Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
4.1 ภาวะอาเจียนรุนแรงในขณะตั้งครรภ์ Hyperremesis gravidarum - Coggle…
4.1 ภาวะอาเจียนรุนแรงในขณะตั้งครรภ์ Hyperremesis gravidarum
สาเหตุของภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์(Hyperemesis gravidarum)
2.ปัจจัยด้านทารก ได้แก่ ทารกมีความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม triploidy, trisomy 21 และ ทารกบวมน้ํา (hydrops fetalis)
1. ปัจจัยด้านมารดา
มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
มีประวัติการแพ้ท้องอย่างรุนแรงในครรภ์ก่อน หรือเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
กระเพาะอาหารมีการเคลื่อนไหวลดลง จากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน (progesterone) ขณะตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen)สูง หรือมีระดับ human chorinoic gonadotropin (HCG) เพิ่มมากกว่าปกติ
สภาพจิตใจ ความเครียด ความวิตกกังวล ที่อาจมีสาเหตุต่างๆ
การวินิจฉัย
การตรวจพิเศษ เพื่อค้นหาสาเหตุของความผิดปกติ ได้แก่ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และการเจาะตรวจน้ําคร่ํา เ
2.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเลือดพบฮีมาโตคริตสูงBUN สูงโซเดียมต่ําโปแตสเซียมต่ําคลอไรด์ต่ําSGOT สูงLFT สูงและโปรตีนในเลือดต่ํ
การตรวจปัสสาะพบว่ามีความถ่วงจําเพาะสูงไข่ขาวในปัสสาวะเพิ่มขึ้น
1.การซักประวัติตรวจร่างกายประเมินจากอาการและอาการแสดงของ การอาเจียนรุนแรง การขาดสารน้ําขาดสารอาหาร น้ําหนักตัว และสภาพจิตใจ
อาการและอาการแสดง
2. หากอาการอาเจียนรุนแรงมากขึ้นคือมีอาการอาเจียน5-10 ครั้งต่อวันหรือมากกว่าเป็นเวลาหลายวันจะมีอาการดังนี้
ขาดสารอาหาร และน้ําหนักลดลงมาก
มีอาการแสดงของภาวะขาดสารน้ํา (dehydration)
เกิดความไม่สมดุลของร่างกาย เกิดภาวะ acidosis , alkalosis และความไม่สมดุลของเกลือแร่ (electrolyte imbalance)
ลมหายใจมีกลิ่นอะซิโตน (acetone) ตรวจพบคีโนในปัสสาวะ (ketonuria)
การขาดวิตามินบี 1 โดยจะมีอาการมองเห็นภาพซ้อน (ophthalmoplegia) เซ (gait ataxia) และสับสน (confusion)
มีอาการแสดงทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า
1. มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรงเป็นระยะเวลานานอาจตลอดทั้งวันอาการรุนแรงอาจเพิ่มมากขึ้น
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อมารดา
เกิดภาวะขาดสารอาหารมีอาการของการขาดวิตามิน
3.ถ้ามีอาการรุนแรงมากเกิดภาวะhypokalemia, alkalosis กล้ามเนื้ออ่อนแรง
เกิดภาวะความเป็นกรดในร่างกาย
ทําให้ร่างกายเกิดการขาดน้ําทําให้อุณหภูมิสูงขึ้นชีพจรเบาเร็วและความดันโลหิตต่ําลงมีผลกระทบต่อการทํางานของไต
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
หากสตรีตั้งครรภ์มีน้ําหนักลดลงมากจะทําให้ทารกในครรภ์เติบโตช้า
หากสตรีตั้งครรภ์อาการรุนแรงมาก อาจทําให้ทารกมีอาการทางสมองเกิดภาวะWernicke’s encephalopathy
อาจทําให้แท้งคลอดก่อนกําหนดทารกอาจตายคลอดและทารกพิการ(Fetal anomalies) จากการขาดสารอาหารได้
การพยาบาล
1.การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก
1 อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดภาวะอาเจียนรุนแรง
2 แนะนําวิธีการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน
1 การรับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง ไม่ควรให้กระเพาะอาหารว่าง
2 งดอาหารไขมัน เพราะย่อยยาก ทําให้คลื่นไส้ ควรรับประทานอาหารแข็ง ย่อยง่าย
3 รับประทานอาหารเหลว อาหารน้ํา หรือดื่มน้ําระหว่างมื้ออาหารแทนการดื่มพร้อมรับประทานอาหาร
4 หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและอาหารที่มีกลิ่นแรง
5 หลังรับประทานอาหารไม่ควรนอนทันที เพื่อป้องกันการไหลท้นกลับของน้ําย่อย
6 ดูแลความสะอาดของปากและฟัน บ้วนปากบ่อยๆ
7 แนะนําการพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
