Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู - Coggle Diagram
บทที่ 5
ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
ความสำคัญภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
ภาษาช่วยธำรงสังคม
สังคมจะธำรงอยู่ได้มนุษย์ต้องมีไมตรีต่อกัน ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวินัยของสังคมและประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ฐานะตนเอง
ภาษาใช้แสดงไมตรีจิตต่อกัน เช่น การทักทายปราศรัยกัน
ภาษาใช้แสดงกฎเกณฑ์ของสังคมว่าคนในสังคมควรปฏิบัติตนอย่างไร
ภาษาใช้แสดงความสัมพันธ์ของบุคคล
ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล
ปัจเจกบุคคล หมายถึง ลักษณะเฉพาะของบุคคล บุคคลแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป ภาษาจะช่วยสะท้อนลักษณะดังกล่าวของบุคคล
3.ภาษาช่วยพัฒนามนุษย์
มนุษย์อาศัยภาษาถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ต่อๆ กันมา ทำให้ความรู้แพร่ขยายมากยิ่งขึ้น
4.ภาษาช่วยกำหนดอนาคต
มนุษย์อาศัยภาษาช่วยกำหนดอนาคตในรูปแบบต่างๆ เช่น ทำแผน ทำโครงการ เป็นต้น
ภาษาช่วยจรรโลงใจ
มนุษย์จึงอาศัยภาษาช่วยให้ความชื่นบาน ให้ความเพลิดเพลิน เช่น บทเพลง นิทาน คำอวยพร ฯลฯ
ความสำคัญของวัฒนธรรมไทยอาจสรุปได้ดังนี้
วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน
4.วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหา
วัฒนธรรมทำให้เกิดความสามัคคีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
วัฒนธรรมช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า
วัฒนธรรมเป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคมมนุษย์
วัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ
บทบาทของครูในฐานะผู้ถ่ายทอดภาษาและวัฒนธรรม
วัฒนธรรมไทยประจำภูมิภาค
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง
ภาคกลางส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ แต่ลักษณะที่แตกต่างกันออกไปบ้าง เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สังคม และค่านิยมในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ลักษณะวัฒนธรรมและนบธรรมเนียมประเพณีโดยรวมมีความเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา และพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อในการดำเนินชีวิต ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชนพื้นเมืองถิ่นอีสานดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายมีโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์บนพื้นฐานประวัติศาสตร์อันยาวนาน วัฒนธรรมต่างๆ ของภาคอีสายเป็นการนำแนวความคิด ความศรัทธา และความเชื่อที่ได้สั่งสมลืบทอดเป็นมรดกต่อกันมา
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ
โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชาวล้านนาที่ยังคงยึดมั่นในขบธรรมเนียมประเพณีของพระพุทธศาสนา ที่แสดงออกถึงมิตรไมตรีและความเอื้อเฟิ้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีการสืบทอดมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
ภาคใต้มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน เป็นแหล่งรับอารยธรรมพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาอิสลาม ซึ่งได้หล่อหลอมเข้ากับความเชื่อดั้งเดิม ก่อให้เกิดการบูรณาการเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
วัฒนธรรมไทยกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมหลัก วัฒนธรรมรอง (หรืออนุวัฒนธรรมที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า subculture) และวัฒนธรรมสากล (หรือที่เรียกว่า global culture)
วัฒนธรรมหลัก หรือวัฒนธรรมของชาติ มักได้รับการยอมรับสนับสนุนโดยรัฐบาลกลาง ในประเทศไทย
เรามีวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบของภาษา ดนตรี อาหาร การประพฤติปฏิบัติตน และส่วนประกอบอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน
มุมมองต่อวัฒนธรรมในยุคปัจจุบัน
วัฒนธรรม คือ รูปแบบของวิถีชีวิตที่แสดงออกให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผู้คน
ในสังคมซึ่งในแต่ละสังคมก็มีความแตกต่างของรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้คนมากมายซึ่งเกี่ยวโยงเรื่องของกลุ่มคน ชนชั้น ภาษา ชาติพันธุ์ เพศสภาวะ และอื่นๆ โดยคำนึงถึง
ความเป็นสิ่งที่คุ้นเคยในทางจิตวิญญาณ
พัฒนาการด้านภูมิปัญญาของสังคมโดยรวม
การสร้างสรรค์ เช่น งานศิลปะ
วิถีชีวิตมนุษย์
คุณลักษณะความเป็นครู
บทบาทหนน้าที่และความรับผิดชอบของครู
หน้าที่สําคัญของคนเป็นครู คือ การสอน และการสอนนั้นเป็นกระบวนการที่ผสมกันระหว่าง ศาสตร์ กับ ศิลป์
ความหมาย
บทบาท
การแสดงออกของคนซึ่งคนอื่นคาดคิด หรือหวังว่าเขาจะกระทําเมื่ออยู่ภายใต้สถานการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง
หน้าที่
งานการปฏิบัติ การบริหาร หรือธุรกิจที่ต้องกระทำตามคำสั่งให้เกิดผลด้วยความดี หรือการปฏิบัติงานตามตําแหน่ง งานอาชีพ หรืองานวิชาชีพ
ความรับผิดชอบ
การปฏิบัติงานและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดที่จะสามารถทำได้
บทบาทของครูตาม TEACHERS MODEL
