Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บท.6อิทธิพลของมนุษยสัมพันธ์กับบุคลิกภาพ - Coggle Diagram
บท.6อิทธิพลของมนุษยสัมพันธ์กับบุคลิกภาพ
ความหมายและประวัติความเป็นมาของมนุษยสัมพันธ์
ประวัติ
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 มนุษย์สัมพันธ์เริ่มมีความสำคัญเด่นชัดขึ้น คือการมีเปลี่ยนแปลงแนวคิดการบริหารมาให้ความสำคัญแก่ตัวบุคคลหรือลูกจ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้นายจ้างไม่เห็นความสำคัญของลูกจ้าง นายจ้างคิดเพียงแต่ว่าลูกจ้างก็ในเพียงสินค้าสำหรับซื้อขาย ไม่ได้คำนึงถึงว่าลูกจ้าง นายจ้างคิดเพียงแต่ว่าลูกจ้างเป็นเพียงงสินค้าสำหรับซื้อขขาย ไม่ได้คำนึงถึงว่าลูกจ้างต้องการพักผ่อน ต้องการสภาพแวดล้อมที่ดีของการทำงาน ต้องการความเห็นอกเห็นใจจากนายจ้าง นอกจากนี้ได้รับค่าจ้างในอัตราต่ำไม่เป็นธรรม เเจ็บป่วยผลผลิตเสื่อมคุรภาพในที่สุดปิดกิจการ
ความหมาย
คำว่า "มนุษยสัมพันธ์ " ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Human Relations เป็นคำประสมที่เกิดจากคำ 2 คำรวมกัน คือ มนุษย์ (Human) และ สัมพันธ์ (Relations)
มนุษย์ (Human) หมายถึง ลักษณะของความเป็นมนุษย์ คือ ผู้มีจิตใจสูง
สัมพันธ์ (Relations) หมายถึง ความผูกพัน เกี่ยวข้อง การติดต่อกัน ความเกี่ยวพันกัน
การเสริมสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น
เทคนิคการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
ความกล้า : ความกล้าในที่นี้ หมายถึงความกล้าในการที่จะทำจิตใจของเราให้กล้าเข้าไปทักทายผู้อื่นก่อน
ยิ้ม ในการสร้างมิตรภาพนั้น หลักที่สำคัญก็คือ อย่าแสดงอาการ หรือ ความต้องการในการสร้างมิตรภาพออกมามากเกินไป
เป็นผู้ให้ก่อน หมายถึงว่า ไม่จำเป็นที่ต้องรอให้ใครทำอะไรให้เราก่อนที่เราจะทำอะไรให้ใคร
ความจำ เรื่องนี้เป็นความสำคัญอย่างยิ่ง คุณควรฝึกความจำให้ดีในเรื่องชื่อของคนแต่ละคน อย่าจำชื่อผิดโดยเด็ดขาด
การฟัง การฟังไม่ใช่ การพูด เพราะชอบเข้าใจผิดกันเสมอว่า คนที่เข้าสังคมเก่งคือคนที่คุยเก่ง จริงๆแล้วไม่ใช่เลย คนที่มีเสน่ห์มากที่สุด ก็คือ คนที่ฟังเก่ง มากกว่า คนพูดเก่ง
การพูด เพราะการฟังสำคัญที่จะทำให้คนอื่นชอบเรา แต่การพูดก็สำคัญไม่น้อยกว่ากัน เพราะถ้าเราไม่พูดเสียเลยก็คงไม่ได้
มั่นใจ หรือ ความมั่นใจ ก็คือ การไว้ใจตนเอง รักตนเอง แต่ไม่ได้หลงตนเอง การแสดงออกถึงความมั่นใจ เป็นการแสดงออกบนพื้นฐานของความพอดี
ชนะใจ อันนี้เป็นเคล็ดลับในการสร้างมิตรภาพในระยะยาว การชนะใจก็คือการใช้ข้อทั้งหมดร่วมกัน ซึ่งจะทำให้ผู้สนทนากับเรา รู้สึกเป็นมิตร และ อยากพูดกับเรามากขึ้น รวมถึง ความรู้สึกไว้วางใจ
ขอบคุณ เป็นคำที่เราไม่สามารถลืมได้เลย จงเรียนรู้ที่จะพูดคำว่า “ขอบคุณ” ในกรณีที่มีคนทำอะไรให้แก่คุณ แม้นว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ตาม
บุคลิกภาพที่สร้างเสริมมนุษยสัมพันธ์
จงเป็นคนที่เรียบง่าย ไม่จู้จี้จุกจิกเกินไป ไม่เรื่องมาก
ให้ความสนใจในผู้อื่นอย่างแท้จริง โดยควรให้ความสนใจในความเป็นไปของผู้ที่ท่านคบหาสมาคมด้วย
เห็นคุณค่าของผู้อื่น ให้การยอมรับแก่เขา ความต้องการของมนุษย์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การต้องการความยอมรับจากสังคม
