Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู - Coggle Diagram
ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
ความสำคัญภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
ช่วยเสริมสร้างความรู้และเข้าใจในบริบทสภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่าง ทั้งภูมิภาคของประเทศไทย ภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ตะวันออกและตะวันตก
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของครู
บทบาทของครูต่อศาสนา
ควรส่งเสริมการจัดกิจกรรมและการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมส่งเสริมศาสนาจริยธรรมและวัฒนธรรม
ควรสั่งสอนอบรมให้นักเรียนมีศาสนสัมพันธ์อันดีกับผู้นับถือศาสนาที่ต่างกัน
อบรมสั่งสอนนักเรียนให้ศรัทธา เลื่อมใสในศาสนามีธรรมะที่เหมาะสมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
ควรสนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศาสนา เพื่อจะได้นำหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติและนำไปสั่งสอนอบรมนักเรียน
จะต้องมีความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาที่ตนนับถือ
ครูจะต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการปฏิบัติศาสนกิจและการปฏิบัติธรรม
ช่วยทะนุบำรุงรักษาศาสนาให้เจริญมั่นคง
บทบาทของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม
เป็นผู้นำเอาความรู้ด้านต่างๆ มาประยุกต์ในการสอน โดยต้องใช้ความชำนาญ ความรู้ ประสบการณ์ในหลายๆ ด้าน
บทบาทของครูต่อสังคม
บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นและสังคมยิ่งขึ้น
ช่วยส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตย
เป็นผู้นำของชุมชน ช่วยให้การพัฒนาชุมชนให้สงบสุข และเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านวัตถุและจิตใจ
ช่วยให้คำแนะนำแก่ชุมชน ในเรื่องความมั่นคงของชาติ ป้องกันผู้บ่อนทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
บทบาทของครูต่อการพัฒนาการเมืองการปกครอง
มีบทบาทให้ความรู้ความเข้าใจแก่เยาวชนในเรื่องระบอบการปกครองของประเทศ ฝึกหัดเยาวชนให้นำรูปแบบการปกครองของประเทศมาปรับใช้ในการดำเนินกิจกรรมในสถานศึกษา
บทบาทของครูต่อเยาวชน
สั่งสอนวิชาการต่างๆ เพื่อให้ศิษย์นำไปใช้ประกอบอาชีพ
อบรมสั่งสอนให้ศิษย์เป็นคนดี เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม
บทบาทของครูต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ
ครูต้องส่งเสริมให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมกิจกรรมด้านสหกรณ์ร้านในโรงเรียน และการออมทรัพย์เพื่อสร้างนิสัยในการประหยัดอดออม
บทบาทหน้าที่ของครูตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้ ทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ
เป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม ปฏิบัติต่อเพื่อนครูและผู้เรียน
จัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
จัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนและสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียน
จัดการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพจริงของผู้เรียน
จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
วางแผนสร้างหน่วยการเรียนรู้ กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการการเรียนรู้
บทบาทของครูในการสร้างสันติสุข
การให้ความรู้แก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้น
การปลูกฝังทางด้านอาชีพ ให้นักเรียนมีทักษะและทัศนคติที่ดีต่อการอาชีพต่างๆ
การปลูกฝังความเป็นนักประชาธิปไตยให้แก่นักเรียน
บทบาทในการปลูกฝังวัฒนธรรม
การปลูกฝังค่านิยมและมโนทัศน์ที่ถูกต้องให้นักเรียน
บทบาทในการพัฒนาสังคม
พยายามปลูกฝังลักษณะนิสัยสำคัญๆ ให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียน
บทบาทในการแก้ไขปัญหาในชุมชน
จัดสร้างสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเอื้ออำนวยการให้นักเรียนรู้จักคิด ม
การให้ความรู้เกี่ยวกับการนำทรัพยากรธรรมชาติมาให้เป็นประโยชน์
พัฒนานักเรียนให้ผู้มีระดับสติปัญญาสูงขึ้น มีความรอบรู้ในสรรพวิทยาการต่างๆ
