Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู - Coggle Diagram
บทที่ 5
ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
1. ความสำคัญภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
ภาษาช่วยธำรงสังคม
– ภาษาใช้แสดงความสัมพันธ์ของบุคคล แต่ละบุคคลมีฐานะ บทบาท และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นต่างๆ
– ภาษาใช้แสดงไมตรีจิตต่อกัน เช่น การทักทายปราศรัยกัน
ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล
ปัจเจกบุคคล หมายถึง ลักษณะเฉพาะของบุคคล บุคคลแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป ภาษาจะช่วยสะท้อนลักษณะดังกล่าวของบุคคล ทำให้ทราบถึงอุปนิสัย อารมณ์ รสนิยม ตลอดจนความคิดต่างๆ
ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา
ทำให้ความรู้แพร่ขยายมากยิ่งขึ้น
ภาษาช่วยกำหนดอนาคต
มนุษย์อาศัยภาษาช่วยกำหนดอนาคตในรูปแบบต่างๆ เช่น ทำแผน ทำโครงการ คำสั่ง สัญญา คำพิพากษา กำหนดการ คำพยากรณ์
ภาษาช่วยจรรโลงใจ
การจรรโลงใจ คือ ค้ำจุนจิตใจให้มั่นคง ไม่ตกอยู่ในอำนาจฝ่ายต่ำ โดยปกติมนุษย์ต้องการได้รับความจรรโลงใจอยู่เสมอ มนุษย์จึงอาศัยภาษาช่วยให้ความชื่นบาน ให้ความเพลิดเพลิน เช่น บทเพลง นิทาน คำอวยพร
2. คุณลักษณะความเป็นครู
บทบาท
หมายถึง การแสดงออกของคนซึ่งคนอื่นคาดคิด หรือหวังว่าเขาจะกระทําเมื่ออยูjภายใต้สถานการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง
หน้าที่
หมายถึง งานการปฏิบัติ การบริหาร หรือธุรกิจที่ต้องกระทำตามคำสั่งให้เกิดผลด้วยความดี หรือการปฏิบัติงานตามตําแหน่ง งานอาชีพ หรืองานวิชาชีพ
บทบาทของครูตาม TEACHERS MODEL
T – Teaching (การสอน) หมายถึง บทบาทในการทําหนhาที่สั่งสอนศิษย์ให้เป็น คนดีมีความรู้ในวิชาการทั้งปวง
E – Ethics (จริยธรรม) หมายถึง การที่ครูมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการส่งเสริมจริยธรรมให้แก่นักเรียน
A – Academic (วิชาการ) หมายถึง การที่ครูต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบในทางวิชาการ ทั้งของตนเองและของลูกศิษย
C – Cultural Heritage (การสืบทอดวัฒนธรรม) หมายถึง ครู อาจารย์ต้องทําหน้าที่และรับผิดชอบในการสืบทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่ง ไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง
H – Human Relationship (มนุษยสัมพันธ์) หมายถึง ครูอาจารย์ต้องทําตัวให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อบุคคลทั่วๆ ไป
E – Evaluation (การประเมินผล) หมายถึง การประเมินผลการเรียนการสอน ของนักเรียน หน้าที่และ
ความรับผิดชอบในด้านนี้
R – Research (การวิจัย) หมายถึง การที่ครูต้องเป็นนักแก้ปัญหา เพราะการวิจัยเป็นวิธีการแก้ปัญหาและการศึกษาหาความรู้ความจริงที่เชื่อถือได้โดยใช่วิธีการที่เชื่อถือได้
S – Service (การบริการ) หมายถึง การให้บริการแก่ศิษย์ ผู้ปกครองและชุมชน
3.บทบาทของครูในฐานะผู้ถ่ายทอดภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐานวิชาชีพครู ประกอบด้วยมาตรฐาน 3 ด้าน คือ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพมาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน (จรรยาบรรณของวิชาชีพ)
หมวดที่ 1
รอบรู้ สอนดี ประกอบด้วย คุณลักษณะ พฤติกรรมหลัก และพฤติกรรมบ่งชี้
ด้านความรู้และความสามารถในวิชาชีพครู
รู้เนื้อหาวิชาที่สอน
ทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
หมวดที่ 2
มีคุณธรรม จรรยาบรรณ ประกอบด้วย คุณลักษณะ พฤติกรรมหลัก และพฤติกรรมบ่งชี้
มีเมตตากรุณา
มีความยุติธรรม
มีความรับผิดชอบ
มีวินัย
หมวดที่ 3
มุ่งมั่นพัฒนา ประกอบด้วยคุณลักษณะ พฤติกรรมหลักและพฤติกรรมบ่งชี้
สนใจใฝ่รู้
เพิ่มพูนวิทยฐานะ
การพัฒนาตนเอง
คิดค้นคว้าวิทยาการใหม่ๆ
4.แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน
4.1 ศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ
การอบรมให้ผู้เรียนเกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดการศึกษาให้มีคุณภาพสูง เพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นคนดี เป็นคนเก่งและมีความสุขในชีวิต มีความสามารถทางสติปัญญา IQ (Intelligence Quotient) มีความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient) และมีคุณธรรมจริยธรรม MQ (Moral Quotient)
การพูดเป็น คือ การพูดที่มีประโยชน์แก่ผู้พูดและผู้ฟัง การพูดเป็นจึงเป็นการถ่ายทอดความคิด ความรู้จากตัวผู้พูดไปยังผู้ฟัง เพื่อให้ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจ เกิดความสามารถในอันที่จะปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และมีทัศนคติในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.2 เทคนิคในการถ่ายทอดของครู
เทคนิคการทำให้ผู้เรียนเข้าใจและจำง่าย
เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน การถ่ายทอดทำให้สนุกสนาน คือ ชื่นบานทั้งผู้พูดและสำราญอุราทั้งคนฟัง การสร้างอารมณ์ขันเป็นทั้งศาสตร์
4.3 เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน
มองโลกในแง่ดี
มีความแหลมคม จดจำและบันทึก คำพูดหรือประโยคที่ใช้คำแหลมคมทั้งหลาย
สะสมจัดจำประโยค คำพูดที่ดี และสร้างสรรค์
นำมาดัดแปลงแต่งเล็กน้อยเอาไว้ใช้ในการสนทนาปราศรัยกับบุคคลต่างๆ
แสดงถูกกาลเทศะ คือ พูดให้เหมาะสม กับเวลา บุคคล โอกาสและสถานที่
4.4 ศิลปะในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
สร้างแรงจูงใจ โดยวิธีการถ่ายทอดที่ผสมผสาน คำนึงความสามารถในการเรียนรู้ โดยปกติเด็กจะสนใจใน 15 นาทีแรกและการเรียนรู้จะลดถอยลงถ้าไม่มีกิจกรรมอื่นแทรก
ต้องคำนึงถึงประสบการณ์ในอดีตของผู้เรียน คนเราชอบฟังเรื่องใกล้ตัวมากกว่าเรื่องไกลตัว
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ครูควรสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองและท้าทาย ครูต้องเป็นกัลยาณมิตรพร้อมสร้างกิจกรรมให้ผู้เรียนอยากรู้อยากลอง ท้าทายหรือประลองฝีมือ มีการแข่งขัน สนุกสนสน