การทำาความเข้าใจผู้อื่น เข้าใจสาเหตุแห่งพฤติกรรมของเขา โดยเข้าใจทั้งเรื่องราวและความรู้สึกของเขา จะช่วยรักษามิตรภาพไว้ได้
เต็มใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม และชักชวนให้ผู้อื่นเข้าร่วมด้วย การเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมจะทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในสังคม
เป็นมิตรในยามยาก เมื่อเพื่อนประสบความทุกข์หรืออุปสรรคในชีวิตจงแสดงความเห็นใจ
ทำให้ผู้อื่นรู้สึกว่าเขามีความหมายต่อเรา เป็นต้นว่าเพื่อนปรับทุกข์ เขาทำให้เรามีความสุข
รักษาความลับได้ เมื่อเพื่อนมาปรับทุกข์ เล่าเรื่องราวและระบายความทุกข์ของเขาให้ฟัง จงรักษาความลับของเขา
มนุษยสัมพันธ์กับการทำงานเป็นทีมและทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
การทำงานเป็นทีม หมายถึง
การทำงานเป็นทีม หมายถึง การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำ อะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน ... ทีมมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี
ความสําคัญการทํางานเป็นทีม
การทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ คือสามารถในการใช้วิชาความรู้อย่างหนึ่ง สามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองประการนี้ต้องดำเนินคู่กันไป และจำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตกาย สุจริตใจ ด้วยความคิด ความเห็นที่เป็นอิสระ ปราศจากอคติ และด้วยความถูกต้อง ตามเหตุตามผลด้วย จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายและประโยชน์ที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน"
ลักษณะของการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
มีเป้าหมายร่วมของกลุ่ม
แต่ละคนมีความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่
ต้องมีความสัมพันธ์กับงานและทีม
ต้องมีความยืดหยุ่นในการทำงาน
พฤติกรรมการทำงาน ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา
สมาชิกแต่ละคนต้องรู้จักกัน
ต้องทำความเข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน
เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม
จัดให้มีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
มีการสื่อสารและสัมพันธ์ภาพที่ดีในกลุ่ม
ควรปรับตนให้เป็นคนที่มีปฏิกิริยาตอบโต้
การขจัดข้อขัดแย้งภายในกลุ่ม
ใช้วิธีประสานประโยชน์ในเรื่องความรู้
การตัดสินใจ
ภาวะการเป็นผู้นำ
ต้องเป็นหัวหน้าทีมที่เป็นผู้ฟังที่ดี
ปรับทัศนคติต่อสมาชิกใหม่
สมาชิกมีการยอมรับนับถือกัน
หัวหน้าทีมควรเป็นแบบอย่างที่ดี
มีระบบการให้คุณและการให้โทษ
แนวคิดเกี่ยวกับการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคล
ทัศนคติ
“ทัศนคติ” และ “มุมมอง” เป็นเรื่องสำคัญที่กำหนดชีวิตของเราอยู่ไม่น้อย เพราะสองสิ่งนี้เปลี่ยนวิธีการที่เราจะมองโลกรอบข้างตลอดไปจนถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต ด้วยเหตุนี้บรรดาเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาตัวเองมักจะหยิบสองสิ่งนี้มาพูดเป็นแก่นสำคัญมากกว่าเรื่องไหนๆ
