Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ศัพท์สังคีตดนตรีไทย - Coggle Diagram
ศัพท์สังคีตดนตรีไทย
กรอ คือวิธีการบรรเลงของเครื่องที่บรรเลงทำนอง เป็นการทำให้เกิดเสียงที่ยาวต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยใช้2มือตีสลับกันไปมาถี่ๆ มักตีเป็นคู่ เช่น คู่2 คู่3 คู่4 คู่5 และคู่8 เป็นต้น
กรอด คือ วิธีการของเครื่องดนตรี ที่จะต้องทำให้เสียงขาดจากกัน ด้วยการกดไว้ มักใช้กับฆ้องวงใหญ่ และ ฆ้องวงเล็ก เครื่องอื่นๆก็มีใช้บ้าง แต่ใช้กันน้อยมาก
กวาด คือ วิธีของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี เช่น ระนาด ฆ้องวง โดยการลากกวาดจากเสียงต่ำไปเสียงสูง หรือลากกวาดจากสูงลงมาต่ำก็ได้
-
ขยี้ คือ วิธีการบรรเลงโดยการเพิ่มพยางค์มากขึ้นและละเอียดกว่าการบรรเลงปกติ เป็นการบรรเลงที่รวดเร็วจนกว่าจะถึงลูกตกท้ายประโยค
ขับ คือทำนองที่มีความยาวไม่แน่นอน การขับ จะยึดถ้อยคำเป็นส่วนสำคัญ ส่วน ทำนอง ต้องน้อมเข้าหาถ้อยคำ เช่น "ขับเสภา"
ไขว้ คือ วิธีการเลงของประภทเครื่องตี ส่วนมากใช้กับฆ้องวงใหญ่และวงเล็ก เพื่อเป็นการแสดงฝีมือ มักใช้ในเพลงเดี่ยว
-
-
ครึ่งชั้น เป็นคำศัพท์ที่บัญญัติขึ้นมาใหม่ สำหรับกำหนดอัตรา หน้าทับและเพลง เป็นการตัดจากอัตราชั้นเดียวครึ่งหนึ่ง
-
ควง คือ วิธีการปฏิบัติของเครื่องดนตรีที่ใช้นิ้ว เช่น ปี่ ขลุ่ย ซอ ใช้ในการปฎิบัติเสียงเดียวกันแต่ใช้นิ้วไม่เหมือนกัน และต้องบรรเลงติดต่อกัน ตั้งแต่2พยางค์ขึ้นไป
-
-
สวม คือการบรรเลงที่เหลื่อมเข้าไปในตอนท้ายก่อนจะจบของผู้อื่น สวมทั้งวงหรือสวมชิ้นเดียวก็ได้ สวมระหว่างเครื่องดนตรีด้วยกันหรือเครื่องดนตรีกับคนร้องก็ได้
โอด มี3ความหมาย ความหมายที่1 คือชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่ประกอบกิริยาอาการร้องไห้ สลบ หรือตาย ความหมายที่2 คือชื่อของเสียงที่ใช้ในวงปี่พาทย์ตรงกับฆ้องวงใหญ่ลูกที่12 นับจากลูกทวน
ความหมายที่3 คือทางที่ดำเนินด้วยความโหยหวน อ่อนหวานเป็นต้น
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-