Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการเรียนรู้ 4 กลุ่ม - Coggle Diagram
ทฤษฎีการเรียนรู้ 4 กลุ่ม
1.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
1.1 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget)
สรุปสาระสำคัญ
พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับของระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาการทางสติปัญญาแบ่งออกเป็น 4 ระยะ
2.ขั้นก่อนการใช้ความคิด (The Preoperational Period)
3.ขั้นการใช้ความคิดทางรูปธรรม (The Concrete Operation Period)
1.ขั้นการรับรู้ทางประสาทและการเคลื่อนไหว (The Sensorimotor Period)
4.ขั้นการใช้ความคิดทางนามธรรม (The Formal Operation Period)
ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ใช้ในการประเมินศักยภาพทางสติปัญญาเพื่อจัดหลักสูตรการเรียนรู้ตามระดับสติปัญญาของแต่ละคน เน้นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเองมากที่สุด ครูเป็นเพียงผู้ร่วมมือในกระบวนการเรียนรู้ และเป็นผู้เตรียมเนื้อหาและประสบการณ์ที่จะให้เด็กได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเองเท่านั้น
พัฒนาการทางสติปัญญามีความสำคัญในเรื่องการวัดผล
1.2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ (Bruner)
สรุปสาระสำคัญ
จัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญา
การจัดหลักสูตร กิจกรรม ให้เหมาะสมกับความพร้อม พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
การคิดแบบหยั่งรู้ คิดหาเหตุผลด้วยตนเองอย่างอิสระ นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์
แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญ
ขั้นการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ ได้แก่ การใช้ประสาทสัมผัส
ขั้นการเรียนรู้จากมโนภาพ ได้แก่ การสร้างภาพในใจ แผนภาพ แผนภูมิ สื่อต่าง
ขั้นการเรียนรู้จากสัญลักษณ์ ได้แก่ การใช้ภาษาพูดถ่ายทอด ใช้สัญลักษณ์ ตัวเลข
ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ครูจัดเนื้อหา วิธีสอน กระบวนการเรียนรู้ ให้เหมาะกับพัฒนาการทางสติปัญญา
ครูให้นักเรียนคิดอย่างอิสระ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ก่อนสอน ครูวิเคราะห์เนื้อหาให้เหมาะสมกับการเรียนรู้
ครูสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนหาความรู้ด้วยตนเอง
ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ครูฝึกให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด น าไปสู่ทักษะการค้บพบความรู้ด้วยตนเอง
2.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม
2.1 ทฤษฎีความต้องของมนุษย์ของมาสโลว์ (Abraham Maslow)
สรุปสาระสำคัญ
มนุษย์แต่ละคนมีศักยภาพที่จะชี้นำตัวเอง เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่แวดล้อมและแสวงหาความต้องการที่จะเข้าใจตนเอง ยอมรับตนเองทั้งในส่วนดีส่วนบกพร่อง รู้จักจุดอ่อนและความสามารถของตนเอง มนุษย์ทุกคนมีความต้องการที่จะสนองความต้องการให้กับตนเองทั้งสิ้น และความต้องการของมนุษย์มีมากมาย ซึ่งต้องได้รับความพึงพอใจจากความต้องการพื้นฐานเสียก่อนจึงจะผ่านขึ้นไปยังความต้องการขั้นสูงตามลำดับ ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow) ระบุว่าบุคคลมีความต้องการเรียงลำดับจากพื้นฐานไปยังระดับสูงสุด
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความต้องการอยู่เสมอและไม่มีวันสิ้นสุด
ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจพฤติกรรมของมนุษย์อีก แต่ความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจะเป็นสิ่งจูงใจต่อไป
ความต้องการของมนุษย์มีลำดับของความสำคัญแตกต่างกัน ความต้องการมีหลายด้าน บุคคลมีการแบ่งระดับความสำคัญ ความเร่งด่วนต่อชีวิตแตกต่างกัน และจะแสดงพฤติกรรมที่นำไปสู่ความต้องการที่มีความสำคัญมากกว่าก่อนเสมอ