การเอาใจใส่หรือยอมรับผู้อื่น
การมีสัมพันธภาพที่ดีกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อน และบุคคลอื่นในสังคม จะทำให้เกิดมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน สร้างความอบอุ่นในครอบครัว สร้างความยอมรับ ความรักใคร่สมัครสมานสามัคคี และความร่วมมือในกลุ่มเพื่อนและบุคคลรอบข้าง ดังนั้นการสร้างเสริมสัมพันธภาพจึงเป็นสิ่งที่นักเรียนควรเรียนรู้และนำไปปฏิบัติเพื่อจะได้เกิดความสำเร็จและความสุขในการดำเนินชีวิต
หลักธรรมที่ใช้ในการส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์
สังคหวัตถุ 4
หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
1 . ทาน คือ การให้ การเสียสละ
ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ
อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
4 . สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย
อิทธิบาท 4
ธรรมแห่งความสำเร็จในการทำงาน มี 4 ประการ คือ
ฉันทะ ได้แก่ ความพึงพอใจในสิ่งที่ทำอยู่บุคคลควรรักงานรักเพื่อนร่วมงาน รักหมู่คณะ และสถาบัน
วิริยะ ได้แก่ ความเพียรพยายามการมีความขยัน
จิตตะ ได้แก่ ความตั้งใจ การฝักใฝ่อย่างจริงจัง
วิมังสา ได้แก่ ความสุขุม รอบคอบพินิจพิจารณาสิ่งที่ทำด้วยปัญญา
พรหมวิหาร 4
เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ
4.สมานัตตา ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอ วางตนเหมาะสม ไม่ถือตัว ไม่ดูหมิ่นดูแคลนกัน
3.อัตถจริยา คือการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
1.ทาน การให้ปันสิ่งของของตนแก่คนอื่น
ปิยวาจา การเจรจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน
ฆราวาสธรรม 4
คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ
สัจจะ หมายถึง ความซื่อตรงจริงใจ พูดจริงทำจริง
ทมะ หมายถึง การฝึกฝนตนเอง ควบคุมจิตใจด้วยการใช้ปัญญา จะทำให้ชีวิตก้าวหน้าประสบความสำเร็จ
ขันติ หมายถึง ความอดทนอดกลั้น
4.จาคะ หมายถึง ความเสียสละ ความแบ่งปัน การมีน้ำใจ
ความสำคัญ หลักปรัชญาพื้นฐาน และประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์
ความสำคัญ
นับตั้งแต่เกิดมาเราต้องอยู่ร่วมและติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นในสังคมและชุมชน เนื่องจากมนุษย์เป็น สัตว์สังคม ซึ่งหมายถึงเราไม่สามารถอยู่ได้โดยลำพังตนเอง แต่จำเป็นต้องติดต่อ พึ่งพาอาศัยบุคคลที่อยู่รอบข้างเพื่อความอยู่รอดของชีวิตหรือเพื่อความสุขใจของเราเอง
หลักปรัชญาพื้นฐาน
มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี ในการติดต่อสัมพันธ์กับมนุษย์นั้นต้องยอมรับว่า มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าของความเป็นคนเท่ากัน มนุษย์มีความสามารถเฉพาะตัวทุกคนอยากจะได้รับการยอมรับนับถือ การยกย่องสรรเสริญ แต่ไม่ปรารถนาจะได้รับการดูถูกเหยียดหยามไม่ว่าเขาจะเป็นใคร
มนุษย์ต้องการการจูงใจ โดยเฉพาะการปฏิบัติงานของมนุษย์ย่อมเกิดจากแรงจูงใจภายใน อันได้แก่ ความต้องการพื้นฐานซึ่งมาสโลว์ กล่าวไว้ในแนวคิดข้อหนึ่งว่า “มนุษย์ทุกคนมีความต้องการและความต้องการเกิดขึ้นตลอดเวลาไม่มีที่สิ้น