Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 65 ปี Dx. Gangrene at Rt. foot แผลเนื้อตายที่เท้าด้าน…
ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 65 ปี
Dx. Gangrene at Rt. foot
แผลเนื้อตายที่เท้าด้านขวา
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
1 สัปดาห์ ก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีแผลที่นิ้วเท้า ไม่ได้มาหาหมอ แผลไม่ดีขึ้นจึงมาโรงพยาบาล
ยาที่ใช้ในการรักษา/ผลข้างเคียง
Plasil 10 mg pm q 5 hr.
กลุ่มยา
: แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน
ผลข้างเคียง
อาจก่อให้เกิดอาการง่วงซึม มึนงง อ่อนเพลีย หลังจากรับประทานยานี้หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
Ciprofloxacin 200 mg/100 ml.
กลุ่มยา
: Quinolones
ผลข้างเคียง
: พบน้อยที่อาจพบได้บ้าง ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย อาการแพ้ยาทางผิวหนัง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง มีแก๊สในช่องท้อง เจ็บหน้าอก อาจรบกวนการทำงานของสายตา ผื่นคันทางผิวหนังหรือระคายเคืองบริเวณที่ฉีด
Clindamycin iny 600mg/ 4 ml.
(IV 600 mg q 8 hr.)
กลุ่มยา
: ยาปฏิชีวนะ
ผลข้างเคียง
: ผื่นคัน มีการผิดปกติของเม็ดเลือด ท้องเดินอาเจียนและอุจจาระเป็นมูก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
NDx.1 ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากผ่าตัดบริเวณที่ขา
ข้อมูลสนับสนุน
SD: ผู้ป่วยบอกว่าปวดแผลบริเวณที่ผ่าตัด
Pain score = 6 คะแนน
OD: ผู้ป่วยแสดงสีหน้าคิ้วขมวด
การพยาบาล
-ประเมินสัญญาณชีพเพราะจะได้ทราบการเปลี่ยนแปลงและตรวจสาเหตุของอาการ
-ดูแลผู้ป่วยตามแผนการรักษา
-ประเมินลักษณะของแผลและสารคัดหลั่งเพื่อประเมินดูสภาพของบาดแผลมีการเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่
NDx2.มีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมเนื่องจากมีการรับรู้เกี่ยวกับสาเหตุโรคและการรักษาไม่ถูกต้อง
ข้อมูลสนับสนุน
SD : ผู้ป่วยเป็นเบาหวานมีแผลอักเสบติดเชื้อที่เท้า
OD : blood sugar 202 mg%
การพยาบาล
ประเมินระดับความรู้และความเข้าใจของผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคและการรักษาโรคว่ามีมากน้อยเพียงใด
ให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดแผลอักเสบติดเชื้อที่เท้าว่าเกิดจากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
NDx3. มีการดูแลสุขภาพตนเองไม่ดี เนื่องจากไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
ข้อมูลสนับสนุน
SD : ชอบกินอาหารหวานๆมันๆ
OD : blood sugar 202 mg%
การพยาบาล
ประเมินความรู้และความสนใจของผู้ป่วยต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง
สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องโดยบอกถึงประโยชน์ของการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการประโยชน์ของการหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นโทษต่อสุขภาพประโยชน์ของการออกกำลังกายสม่ำเสมอและการไปตรวจร่างกายประจำปีว่าสามารถป้องกันหรือรักษาโรคได้ แต่เริ่มต้น
NDx4. ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัดบริเวณที่ขา
ข้อมูลสนับสนุน
SD : ผู้ป่วยรู้สึกปวดแผลผ่าตัด
Pain score = 6 คะแนน
OD : ผู้ป่วยแสดงสีหน้า หน้านิ่วคิ้วขมวด
การพยาบาล
1.ประเมินอาการปวด โดยสังเกตสีหน้าท่าทางที่แสดงอาการปวดให้การดูแลและพูดคุยด้วยที่ท่าเอาใจใส่พร้อมอธิบายให้ทราบสาเหตุการปวด และปลอบใจว่าอาการปวดจะทุเลาลงเรื่อยๆ
2.จัดท่านอนให้ผู้ป่วยได้นอนพักผ่อนอย่างสบาย
พยาธิสภาพ
แผลกดทับเกิดจากเนื้อเยื่อขาดเลือดและสารอาหาร อันเป็นผลจากการมีแรงในแนวตั้งฉากมากดทับบนผิวหนัง เนื้อเยื่ออ่อน กล้ามเนื้อและกระดูกเมื่อมีแรงกดทับเนื้อเยื่อเป็นเวลานานจนเกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดงฝอย ทำให้การไหลเวียนเลือดบกพร่องและเกิดภาวะขาดเลือดเฉพาะที่ การไหลเวียดเลือดที่บกพร่องทำให้มีการคั่งของของเสียและสารพิษที่เกิดจากการขบวนการเผาผลาญในร่างกาย จึงเพิ่มอัตราตายและเกิดแผลที่เนื้อเยื่อบริเวณใต้ต่อแรงที่มากดทับ ซึ่งจะรุนแรงถ้ามีการอุดตันของท่อน้ำเหลืองหรือเมื่อมี reperfusion injury ภายหลังจากกำจัดแรงกดทับนั้นออกไป โดยแรงกดทับที่มีขนาดมากกว่า capillary filling pressure 2 ชั่วโมงจะทำให้เนื้อเยื่อตายได้
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
มีแผลที่นิ้วเท้าข้างขวา วันนี้อาการไม่ดีขึ้นจึงมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ผู้ป่วยผ่าตัดขาข้างซ้ายมาแล้ว 4 ปี
โรคประจำตัว = โรคเบาหวาน ( DM II )