นแบบอย่างให้พนักงานเชื่อถือ
การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์การ
1. จากเรื่องเล่า หรือประวัติศาสตร์ขององค์การ (Stories หรือ Histories)
โดยทั่วไปเรื่องเล่ามักจะ เป็นประวัติการทำงานของพนักงานดีเด่น หรือประวัติและรูปแบบการทำงานของผู้บริหารดีเด่น
2. จากพิธีการ (Rituals) และพิธีกรรม (Ceremonies)
คือ สิ่งที่องค์การปฏิบัติเป็นกิจวัตร เป็นแบบ แผน เช่น พิธีการต้อนรับลูกค้าและผู้มาเยี่ยมชมโครงการ หรือทำบุญประจำปี
3. สัญลักษณ์ต่าง ๆ (Material Symbols)
เช่น โลโก้ของบริษัท เพื่อให้พนักงานเข้าใจความสำคัญ และรู้สึกภาคภูมิใจในองค์การ
4. ภาษาที่ใช้ (Language)
ซึ่งในองค์การอาจจะมีการสร้างคำศัพท์และภาษาเฉพาะที่จะใช้ภายใน องค์การนั้น
ช่องทางในการติดต่อสื่อสารเพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมองค์การ
1. การสื่อสารจากบนลงล่าง (Downward Communication)
2. การสื่อสารจากล่างขึ้นบน (Upward Communication)
การสื่อสารจากพนักงานระดับล่างสู่ ผู้บริหารระดับสูง โดยการเขียนรายงานการปฏิบัติงานต่าง ๆ การประชุม
3. การสื่อสารในแนวนอน (Lateral Communication / Horizontal Communication)
การ สื่อสารของพนักงานระดับเดียวกัน โดยการพบปะพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการ
4. การสื่อสารในแนวทแยง (Diagonal Communication)
การสื่อสารข้ามระดับ โดยการประชุมเพื่อ แจ้งข่าวสาร ข้อมูลให้ทราบจากพนักงานระดับหัวหน้าแผนกบุคคลถึงพนักงานระดับปฏิบัติการใน กระบวนการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ
5. การรณรงค์โดยจัดกิจกรรมเสริมต่าง ๆ
เช่น การจัดการประกวดค ำขวัญ และโลโก้ของหน่วยงาน
องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์การ
1. ส่วนที่มองเห็นได้ (Visible)
จะเป็นสิ่งที่สมาชิกองค์การสร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นมา เช่น สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ (Artifacts) อาทิเช่น รูปปั้นของผู้ก่อตั้งกิจการ และถาวรวัตถุต่าง ๆ
2. ส่วนที่อยู่ลึกลงไป จะมองไม่เห็น (Invisible)
แต่เป็นสิ่งที่สมาชิกรับรู้และเข้าใจร่วมกัน เช่น ค่านิยมขององค์การที่สมาชิกรับรู้ เช่น ค่านิยมของ Mcdonald ที่เน้น คุณภาพ บริการความ สะอาด
ลักษณะของวัฒนธรรมองค์การ
มิติที่ 1 แบ่งเป็น
1. วัฒนธรรมเด่น (Dominant Culture)
จะเป็นลักษณะของคนในองค์การโดยรวมซึ่งจะเห็นได้จาก ค่านิยมหลักขององค์การนั้น
2. วัฒนธรรมย่อย (Subculture)
จะเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มงาน แผนกงาน หรือพื้นที่งาน ซึ่งใน องค์การหนึ่ง ๆ ที่มีหลายกลุ่มงานหรือแผนกงานก็จะมีวัฒนธรรมย่อย ๆ หลายแบบได
มิติที่ 2 แบ่งเป็น
1. วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง (Strong Culture)
หมายถึง วัฒนธรรมที่มีน้้ำหนักมาก คนเห็นพ้องต้องกัน และยอมรับมากจึงเปลี่ยนแปลงยาก วัฒนธรรมที่เข้มแข็งจะมีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมได้มาก และ ทำให้สมาชิกขององค์การมีแรงยึดเหนี่ยวกันสูง
2. วัฒนธรรมที่อ่อนแอ (Weak Culture)
จะเป็นวัฒนธรรมที่คนอาจจะไม่เห็นพ้องต้องกันมาก และ เปลี่ยนแปลงได้ง่าย และไม่ค่อยมีน้ าหนักต่อสมาชิกเท่าไรนัก
กรอบความคิดวัฒนธรรมองค์การ
กรอบความคิดของโออูชิ (The Ouchi framework)