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ 5 ขั้น
2) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (safety needs)
3) ความต้องการความรักและเป็นเจ้าของ (love and belonging needs)
1) ความต้องการทางด้านร่างกาย (physiological needs)
4) ความต้องการได้รับการเคารพนับถือ (esteem needs)
5) ความต้องการที่จะรู้ถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง (self-actualization needs)
ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ครูส่งเสริมให้นักเรียนภาคภูมิใจในตนเอง
ให้นักเรียนตั้งเป้าหมายในการเรียน
2.2 ทฤษฎีของโรเจอร์ (Rogers)
สรุปสาระสำคัญ
ธรรมชาติของมนุษย์จะพัฒนาร่างกายให้มีความเจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพ ทฤษฏีของโรเจอร์ เน้นถึงเกียรติของบุคคล บุคคลสามารถที่จะปรับปรุงชีวิตของตนเองเมื่อมีโอกาส ในสมัยที่เป็นเด็กหรือจากจิตใต้สานึก แต่ละบุคคลจะรู้จักการสังเกตสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา มีแนวทางเฉพาะของบุคคล การรับรู้สภาพสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมาก
มนุษย์ทุกคนมีตัวตน 3 แบบ
ตนตามที่เป็นจริง (Real Self) ตัวตนตามข้อเท็จจริง แต่บ่อยครั้งที่ตนมอง ไม่เห็นข้อเท็จจริง เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกเสียใจ ไม่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น เป็นต้น
ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) ตัวตนที่อยากมีอยากเป็น แต่ยังไม่มีไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน เช่น ชอบเก็บตัว แต่อยากเก่งเข้าสังคม เป็นต้น
ตนที่ตนมองเห็น (Self Concept) ภาพที่ตนเห็นเองว่าตนเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถลักษณะเฉพาะตนอย่างไร เช่น สวย รวย เก่ง ต่ำต้อย ขี้อายฯลฯ การมองเห็นอาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือภาพที่คนอื่นเห็น
ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
การจัดหลักสูตรตามแนวความคิดของจิตวิทยากลุ่มแรงจูงใจ มีหลักการและวิธีการเช่นเดียวกับแนวความคิดของนักปรัชญา หรือการศึกษากลุ่มอัตถิภาวนิยม (Existentialism)
3.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
3.1 ทฤษฎีของของธอร์นไดค์ (Edward L. Thorndike)
สรุปสาระสำคัญ
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ หรือทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike ‘s Connected Theory)
ทฤษฎีของธอร์นไดค์ คือ “การลองผิดลองถูก” (Trial and Error)
ธอร์นไดค์ได้สรุปกฎเกี่ยวกับการเรียนรู้ 3 ข้อ
กฎแห่งผล (Law of Effect) กฎแห่งความพึงพอใจ ได้แก่ คำชม รางวัล
กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
กฎแห่งการใช้ ใช้บ่อยเกิดทักษะ
กฎแห่งการไม่ใช้ ไม่ค่อยได้ใช้เกิดการลืม
กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เมื่ออยู่ในสภาพที่พร้อม
กฎย่อย 5 ข้อ ของธอร์นไดค์
กฎการเลือกตอบสนอง เกิดจากการลองผิดลองถูก วิธีใดได้ผลจะใช้วิธีนั้น
กฎแห่งความคล้ายคลึงและเปรียบเทียบ สถานการณ์คล้ายคลึงกันเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น
กฎแห่งทัศนคติและความเชื่อ ให้กำหนดจุดมุ่งหมาย ซึ่งเป็นตัวกำหนดแนวทางการเรียนรู้
กฎแห่งการถ่ายโยงความรู้เดิมสัมพันธ์กับความรู้ใหม่ จะเรียนรู้ได้เร็ว
กฎแห่งการตอบสนองหลายแบบ การแก้ปัญหามีหลายแบบ สุดท้ายเลือกแบบเดียวที่แก้ปัญหาได้
ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
การเสริมแรงทางบวก ใช้การเสริมแรงที่หลากหลาย เช่น คะแนน คำชม รางวัล
ครูไม่ควรใช้การลงโทษที่รุนแรงเกินไป เพราะไม่เกิดการเรียนรู้ แต่สร้างอคติ
ครูควรวางเงื่อนไขในการเรียน ใช้เงื่อนไขที่แตกต่างกัน เช่น ทำงานเสร็จเร็วให้นักเรียนพัก
ก่อนสอนครูต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้เรียน
