Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การปรับตัวที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพ - Coggle Diagram
บทที่ 5 การปรับตัวที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพ
ความหมายและความสำคัญของการปรับตัว
การปรับตัว หมายถึง วิธีการที่คนเราปรับตัวให้เป็นไปตามความต้องการของตัวเอง ในสภาพแวดล้อม ซึ่งบางครั้งส่งเสริม บางครั้งขัดขวาง และบางครั้งสร้างความทุกข์ทรมานแก่เรา
1.ลดความอึดอัดใจในตัวเอง 2.ใช้ชีวิตง่ายขึ้น 3.อยู่ร่วมกับคนอื่นได้ 4.คิดมากน้อยลง 5.อาจได้พบกับสิ่งใหม่ๆ 6.เพื่อความอยู่รอด 7.สร้างความ “ อยู่เป็น ”
สภาวะที่ทำให้ต้องเกิดการปรับตัว
ความคับข้องใจ หมายถึง สภาพทางจิตใจ หรือความรู้สึกที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากความปรารถนาที่เรามุ่งหวัง หรือสิ่งที่เราปรารถนานั้นถูกขัดขวาง ทำให้เราไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย ทุกๆ ชีวิตไม่สามารถตอบสนองความปรารถนา หรือความต้องการของตนเองได้ทุกประการ ทั้งนี้เพราะว่าชีวิตแต่ละชีวิตจะต้องเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ นานับประการ อุปสรรคต่าง ๆ นี้ บางสิ่งบางอย่างอาจจะเกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นโดยตรง แต่บางสิ่งบางอย่างอาจจะเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น สิ่งแวดล้อม ระเบียบ ประเพณี หรือแม้กระทั่งศาสนา ฯ ล ฯ และในบางโอกาส อุปสรรคบางอย่างนั้น เราสามารถผ่านพ้น หรือเอาชนะได้ง่าย ๆ แต่อุปสรรค์บางอย่างกลับมีอิทธิพล และขัดขวางความต้องการ หรือความพยายามของเรา ผลสืบเนื่องที่เราจะได้รับคือ ความหงุดหงิด กระวนกระวายใจ กลุ้มใจ ฯ ล ฯ สภาวะต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เรียกว่า ความคับข้องใจ
ความขัดแย้ง หมายถึง สภาวะการณ์ที่ทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกมีความขัดแย้งในตนเอง เมื่อต้องเผชิญต่อสภาวะการณ์นั้น ๆ โดยบุคคลนั้น จะเกิดความลำบากใจ หนักใจ หรืออึดอัดใจในการตัดสินใจ ตกลงใจที่จะเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากสภาวการณ์ทีเขาเผชิญอยู่นั้น โดยสิ่งต่าง ๆ ในสภาวการณ์นั้น ๆ เขาอาจจะชอบมากเท่า ๆ กัน หรือชอบน้อยมากทั้งหมด หรือไม่ชอบทั้งหมด
ความกดดัน หมายถึง สภาพการณ์บางประการที่ผลักดัน หรือเรียกร้อง หรือบังคับให้บุคคลจำต้องกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความกดดันมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม และการปรับตัวของแต่ละบุคคล ตัวอย่าง หากเราทราบว่า บิดามารดาของเราต้องอุทิศแรงกายแรงใจหาทุนทรัพย์มาส่งเสียให้เราเล่าเรียน และบิดามารดาก็คาดหวังว่า เราจะตั้งใจเรียนให้ดีที่สุด ความรู้สึกนี้ อาจจะทำให้เราตั้งใจ เล่าเรียน ไม่ทำสิ่งใดให้บิดามารดาเสียใจ แม้แต่อยากจะเกเร หรือหนีเรียนก็ไม่พยายามกระทำ เพราะยังนึกถึงพระคุณของบิดามารดา ความกดดันในลักษณะดังกล่าวนี้จะทำให้เราเพิ่มความมานะพยายาม และสนใจการเรียนมากขึ้น แต่ในบางครั้งก็อาจจะก่อให้เกิดความอึดอัดใจ ไม่สบายใจแก่เราได้ หรือเราอาจจะรู้สึกว่า ตนเองตกอยู่ภายใตความกดดัน หรือถูกบีบบังคับ
ความหมายและประเภทของกลวิธานในการป้องกันตนเองของบุคคล
กลวิธานป้องกันตัวเป็นกระบวนการทางจิตที่มีขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลให้พ้นจากความวิตกกังวล ด้วยการบิดเบือนความจริงให้อยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง และกระบวนการของการเกิดขึ้นเป็นไปอย่างไม่รู้ตัว เป็นแนวคิดที่ Sigmund Freud ได้มาจากการเฝ้าสังเกตวิธีปฏิบัติตนของมนุษย์ซ้ำ ๆ และรวบรวมกระบวนการทางจิตวิทยาต่าง ๆ แล้วตั้งขึ้นเป็นข้อสมมติ (hypothetical constructs) เพื่อให้สามารถอธิบายพฤติกรรมบางอย่างได้
การเก็บกด (Repression)
หมายถึง การเก็บกดความรู้สึกไม่สบายใจ หรือความรู้สึกผิดหวัง ความคับข้องใจไว้ในจิตใต้สำนึก จนกระทั่งลืม กลไกป้องกันตัวประเภทนี้มีอันตราย เพราะถ้าเก็บกดความรู้สึกไว้มากจะมีความวิตกกังวลใจมากและอาจทำให้เป็นโรคประสาทได้
การป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น (Projection)
