Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 ภาษาต่างประเทศกับการพัฒนาวิชาชีพครู, นางสาวขวัญพร วุ่นซิ้ว…
บทที่ 6
ภาษาต่างประเทศกับการพัฒนาวิชาชีพครู
ความสำคัญของภาษาต่างประเทศกับการพัฒนาวิชาชีพครู
ทักษะภาษาอังกฤษ : ความจำเป็นพื้นฐานในวิชาชีพครู
หมั่นเข้าหาแหล่งข้อมูลทางวิชาการที่เป็นภาษาอังกฤษ
สอดแทรกสอนภาษาอังกฤษในวิชาที่รับผิดชอบ
ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างความมั่นใจ ความกล้าและความคุ้นเคยในการใช้
จัดตารางและมีวินัยฝึกฝนต่อเนื่อง การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษต้องอาศัยเวลาและการฝึกฝนต่อเนื่อง
สร้างแรงจูงใจพัฒนาภาษาอังกฤษให้ตนเอง
รวมตัวพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
การพัฒนาวิชาชีพครูสู่สมรรถนะมาตรฐานสากล
กรอบสมรรถนะวิชาชีพครูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การเตรียมแผนการสอนที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียน
การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
การพัฒนาและการใช้ทรัพยากรสำหรับการเรียนการสอน
การพัฒนาทักษะการจัดลำดับความคิดในระดับสูง
การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
การส่งเสริมค่านิยมด้านศีลธรรมและจริยธรรม
ส่งเสริมการพัฒนาชีวิต และทักษะวิชาชีพแก่ผู้เรียน
การวัดและประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน
การพัฒนาด้านวิชาชีพ
การสร้างเครือข่ายกับผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้ปกครองนักเรียน
การจัดสวัสดิการและภารกิจแก่นักเรียน
สมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
สมรรถนะหลัก (Core Competency)
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน
การบริการที่ดี
การพัฒนาตนเอง
การทำงานเป็นทีม
จริยธรรมและจรรยาบรรณครู
สมรรถนะตามสายปฏิบัติงาน (Functional Competency)
การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
การพัฒนาผู้เรียน
การบริหารจัดการชั้นเรียน
การวิเคราะห์ สังเคราะห์และวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
ภาวะผู้นำ
การสร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชน
ทักษะ C-Teacher
Content : ผู้สอนต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี
Computer (ICT) Integration : ผู้สอนต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน
Constructionist : ผู้สอนต้องเข้าใจแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นได้เองจากการเชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีอยู่เข้ากับความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ได้รับ และได้จากการลงมือปฏิบัติในกิจกรรม
Connectivity : ผู้สอนต้องสามารถจัดกิจกรรมให้เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้สอนในสถานศึกษาเดียวกันหรือต่างสถานศึกษา รวมถึงความเชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษาและสถานศึกษากับชุมชน
Collaboration : ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสารสนเทศระหว่างกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะอาชีพและทักษะชีวิต
Communication : ผู้สอนมีทักษะการสื่อสาร ทั้งการบรรยาย การยกตัวอย่าง การเลือกใช้สื่อ การนำเสนอสื่อ
Creativity : ผู้สอนในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องสร้างสรรค์กิจกรรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย
Caring : ผู้สอนต้องมีมุทิตาจิตต่อผู้เรียน ต้องแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใยอย่างจริงใจต่อผู้เรียน
การจัดโรงเรียนมาตรฐานสากล แนวทางการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล (World- Class Standard School) และการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World – Class Standard)
1) โรงเรียนต้องเป็นหน่วยบริการทางการศึกษาในมิติที่กว้างขึ้น
2) หลักสูตรการเรียนการสอนต้องมีความเป็นสากลมากขึ้น
3) ต้องมีการพัฒนาทักษะการคิดมากขึ้น
4) ต้องมีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมมากขึ้น
5) การสอนภาษาต่างประเทศต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แนวทางการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen)
ส่งเสริมให้เด็กสามารถพูดภาษาที่ 3 ได้ โดยสอนภาษาจีนให้นักเรียนเน้นการสื่อสาร (ฟังพูด) มากกว่าหลักไวยากรณ์ ซึ่งทำให้เด็กกล้าพูดภาษาต่างประเทศมากขึ้น
มีศูนย์การเรียนรู้อาเซียน ที่นำจอสัมผัสมาใช้ เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์เรียนรู้สู่อาเซียนนำร่อง 1 ใน 11 แห่งทั่วประเทศ เป็นสถานศึกษาให้ความรู้ด้านภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่นและตากาล็อก
จัดทำแบบเรียนวิชาอาเซียนศึกษาขึ้นมา มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศสมาชิก เริ่มต้นจากความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียนก่อนจะเพิ่มระดับความเข้มข้นขึ้นไป เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
นางสาวขวัญพร วุ่นซิ้ว รหัสนิสิต 60205665 วิทยาลัยการศึกษาชีววิทยา เซค 7