ครูต้องเข้าใจความแตกต่างของผู้เรียน ว่าการตอบสนองของคนเราไม่เท่ากัน
ครูกระตุ้นนักเรียนให้เกิดการฝึกหัด เช่น ให้การบ้าน การทำแบบฝึกหัดบ่อย
3.2 ทฤษฎีของสกินเนอร์ (B. F. Skinner)
สรุปสาระสำคัญ
กฎการเสริมแรง 2 วิธี
การเสริมแรงทันที หรือการเสริมแรงแบบต่อเนื่อง (Immediately or Continuous Reinforcement)
การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Partially Reinforcement)
การเสริมแรงทางบวก ให้ในสิ่งที่พึงพอใจ เช่น ขนม เงิน คำชม ยิ้ม
การเสริมแรงทางลบ เอาสิ่งที่ไม่พึงพอใจออกไป เช่น เอาคำดุด่าออกไป
การลงโทษแบบให้สิ่งที่เป็นลบ เช่น การดุด่า การตี
การลงโทษแบบถอนสิ่งที่เป็นบวก เช่น การตัดคะแนน การตัดเงินเดือน การงดดูทีวี การงดเล่นโทรศัพท์
การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน เช่น การสอบเก็บคะแนนไม่บอกล่วงหน้า
การเสริมแรงจามจำนวนครั้งที่แน่นอน เช่น การตอบคำถาม 5 ครั้ง ได้ 1 คะแนน
การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น การสอบย่อยทุกวันศุกร์
การเสริมแรงตามจำนวนครั้งที่ไม่แน่นอน เช่น การตอบคำถามแต่ละครั้งไม่เท่ากันก็ให้รางวัล
ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นความต้องการทางด้านร่างกาย เช่น อาหาร ขนม
ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ เกิดจากการวางเงื่อนไข เช่น เงิน การให้ดาวคะแนน
ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ถ้าจะให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีประสิทธิภาพนักเรียนควรจะได้รับการสอนและดูแลให้ผ่านหลักสูตรเป็นรายบุคคล
การตั้งจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม ถ้าครูไม่สามารถตั้งจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมได้ ครูก็ไม่อาจบอกได้ว่าผู้เรียนประสบผลสำเร็จในสิ่งที่มุ่งหมายหรือไม่ และครูไม่อาจเสริมแรงได้อย่างเหมาะสม
การนำทฤษฎีของสกินเนอร์ไปใช้ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม เครื่องช่วยสอน
3.3 ทฤษฎีของพาฟลอฟ (Ivan Pavlov)
สรุปสาระสำคัญ
เป็นทฤษฎีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่ต้องวางเงื่อนไข พาฟลอฟ เรียกว่า ทฤษฎีเงื่อนไขแบบคลาสสิก
การตอบสนอง
กำหนดเงื่อนไข
สิ่งเร้า
ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
การนำเรื่องที่เคยสอนแล้วมาสอนใหม่
การจัดกิจกรรมการเรียนให้ต่อเนื่องและมีลักษณะคล้ายคลึงกัน
ครูใช้วิธีเสนอสิ่งที่จะสอนไปพร้อมกับสิ่งเร้าที่ผู้เรียนชอบตามธรรมชาติ
การเสนอสิ่งเร้าให้ชัดเจนในการสอน
การนำธรรมชาติของผู้เรียนมาเป็นสิ่งเร้า ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมใด ควรมีการใช้สิ่งเร้าหลายแบบ
4.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน
4.1 ทฤษฎีของโรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagne)
สรุปสาระสำคัญ
การถ่ายทอดในแนวตั้งและแนวนอน
การจัดลำดับการเรียนรู้ทางการศึกษา
กาเย่ เชื่อว่าความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์มี 5 ด้าน
กลยุทธ์ทางความคิด (Cognitive Strategies)
ข่าวสารจากคำพูด (Verbal Information)
ลักษณะทางด้านสติปัญญา (Intellectual Skills)
ทักษะทางกลไก (Motor Skills)
เจตคติ (Attitudes)
ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
กาเย่ใช้หลักการเรียนรู้สะสมเป็นตัวอธิบาย เด็กพัฒนาด้านสติปัญญาเนื่องจากการเรียนรู้กฎเกณฑ์ที่ซับซ้อน กฎเกณฑ์ง่ายๆ ที่เรียนรู้มาก่อนจะเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้สิ่งที่ยากขึ้น
แนวความคิดของกาเย่ผู้พัฒนาหลักสูตรจะวางแผนอย่างดีในการกำหนดลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมไว้ในหลักสูตร มีการพิจารณาอย่างรอบคอบว่าควรจัดเนื้อหาใดก่อนหลัง
กาเย่ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรมากเช่นเดียวกัน