หมายถึง การลดความวิตกกังวล โดยการป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น ตัวอย่าง ถ้าตนเองรู้สึกเกลียดหรือไม่ชอบใครที่ตนควรจะชอบก็อาจจะบอกว่าคนนั้นไม่ชอบตน เด็กบางคนที่โกงในเวลาสอบก็อาจจะป้ายความผิดหรือใส่โทษว่าเพื่อนโกง
การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization)
การปรับตัวโดยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง โดยให้คำอธิบายที่เป็นที่ยอมรับสำหรับคนอื่น ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ที่ตีลูกมักจะบอกว่า การตีทำเพื่อเด็ก เพราะเด็กต้องการการทำโทษเป็นบางครั้งจะได้เป็นคนดี พ่อแม่จะไม่ยอมรับว่าตีเพราะโกรธลูก นักเรียนที่สอบตกก็อาจจะอ้างว่าไม่สบาย แทนที่จะบอกว่าไม่ได้ดูหนังสือ บางครั้งจะใช้เหตุผลแบบ “องุ่นเปรี้ยว” เช่นนักเรียนอยากเรียนแพทย์ศาสตร์ แต่สอบเข้าไม่ได้ ได้วิศวกรรมศาสตร์ อาจจะบอกว่าเข้าแพทย์ไม่ได้ก็ดีแล้ว เพราะอาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่เหน็ดเหนื่อย ไม่มีเวลาของตนเอง เป็นวิศวกรดีกว่า เพราะเป็นอาชีพอิสระ “การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง” แตกต่างกับการโกหกเพราะผู้แสดงพฤติกรรมไม่รู้สึกว่าตนเองทำผิด
การถดถอย (Regression)
หมายถึงการหนีกลับไปอยู่ในสภาพอดีตที่เคยทำให้ตนมีความสุข ตัวอย่างเช่น เด็ก 2-3 ขวบ ที่ช่วยตนเองได้ มีน้อยใหม่ เห็นแม่ให้ความเอาใจใส่กับน้อง ความรู้สึกว่าแม่ไม่รักและไม่สนใจตนเท่าที่เคยได้รับ จะมีพฤติกรรมถดถอยไปอยู่ในวัยทารกที่ช่วยตนเองไม่ได้ ต้องให้แม่ทำให้ทุกอย่าง
การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation)
หมายถึงกลไกป้องกันตน โดยการทุ่มเทในการแสดงพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกของตนเอง ที่ตนเองคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคมอาจจะไม่ยอมรับ
การสร้างวิมานในอากาศ หรือการฝันกลางวัน (Fantasy หรือ Day dreaming)
กลไกป้องกันตัวประเภทนี้เป็นการสร้างจิตนาการ หรือมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ตนมีความต้องการ แต่เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นจึงคิดฝัน หรือสร้างวิมานในอากาศขึ้นเพื่อสนองความต้องการชั่วขณะหนึ่ง เป็นต้นว่านักเรียนที่เรียนไม่ดีอาจจะฝันว่าตนเรียนเก่ง มีมโนภาพว่าตนได้รับรางวัล มีคนปรบมือให้เกียรติ เป็นต้น
การแยกตัว (Isolation)
หมายถึงการแยกตนให้พ้นจากสถานการณ์ที่นำความคับข้องใจมาให้ โดยการแยกตนออกไปอยู่ตามลำพัง ตัวอย่างเช่น เด็กที่คิดว่าพ่อแม่ไม่รักอาจจะแยกตนปิดประตูอยู่คนเดียว
การหาสิ่งมาแทนที่ (Displacement)
เป็นการระบายอารมณ์โกรธ หรือคับข้องใจ ต่อคนหรือสิ่งของที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความคับข้องใจ เป็นต้นว่า บุคคลที่ถูกนายข่มขู่หรือทำให้คับข้องใจ เมื่อกลับมาบ้านอาจจะใช้ภริยา หรือลูกๆ เป็นแพะรับบาป เช่น อาจจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อภริยาและลูกๆ นักเรียนที่โกรธครู แต่ทำอะไรครูไม่ได้ ก็อาจจะเลือกสิ่งของเช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นสิ่งแทนที่ เช่น เตะโต๊ะเก้าอี้
การเลียนแบบ (Identification)
หมายถึง การปรับตัว โดยการเลียนแบบบุคคลที่ตนนิยมยกย่อง ตัวอย่างเช่น เด็กชายจะพยายามทำตัวให้เหมือนพ่อ เด็กหญิงจะทำตัวให้เหมือนแม่ในการพัฒนาการขั้นฟอลลิคของฟรอยด์ การเลียนแบบนอกจากจะเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมือนบุคคลที่ตนเลียนแบบ แม้ยังจะยึดถือค่านิยมและมีความรู้สึกร่วมกับผู้ที่เราเลียนแบบในความสำเร็จ หรือล้มเหลวของบุคคลนั้น การเลียนแบบไม่จำเป็นจะต้องเลียนแบบจากบุคคลจริงๆ แต่อาจจะเลียนแบบจากตัวเอกในละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์โดยมีความรู้สึกร่วมกับผู้แสดง เมื่อประสบความทุกข์ ความเศร้าโศกเสียใจ หรือเมื่อมีความสุขก็จะพลอยเป็นสุขไปด้วย
ข้อดีและข้อเสียของการใช้กลวิธานในการป้องกันตนเอง
ข้อดี
ช่วยผ่อนคลายสภาวะความทุกข์ทางใจอันเกิดจากความขัดแย้ง
อ้างเหตุผลที่คิดว่าคนอื่นย่อมรับ เพื่อรักษาศักดิ์ศรีของตนเอง หรือเพื่อให้ตัวเขาสบายใจขึ้น อาจแสดงออกในรูปขององุ่นเปรี้ยวหรือมะนาวหวาน
ข้อเสีย
ชอบความรุนแรง
อ่อนแอ ท้อถอย
ต่อต้าน คัดค้าน