T – Teaching (การสอน) หมายถึง บทบาทในการทําหน้าที่สั่งสอนศิษย์ให้เป็น คนดีมีความรู้ในวิชาการทั้งปวง
E – Ethics (จริยธรรม) หมายถึง การที่ครูมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการส่งเสริมจริยธรรมให้แก่นักเรียน
A – Academic (วิชาการ) หมายถึง การที่ครูต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบในทางวิชาการ
C – Cultural Heritage (การสืบทอดวัฒนธรรม) หมายถึง ครู อาจารย์ต้องทําหน้าที่และรับผิดชอบในการสืบทอดวัฒนธรรม
H – Human Relationship (มนุษยสัมพันธ์) หมายถึง ครูอาจารย์ต้องทําตัวให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ต่อบุคคลทั่วๆ ไป
E – Evaluation (การประเมินผล) หมายถึง การประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียน
R – Research (การวิจัย) หมายถึง การที่ครูต้องเป็นนักแก้ปัญหา
S – Service (การบริการ) หมายถึง การให้บริการแก่ศิษย์ ผู้ปกครองและชุมชน
บทบาทของครูในอดีตและปัจจุบัน
ครูเป็นผู้กำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนเอง ศิษย์เรียนแล้วมีงานทำ ทำให้ผู้ปกครองมีความรู้สึกที่ดีกับครู แต่ในปัจจุบันความสำคัญของครูในด้านความรู้สึกของบุคคลทั่วไปลดลงเพราะสภาพการณ์ตรงกันข้ามกับในอดีต
บทบาทหน้าที่ของครูตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
บทบาทของครูที่เปลี่ยนไปหลังการจัดการศึกษาที่ยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
บทบาทของครูต่อเยาวชน
ในฐานะที่เป็นศิลปะทายก มีหน้าที่สั่งสอนวิชาการต่างๆ เพื่อให้ศิษย์นำไปใช้ประกอบอาชีพ
ในฐานะที่เป็นเสมือพ่อแม่คนที่สอง และเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์
บทบาทของครูต่อสังคม
ครูมีบาทบาทต่อสังคม ควรทำตนเป็นผู้นำของชุมชน
ครูควรร่วมในองค์การ สมาคม
ช่วยส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตย
ช่วยให้คำแนะนำแก่ชุมชน ในเรื่องความมั่นคงของชาติ
บทบาทของครูต่อศาสนา
ครูมีบทบาทต่อศาสนา ต้องช่วยทะนุบำรุงรักษาศาสนาให้เจริญมั่นคง
เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อศาสนา
3.ครูทุกคนควรมีการอบรมสั่งสอนนักเรียนให้ศรัทธา เลื่อมใสในศาสนามีธรรมะที่เหมาะสมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
เพื่อให้นักเรียนมีความใกล้ชิดกับศาสนามากขึ้น
ครูควรมีศาสนสัมพันธ์อันดีกับผู้นับถือศาสนาอื่น
ครูทุกคนควรสนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศาสนา
ครูจะต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนและบุคคลอื่น
บทบาทของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม
ครูซึ่งเป็นผู้นำเอาความรู้ด้านต่างๆ มาประยุกต์ในการสอน โดยต้องใช้ความชำนาญ ความรู้ ประสบการณ์ในหลายๆ ด้าน
บทบาทของครูต่อการพัฒนาการเมืองการปกครอง
บทบาทประการหนึ่งของครูคือต้องเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องและส่งเสริมระบบการปกครอง
บทบาทของครูต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ
ครูต้องส่งเสริมให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมกิจกรรมด้านสหกรณ์ร้านในโรงเรียน และการออมทรัพย์เพื่อสร้างนิสัยในการประหยัดอดออม
บทบาทของครูในการสร้างสันติสุข
ครูมีการธำรงความมั่นคงของประเทศ ในการพัฒนาประเทศจะมีการพัฒนาในด้านต่างๆ
คุณลักษณะที่ดีของครู
ลักษณะครูที่ดีตามทัศนะของบุคคลทั่วไป
ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
ลักษณะครูที่ดีตามพระราชดำรัส
ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์ประเมินสรรหาครูดีเด่นของคุรุสภา
ลักษณะครูที่ดีตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา
ลักษณะครูที่ดีจากผลการวิจัย
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน
ศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ
การพูดเป็น คือ การพูดที่มีประโยชน์แก่ผู้พูดและผู้ฟัง การพูดเป็นจึงเป็นการถ่ายทอดความคิด ความรู้จากตัวผู้พูดไปยังผู้ฟัง เพื่อให้ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจ เก
เทคนิคในการถ่ายทอดของครู
ครูมืออาชีพจึงควรมีเทคนิคในการถ่ายทอด ซึ่งสมชาติ กิจยรรยง ได้เสนอการถ่ายทอด ไว้ ดังนี้
เทคนิคการสอนบรรยาย ผู้สอนที่จะบรรยายควรใช้เทคนิค 7 ประการ
เทคนิคการทำให้ผู้เรียนเข้าใจและจำง่าย
เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน การถ่ายทอดทำให้สนุกสนาน ค
เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน มี 5 วิธี คือ
มีความแหลมคม จดจำและบันทึก คำพูดหรือประโยคที่ใช้คำแหลมคมทั้งหลาย
สะสมจัดจำประโยค คำพูดที่ดี และสร้างสรรค์
มองโลกในแง่ดี
นำมาดัดแปลงแต่งเล็กน้อยเอาไว้ใช้ในการสนทนาปราศรัยกับบุคคลต่างๆ
แสดงถูกกาลเทศะ คือ พูดให้เหมาะสม กับเวลา บุคคล โอกาสและสถานที่
ศิลปะในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
การสร้างแรงจูงใจ กระตือรือร้น ร่วมมือที่จะเรียนรู้ มีบรรยากาศดี หลักการเรียนรู้ที่ครูจัดกิจกรรมต้องนำมาใช้คือ การพูดให้เข้าใจ ต้องได้เนื้อหาสาระคละเคล้าสนุก มีการปลุกสมองให้รู้จัดคิด ช่วยพิชิตปัญหา มารู้จักกัน ฉันถูกเสมอ มีข้อเสนอที่ดีมีความสำเร็จ หลักการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จ