Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Laryngeal Cancer มะเร็งกล่องเสียง - Coggle Diagram
Laryngeal Cancer มะเร็งกล่องเสียง
พยาธิสภาพ
พยาธิสรีรภาพ โดยปกติของกล่องเสียงมี cell พวก squamous cell
carcinoma เกิดจากการได้รัการกระทบกระเทือนและระคายเคืองจากสาร บุหรี่ ฝุ่น ควัน การอักสบบ่อยๆ จนเชลล์เยื่อบุการเปลี่ยนแปลง หรือการแพร่กระจายจากมะเร็งตำแหน่งอื่นๆ เช่น จากต่อมลูกหมาก เต้านม ปอด
สาเหตุ
การสูบบุหรี่ การเผาไหม้ของบุหรี่สามารถทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง นอกจากนั้น ควันของบุหรี่จะทำให้ขนกวัดของเยื่อบุกล่องเสียง หยุดการเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวช้าลง มีสารคัดหลั่ง หรือสารระคายเคืองค้างอยู่ ทำให้เยื่อบุของกล่องเสียงหนาตัวขึ้นและเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพเซลล์ ( squamous metaplasia ) กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ พบว่าปัจจัยนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด
ดื่มสุรา แอลกอฮอล์สามารถไปกระตุ้นเยื่อบุของกล่องเสียง เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพเซลล์ กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
การอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุกล่องเสียง เช่น จากคอ หรือ หลอดลมที่อักเสบเรื้อรัง
มลพิษทางอากาศ การสูดดมอากาศที่เป็นพิษ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และฝุ่น ควัน สารเคมี จากโรงงานอุตสาหกรรม
การติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสสามารถทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงและแบ่งเซลล์ผิดปกติได้ ไวรัสยังสามารถถ่ายทอดยีนทางพันธุกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งในคนรุ่นต่อไปได้ ซึ่งการติดเชื้อ human papilloma virus (HPV)-16 และ 18 มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเกิดมะเร็งกล่องเสียง
สมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งกล่องเสียง
อาการและอาการแสดง
เสียงแหบเรื้อรัง ซึ่งหากมะเร็งเกิดที่กล่องเสียง ส่วนสายเสียง จะแสดงอาการนี้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก แต่หากเป็นที่กล่องเสียงส่วนอื่น อาการเสียงแหบที่เกิดขึ้น มักจะแสดงว่ามะเร็งอยู่ในระยะที่ลุกลามแล้ว
หายใจไม่ออก หายใจติดขัด หายใจลำบาก
มีก้อนโตที่คอ (ก้อนมะเร็งที่ลุกลามออกมา หรือต่อมน้ำเหลือง ที่มะเร็งแพร่กระจายมา) อาจมีเพียงก้อนเดียว หรือ หลายๆก้อนได้พร้อมกัน
กลืนอาหารลำบาก กลืนติด กลืนแล้วเจ็บ หรือสำลัก
ข้อวินิฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจเนื่องจากมีก้อนที่คอด้านซ้ายบวมโต
เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อที่ปอดเนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังบริเวณ tracheostomy
เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังบริเวณลำคอและท้อง
เกิดภาวะท้องผูกเนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อย
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากมองเห็นภาพซ้อน
พร่องกิจวัตรประจำวันเนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
การติอต่อสื่อสารทางคำพูดบกพร่องเนื่องจากพูดไม่มีเสียง
การรักษา
ระยะแรกเริ่ม (ระยะที่ 1 และระยะที่ 2) รักษาโดยการฉายรังสี
ส่วนการผ่าตัด ตัดกล่องเสียงออกบางส่วนเท่านั้น
ระยะลุกลาม (ระยะที่ 3 และระยะที่ 4) ทำการเจาะคอใส่ท่อหลอดลมคอในรายที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ กลืนลำบากเกิดภาวะขาดสารอาหาร ต้องผ่าตัดใส่สายยางให้อาหารทางหน้าท้อง และใช้การผ่าตัดรักษาร่วมกับการฉายรัง บางราขอาจใช้เคมีบำบัดร่วมด้วย
ข้อมูลผู้ป่วย
ผู้ป่วยชายไทยอายุ 63 ปีโรคประจำตัวโรคเก๊าท์
ข้อมูลแรกรับ 26 สิงหาคม 2563
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
หายใจเหนื่อยหอบ ก้อนที่คอบวมโตมากขึ้น 1 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
4 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล มีมีก่อนที่ขอคาสายโตขึ้นเรื่อยเรื่อยโรงพยาบาลปากเกร็ดส่งตัวมาโรงพยาบาลพระนั่งเก้าโรงพยาบาลพระนั่งเก้าเจาะชิ้นเนื้อพบว่าเป็นมะเร็งส่งต่อไปรักษาที่สถาบันมะเร็งสถาบันมะเร็งส่งกลับมาให้โรงพยาบาลพระนั่งเก้าทำ Tracheotomy และ Gastrostomy
วัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
บิดาป่วยเป็นโรคมะเร็งกล่องเสียง
การตรวจวินิจฉัย
การซักประวัติ ตรวจร่างกายทางระบบหู คอ จมูก
ตรวจทางรังสีวินิจฉัยและตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางจุลพยาธิวิทยา
การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น เอ็กซเรย์ปอด เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อให้ทราบว่าเป็นมะเร็งระยะที่เท่าไร หรือมีการแพร่กระจายไปที่ใดบ้าง