3 แนะนําให้จิบเครื่องดื่มอุ่นๆ
5 แนะนําให้รับประทานผลไม้ เ
6 แนะนําวิธีการรับประทานยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษา
.4 แนะนําให้รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวเพื่อให้ร่างกายได้รบพลังงานอย่างเพียงพอ
7 สอนวิธีการประเมินโภชนาการ การคํานวณ พลังงานที่ได้รับจากอาหารที่บริโภค และการชั่งน้ําหนัก
8 ช่วยประคับประคองด้านจิตใจ โดยเปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์ได้พูดถึงปัญหา
9 แนะนําให้มาพบแพทย์เมื่อมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น
2. การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ดูแลให้ได้รับสารน้ําทางหลอดเลือดดํา เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ํา โดยดูแลให้ได้รับสารน้ําทดแทนประมาณ 3,000 ml. ใน 24 ชั่วโมง
ดูแลให้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ตามแผนการรักษา
เมื่ออาการดีขึ้น ให้เริ่มรับประทานอาหารมื้อละน้อยแต่บ่อยครั้ง โดยเริ่มจากอาหารแข็ง ย่อยง่าย มีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนสูง
ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน ขณะที่ NPO
ดูแลให้งดอาหารและน้ําทางปาก (Nothing Per Oral: NPO) อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง เพราะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
3. การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
แนะนําให้ดื่มน้ําอุ่นทันที่ตื่นนอนประมาณครึ่งแก้ว แล้วนอนต่ออีกประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะลุกขึ้นปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน
แนะนําให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมงในเวลากลางคืน และกลางวันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
แนะนําการออกกําลังกายหรือกายบริหารเบาๆ อย่างสม่ําเสมอ
อธิบายให้คู่สมรสและครอบครัวเข้าใจถึงภาวะที่เกิดขึ้น และควรให้การช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
แนะนําการรับประทานอาหาร โดยปรับเปลี่ยนแบบแผนการรับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง เป็นอาหารที่ย่อยง่าย หรือมีโปรตีนสูง
แนะนําให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ําเสมอ และสังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
แนวทางการรักษา
3. หากอาการรุนแรงมากควรให้สารน้ําทางหลอดเลือดดํา 5% D/NSS 1,000 ml. ทางหลอดเลือดดํา
4. การรักษาด้วยยา ได้แก่
2 วิตามิน ได้แก่ วิตามินบี 6 (Pyridoxine) 10-25 mg. 1 เม็ด รับประทาน 3-4 ครั้งต่อวัน โดยขนาดสูงสุดในสตรีตั้งครรภ์ไม่ควรเกิน 200 mg/วัน
3 ยาคลายกังวล และยานอนหลับ ได้แก่Diazepam 2 mg. 1 เม็ด ครั้งต่อวันรับประทาน 2 ครั้งต่อวัน และ/หรือ Diazepam 5 mg. 1 เม็ด รับประทานก่อนนอน
1 ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ได้แก่ Metoclopramide 5-10 mg. ฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อทุก 6-8 ชั่วโมง หรือให้ยา Promethazine 12.5–25 mg. ฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อทุก 4-5 ชั่วโมง ภายหลังจากอาการดีขึ้นให้เปลี่ยนเป็นยารับประทาน
2. หากอาการไม่รุนแรงสามารถรับประทานอาหารได้แนะนําให้รับประทานอาหารที่ช่วยทดแทนเกลือแร่ที่สูญเสียไป
5. เมื่ออาการแพ้ท้องรุนแรงดีขึ้น
1 ให้รับประทานอาหารอ่อนครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้งทุก 2-3 ชั่วโมง ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
2 รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้
1. ควรวินิจฉัยแยกโรคภาวะอาเจียนอย่างรุนแรงจากอาการของโรคอื่นๆ
6. หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อม และสิ่งกระตุ้นที่ทําให้คลื่นไส้อาเจียน
7. กรณีที่รักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้น จะต้องทําการวินิจฉัยเพื่อค้นหาสาเหตุของโรคที่แท้จริง เพื่อทําการรักษาอย่างเหมาะสม