1. ความผูกพันต่อพนักงาน (Commitment to employees)
2. การประเมินผล (Evaluation)
3. เส้นทางของอาชีพ (Career path)
4. การควบคุม (Control)
5. การตัดสินใจ (Decision-making)
6. ความรับผิดชอบ (Responsibility)
7. การดูแลพนักงาน (Concern for people)
กรอบความคิดของปีเตอร์และวอเตอร์แมน (The Peters and Waterman Framework)
1. ตัดสินใจทำโดยไม่ลังเล (Bias for action)
2. ให้ความใกล้ชิดกับลูกค้า (Stay close to the customer)
3. ให้ความอิสระและทำแบบนักประกอบการ (Autonomy and entrepreneaurship)
4. เชื่อว่าผลงานที่ดีย่อมมาจากคน (Productivity through people)
5. บริหารแบบไม่ปล่อยมือ (Hands – on management)
6. เลือกเน้นเฉพาะธุรกิจที่เป็นความถนัดของบริษัท (Stick to the knitting)
7. มีโครงสร้างอย่างง่ายและใช้บุคลากรน้อยลง (Simple form, lean staff)
8. มีการจัดการทั้งแบบที่ยืดหยุ่นและแบบที่ตึงตัวพร้อมกันไป (Simultaneously loosely and tightly organized)
ประเภทของวัฒนธรรมองค์การ (Type of corporate cultures)
วัฒนธรรมแบบปรับตัว (Adaptability Culture)
ส่งเสริมการสร้างสรรค์ การใช้จินตนาการ
ส่งเสริมให้ทดลอง ให้ลองทำผิดพลาดไม่เป็นไรให้ถือเป็นบทเรียน
วัฒนธรรมแบบมุ่งผลำเร็จ (Achievement Culture)
การให้แข่งขันกันทำงาน เพื่อสร้างผลงาน
การรุก การมุ่งมั่น เอาจริงเอาจัง
วัฒนธรรมแบบเครือญาติ (Clan Culture)
การทำตามประเพณีปฏิบัติ (Traditional)
การคำนึงถึงผลกระทบที่จะมีต่อคนอื่น ๆ
วัฒนธรรมแบบราชการ (Bureaucratic Culture)
การประหยัดและมุ่งประสิทธิภาพในการท างาน
เน้นความเป็นทางการ และความเป็นระเบียบแบบแผน
การรักษาวัฒนธรรมให้คงอยู
ผู้บริหารระดับสูง (Top Management)
การสรรหาและการคัดเลือก (Recruitment and selection)
กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม (Socialization Process)
การออกแบบโครงสร้าง
ระบบต่าง ๆ ขององค์การ
แนวทางในการจัดสรรรางวัลและสถานภาพ
การออกแบบอาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในการท างาน
ทำไมจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร
เมื่อองค์การเกิดวิกฤตการณ์หรือเจอปัญหาใหญ่
เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้นำระดับสูง
เมื่อมีการควบรวมกิจการเกิดขึ้น
ในกรณีที่องค์การมีขนาดเล็กและก่อตั้งมาไม่ยาวนาน
เมื่อองค์การมีวัฒนธรรมที่อ่อนแอ
ภาวะผู้นำกับวัฒนธรรมองค์การ
ยกตัวอย่างเช่น
ผู้นำแบบเก่า
เป็นนาย (boss) หรือผู้บัญชาการ (commander) : “ทำตามที่ข้าพเจ้าสั่ง”
เป็นผู้ควบคุม (controller) โดยกำกับดูแล อย่างเข้มงวด : “คนพวกนี้ยังต้องควบคุมถึงจะ ได้งาน
ผู้นำแบบใหม่
เป็นผู้ฝึกสอน (coach) ผู้เอื้ออำนวย (facilitator) ครู (teacher) พี่เลี้ยง (mentor)
ผู้นำร่วมกับทุกคนในการสร้างวัตถุประสงค์วิสัย ทัศน์ ค่านิยม ความเชื่อขององค์การขึ้นแล้วใช้ การยึดมั่นต่อวัตถุประสงค์และค่านิยมดังกล่าว เป็นเครื่องมือควบคุม
การรวมวัฒนธรรมองค์การ (Acculturation)
การทำให้คล้ายกัน โดยการดูดซึม (Assimilation)
การประสาน (Integration)
การแยกออกจากกัน (Separation)
การลดความส าคัญของวัฒนธรรม (Deculturation)
ผลจากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในองค์กร
ข้อขัดแย้ง
เกณฑ์ในการเปลี่ยนแปลง
กฎระเบียบข้อบังคับใหม่ ๆ
การยอมรับข้อตกลงใหม่
การคงอยู่ของข้อตกลงใหม่