Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู, นายณัครินทร์ ปิงแก้ว …
บทที่ 5
ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
ความสำคัญภาษาและ
วัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
ความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู ช่วยเสริมสร้างความรู้และเข้าใจในบริบทสภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่าง ทั้งภูมิภาคของประเทศไทย ภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ตะวันออกและตะวันตก
ความสำคัญของภาษา ภาษามีประโยชน์มากมาย ได้แก่ ภาษาช่วยธำรงสังคม ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา ภาษาช่วยกำหนดอนาคต ภาษาช่วยจรรโลงใจ ซึงจำเป็นต่อผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นครู
คุณลักษณะความเป็นครู
บทบาทของครูตาม TEACHERS MODEL
E – Ethics หมายถึง การที่ครูมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการสงเสริมจริยธรรมให้แก่นักเรียน
A – Academic หมายถึง การที่ครูต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบในทางวิชาการ ทั้งของตนเองและของลูกศิษย์
T – Teaching หมายถึง บทบาทในการทำหน้าที่สั่งสอนศิษย์ให้เป็น คนดีและมีความรู้ในวิชาการทั้งปวง
C – Cultural Heritage หมายถึง ครู อาจารย์ ต้องทำหน้าที่และรับผิดชอบในการสืบทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่ง ไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง
H – Human Relationship ครู อาจารย์ ต้องทำตัวให้มีมนุษยสัมพันธที่ดีต่อบุคคลทั่ว ๆ ไป
E – Evaluation หมายถึง การประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียน
R – Research หมายถึง การที่ครูต้องเป็นนักแก้ปัญหา
S – Service หมายถึง การใหบริการแก่ศิษย์ผู้ปกครองและชุมชน
บทบาทครูโดยรวม
ครูประพฤติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีของศิษย์และผู้อื่น เป็นผู้สอนศิษย์ให้เป็นคนดี มีความประพฤติดี
ครูจึงต้องทำงานหนักและใช้สติปัญญาค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ เพื่อสามารถแนะนำสั่งสอนศิษย์และถ่ายทอดคุณธรรมความดีและความรู้ให้แก่ศิษย์ เพื่อให้มีคุณธรรมและศีลธรรมประจำใจ นำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันในฐานะเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
ครูต้องเป็นผู้ที่สามารถแยกได้ว่าอะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว เป็นผู้ที่ตระหนักในคุณความดี ความชั่วแม้นิดหนึ่งก็ไม่ทำ แต่ความดีแม้น้อยนิดก็รีบทำ
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของครู
หน้าที่สำคัญของคนเป็นครู คือ การสอน และการสอนนั้นเป็นกระบวนการที่ผสมกันระหวาง ศาสตร์กับศิลป์
เพราะฉะนั้นการเป็นครู มิใช่มีแตความรู้ในหลักวิชาการเท่านั้น ยังต้องอาศัยแรงจูงใจในหลายด้านประกอบกัน เช่น ความมีศรัทธาในอาชีพครู ความรักเด็ก รักการสอน เป็นต้น
คุณลักษณะที่ดีของครู
ครูทุกคนมีความต้องการจะเป็นครูที่ดี แต่จะเป็นครูที่ดีมากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมจะประเมินจากคุณลักษณะของครูที่ปรากฏ
ครูที่ดีควรมีความรักและความเมตตาต่อศิษย์ มีความเสียสละหมั่นเพียรศึกษา ปรับปรุงวิธีการสอน เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความเข้าใจและเอาใจใส่กับลูกศิษย์ทุกคน เป็นกำลังใจและช่วยสร้างแรงบัลดาลใจให้กับลูกศิษย์ เพื่อให้เขาเป็นคนใฝ่เรียนรู้
เป็นแบบอย่างที่ดีมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู มีจิตวิญญาณของความเป็นครู สามารถถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดี มีวิธีการสอนที่หลากหลาย มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความยุติธรรม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมถึงยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของเด็กแต่ละคนด้วย