บทบาทของครูในการธำรงความมั่นคงของประเทศ
คุณลักษณะที่ดีของครู
ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
หมวดที่ 2 มีคุณธรรม จรรยาบรรณ
มีความขยัน
มีความอดทน
มีวินัย
มีความประหยัด
มีความรับผิดชอบ
ความรักและศรัทธาในอาชีพครู
มีความยุติธรรม
มีความเป็นประชาธิปไตยในการปฏิบัติและการดำรงชีวิต
มีเมตตากรุณา
หมวดที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนา
การพัฒนาตนเอง
สนใจใฝ่รู้
เพิ่มพูนวิทยฐานะ
รู้จักสำรวจและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
คิดค้นคว้าวิทยาการใหม่ๆ
การพัฒนาชุมชนบำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชน
หมวดที่ 1 รอบรู้ สอนดี
ด้านสนับสนุนการเรียนการสอน
บริการด้านกิจการนักเรียน
บริการด้านสื่อการเรียนการสอน
บริการเชิงแนะแนว
งานธุรการ
ด้านความรู้และความสามารถในวิชาชีพครู
ทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
รู้หลักการวัด และประเมินผล
รู้เนื้อหาวิชาที่สอน
สอนซ่อมเสริม
รู้หลักสูตร
การพัฒนาการสอน
รู้แผนการศึกษาแห่งชาติ
ลักษณะครูที่ดีตามพระราชดำรัส
ครูที่ดีต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง ต้องมีความขยัน พากเพียร มีเมตตา มีความรอบรู้ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เรานำมาปฏิบัติเพื่อจะได้เป็นครูที่ดี
ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์ประเมินสรรหาครูดีเด่นของคุรุสภา
การสอนดีและปกครองดี คือ อธิบายได้แจ่มแจ้งชัดเจนครบทุกกระบวนความ สอนสนุกสนาน ปกครองดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยที่ดีงาม
ความประพฤติดี คือ เว้นจากอบายมุขทุกอย่าง แต่ความดีทั้งกาย วาจา ใจ มีคุณธรรมและจริยธรรมสูง มีความซื่อสัตย์ เสียสละ มีเมตตากรุณา มีความยุติธรรม และมีมานะอดทน
มีความรู้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ เชื่อมั่นในตนเอง กระตือรือร้นและสุขภาพแข็งแรง
มีมนุษย์สัมพันธ์อันดี คือ มีอัธยาศัยไมตรีกับคนทุกเพศ ทุกวัย และมีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย
. บุคลิกที่ดี คือ รูปร่างท่าทางดี แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะ และมีลักษณะเป็นผู้นำ
ลักษณะครูที่ดีตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา
วัตตา
ครูจะต้องรู้จักพูดให้ศิษย์เข้าใจได้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้
วจนักขโม
ครูต้องพร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาการซักถาม คำเสนอแนะและคำวิพากษ์วิจารณ์ได้
ภาวนีโย
ครูจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง
คัมภีร์รัญจะ กถัง กัตตา
ครูต้องสมารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจได้
ครุ
ครูจะต้องดูแลและปกครองศิษย์ให้ศิษย์มีความรู้สึกอบอุ่นใจต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างแก่เด็ก
โน จักฐาเน นิโยชเย
ครูไม่ชักจูงศิษย์ไปในทางที่เสื่อมเสีย ครูไม่ประพฤติชั่วควรละเว้นอบายมุขทั้ง 6 อย่าง
ปิยะ
ต้องเป็นผู้มีเมตตา มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ให้ความสนิทสนมแก่ศิษย์เพื่อให้ลูกศิษย์มีความสบายใจ
บทบาทของครูในฐานะผู้ถ่ายทอดภาษาและวัฒนธรรม
วัฒนธรรมไทยประจำภูมิภาค
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง
ส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ แต่ลักษณะที่แตกต่างกันออกไปบ้าง เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สังคม และค่านิยมในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ลักษณะวัฒนธรรมและนบธรรมเนียมประเพณีโดยรวมมีความเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา และพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อในการดำเนินชีวิต
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชนพื้นเมืองถิ่นอีสานดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายมีโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์บนพื้นฐานประวัติศาสตร์
อันยาวนาน วัฒนธรรมต่างๆ ของภาคอีสายเป็นการนำแนวความคิด ความศรัทธา และความเชื่อที่ได้สั่งสมลืบทอดเป็นมรดกต่อกันมา
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ
เป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชาวล้านนาที่ยังคงยึดมั่นในขบธรรมเนียมประเพณีของพระพุทธศาสนา ที่แสดงออกถึงมิตรไมตรีและความเอื้อเฟิ้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีการสืบทอดมาเป็นระยะเวลา
อันยาวนาน จึงถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งที่คนในท้องถิ่นภาคเหนือยังรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
ภาคใต้มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน เป็นแหล่งรับอารยธรรมพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาอิสลาม ซึ่งได้หล่อหลอมเข้ากับความเชื่อดั้งเดิม ก่อให้เกิดการบูรณาการเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน
เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน
สะสมจัดจำประโยค คำพูดที่ดี และสร้างสรรค์
นำมาดัดแปลงแต่งเล็กน้อยเอาไว้ใช้ในการสนทนาปราศรัยกับบุคคลต่างๆ
. มีความแหลมคม จดจำและบันทึก
แสดงถูกกาลเทศะ
มองโลกในแง่ดี
เทคนิคการตั้งคำถาม
เทคนิคการตอบคำถาม
ศิลปะในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
. แนะแนวหรือชี้นำมากกว่าการสอน
ให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิดการทำ
ครูควรสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองและท้าทาย
ใช้วิธีสอนที่หลากหลาย
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ครูควรจัดกิจกรรมให้สัมพันธ์หรือสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เป็นอยู่
ต้องคำนึงถึงประสบการณ์ในอดีตของผู้เรียน
การจัดกิจกรรมควรให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
สร้างแรงจูงใจ โดยวิธีการถ่ายทอดที่ผสมผสาน คำนึงความสามารถในการเรียนรู้
เทคนิคในการถ่ายทอดของครู
เทคนิคการทำให้ผู้เรียนเข้าใจและจำง่าย วิธีที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจและจำได้ง่าย มี 9 วิธี
เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน การถ่ายทอดทำให้สนุกสนาน
เทคนิคการสอนบรรยาย ผู้สอนที่จะบรรยายควรใช้เทคนิค 7 ประการ
ศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ
ครูสามารถสร้างคนให้เป็นพหูสูตร (ผู้คงแก่เรียน) โดยการฝึกให้ฟังมาก จำได้คล่องปาก เจนใจ ประยุกต์ใช้ได้ ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมายและสนุกในการเรียนรู้ที่เกิดจากศิลปะการถ่ายทอด
กลยุทธ์การถ่ายทอด
กลยุทธ์ในการสร้างบรรยากาศที่ดีในการถ่ายทอด ครูต้องสร้างความสัมพันธ์กับผู้เรียนทุกคนใช้ศิลปะในการใช้ภาษาท่าทางที่เหมาะสมกับเนื้อหา
กลยุทธ์การถ่ายทอดได้ชัดเจนและเป็นขั้นตอน นำเสนอกิจกรรมเป็นลำดับขั้นตอน จากง่ายไปหายาก ทำการทดสอบผู้เรียนเป็นระยะๆ
กลยุทธ์และใช้เทคนิคการถ่ายทอดน่าสนใจโดยให้ผู้เรียนเป็นกลุ่ม การสอดแทรกกิจกรรมที่สนุก และมีบรรยากาศการแข่งขันให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง
กลยุทธ์กระตุ้นผู้เรียน การพูดของครูต้องใช้เสียงสูงต่ำ พลังเสียงต้องปลุกความสนใจ การตั้งคำถามควรท้าทายผู้ฟัง
กลยุทธ์เสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ครูต้องบอกประโยชน์ บอกแนวทางในการสอน ตั้งคำถามให้ผู้เรียนคิดติดตาม
กลยุทธ์ในการทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่าย และจำง่าย ครูควรใช้ภาพประกอบ ใช้เพลง โคลง กลอน เพื่อสร้างความจดจำ
กลยุทธ์การสร้างความพร้อมของครู ผู้ถ่ายทอดต้องมีความกระตือรือร้น เตรียมสื่ออุปกรณ์ให้พร้อม
การก่อกวน Online
Cyber bullying
เป็นวิธีการดูถูกล้อเลียน เหยียดหยาม ข่มขู่ทาง Internet ซ้ำแล้วซ้ำอีก
Cyber harassment
เป็นการก่อกวน รังควาญ หรือข่มขู่ แต่มักจะมีผู้ใหญ่เข้ามาเป็นตัวก่อกวน
Phising
ความพยายามจะค้นข้อมูลส่วนตัวของคุณ โดยกระทำว่ามาจาก site ที่คุณคุ้นเคยหรือไว้ใจ
Cyber bullying or harassment by proxy
อาการที่มีคนพยายามทำให้คุณทำอะไรที่สกปรก ผิดกฎหมาย หรือศีลธรรม
Flamming
การส่งข้อความดูถูกเหยียดหยาม ใส่ร้ายและอื่นๆ ทาง e-mail, instant message หรือ text message
Online Grooming
การหลอกลวง Online ปกติเหยื่อมักจะเป็นเด็กวัยรุ่น หรือสาวซื่อเชื่อคนง่าย หรือ โลภอยากได้อะไรง่ายๆ โดยพยายามสร้างความสัมพันธ์กับคุณ