บทบาทของครูในฐานะผู้ถ่ายทอดภาษาและวัฒนธรรม
การเชิดชูวัฒนธรรมหลักอาจนามาสู่การลดทอนความสาคัญของวัฒนธรรมรองอันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นหรือกลุ่ม เช่น การละเลยความสาคัญของผู้นับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธ การที่เยาวชนรังเกียจหรืออายที่จะพูดภาษาท้องถิ่น
วัฒนธรรม คือ รูปแบบของวิถีชีวิตที่แสดงออกให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมซึ่งในแต่ละสังคมก็มีความแตกต่างของรูปแบบการดาเนินชีวิตของผู้คนมากมายซึ่งเกี่ยวโยงเรื่องของกลุ่มคน ชนชั้น ภาษา ชาติพันธุ์ เพศสภาวะ และอื่นๆ โดยคานึงถึง
พัฒนาการด้านภูมิปัญญาของสังคมโดยรวม
การสร้างสรรค์ เช่น งานศิลปะ
ความเป็นสิ่งที่คุ้นเคยในทางจิตวิญญาณ
วิถีชีวิตมนุษย์
วัฒนธรรมไทยประจำภูมิภาค
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง
ส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ แต่ก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปบ้าง เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สังคม และค่านิยมในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ลักษณะวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีโดยรวมมีความเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา และพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อในการดำเนินชีวิต
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชนพื้นเมืองถิ่นอีสานดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายมีโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์บนพื้นฐานประวัติศาสตร์อันยาวนาน วัฒนธรรมต่าง ๆ ของภาคอีสายเป็นการนำแนวความคิด ความศรัทธา และความเชื่อที่ได้สั่งสมลืบทอดเป็นมรดกต่อกันมา
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ
เป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชาวล้านนาที่ยังคงยึดมั่นในขบธรรมเนียมประเพณีของพระพุทธศาสนา ที่แสดงออกถึงมิตรไมตรีและความเอื้อเฟิ้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีการสืบทอดมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน จึงถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สาคัญยิ่งที่คนในท้องถิ่นภาคเหนือยังรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน เป็นแหล่งรับอารยธรรมพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาอิสลาม ซึ่งได้หล่อหลอมเข้ากับความเชื่อดั้งเดิม ก่อให้เกิดการบูรณาการเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน
การใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยเด็กอาจจะติดเกม ติดเล่นคอมพิวเตอร์ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับการสอนOnline จะไม่มีความผูกพันธ์ที่ดีและอบอุ่นเหมือนกับการพูดคุยและพบกันซึ่งหน้าเหมือนเรียนกับครู ข้อมูลใน Internet มักจะไม่ละเอียดและลึกเท่ากับตำรา เด็กค้นได้เร็วแต่ไม่ลึก เด็กชอบค้นมากกว่าลงไปอ่านตำราจริง ๆ ดังนั้นครูต้องกระตุ้นให้เด็กค้นข้อมูลมากกว่า 1 แหล่ง
ความสัมพันธ์ที่เกิดทาง Online ไม่สมารถทดแทนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันอันเป็นพื้นฐานอันหนักแน่น บทบาทของการศึกษาอริสโตเติลเคยกล่าวไว้ว่า "ชีวิตมนุษย์มี 3 ส่วน คือ ชีวิตเพื่องาน ชีวิตเพื่อความสนุกสนาน และชีวิตเพื่อความไตร่ตรอง" แต่ประการสุดท้ายเราทำกันน้อยมาก จึงมีการผิดพลาดกันบ่อย ครูควรจะสอนเด็กและไตร่ตรองทุกกิจกรรมที่ตนกระทำ
การเรียนการสอน ครูควรบูรณาการทั้งภาษาหนังสือ ภาษาภาพ และการ์ตูน และ Online เข้าด้วยกัน โดยครูเป็นผู้ร่วมเรียนแบบ life long learning ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องเสริมปริมาณและคุณภาพของการเรียน
นายณัครินทร์ ปิงแก้ว รหัสนิสิต 60204035 วิทยาลัยการศึกษา สาขาชีววิทยา Sec.7